Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1265
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระราชวัลภาจารย์-
dc.contributor.authorพระสมุทรวชิรโสภณ-
dc.contributor.authorพระครูภัทรสารสุนทร-
dc.date.accessioned2025-07-07T07:38:49Z-
dc.date.available2025-07-07T07:38:49Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1265-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี ๒) วิเคราะห์ศักยภาพการเรียนรู้และปรับตัวตามปัจจัยใหม่ทางด้านเทคโนโลยีของครัวเรือนและชุมชนชาติพันธุ์ไท ยวน จังหวัดราชบุรี และ๓) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร ใช้การค้นคว้าหนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน ๑๕ ท่าน การสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยการสุ่มแบบแบบเจาะจง จำนวน ๑๐ ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี ได้แก่ ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านราชบุรี ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดนาหนอง ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี ได้แก่ ๑) ประวัติความเป็นมา เป็นภูมิปัญญาที่เรียนรู้การทอผ้ามาตั้งแต่สมัยปู่ย่า ตา ยาย ทอผ้าใช้เอง เป็นการทอเพื่อการสวมใส่ยามว่างจากการทำนา ต่อมามีผู้คนเริ่มสนใจ เห็นว่า ผ้ามีความสวย ต้องการให้ทอเพื่อการจำหน่าย ปีพ.ศ. ๒๕๔๒ ชาวบ้านดอนแร่จึงรวมกลุ่มจัดตั้งศูนย์ขึ้นภายในบริเวณวัดนาหนอง เพื่อเป็นศูนย์กลางและสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทางกลุ่มจดทะเบียน OTOP ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ๒) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นลวดลายโบราณที่มีความเป็นเอกลักษณ์ อาทิ ลายหัก ลายหงส์ นกฮูก ลายไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้มีการผลิตกระเป๋า หมอน ๓) กระบวนการผลิต ๑) การเตรียมเลือกเส้นฝ้ายให้เหมาะสมกับชนิดผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ออกแบบลวดลาย คำนวณหน้าผ้า ความยาวที่กำหนดไว้ (๒) การจูงม้วน คือ การนำเส้นฝ้ายที่ออกแบบไว้มาจูงให้ได้ความยาวและหน้าผ้าที่กำหนดไว้ โดยแต่ละรอบของการจูงจะต้องจับมือเสือทุกครั้ง (๓) การใส่ฟันหวี คือ การนำเส้นฝ้ายทั้งหมดมาใส่ในช่องฟันหวี (๔) การม้วนเข้าเพลา คือ การนำเส้นฝ้ายที่ใส่ฟันหวีแล้ว มาหวีให้เส้นฝ้าย ตึงเสมอกันและม้วนเข้าเพลา โดยในขณะที่ม้วนต้องทำให้เส้นฝ้ายที่ม้วนเข้าไปตึงเสมอกันทั้งซ้ายและขวา (๕) การเก็บตะกรอ การนำเส้นฝ้ายที่ม้วนเรียบร้อยแล้วมาเก็บตะกรอ โดยเส้นด้ายยืนจะถูกแบ่งเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ กันทั้งบนและล่าง การเก็บตะกรอจะเริ่มที่ตะกรอล่างก่อน จำนวน ๒ ตับ และตะกรอบน ๒ ตับ (๖) การแต่งกี่ เมื่อเก็บตะกรอเรียบร้อยแล้ว ต้องผูกตะกรอแต่ละตับไว้กับไม้เท้าเหยียบและแต่งกี่ให้ได้องศา เพื่อให้ผ้าที่ทอออกมามีริมผ้าเรียบเสมอกัน หน้าผ้าเสมอกัน เรียบไม่เป็นชั้น และ(๗) การทอผ้า คือ เส้นฝ้ายด้านยืนและเส้นฝ้ายด้านพุ่งจะมาสานขัดกัน โดยการเหยียบไม้เท้าเหยียบกี่ผูกติดกับตะกรอ จะทำให้เส้นฝ้ายด้านยืนแยกออกจากกัน และนำเส้นฝ้ายมาพุ่งจะสานขัดกัน โดยถูกกระทบให้แน่นด้วยฟันหวี และเทคโนโลยีการผลิต คือ กี่กระตุก ๔) การตลาด ได้แก่ หน้าร้าน ออกงานแสดงและจำหน่ายสินค้า ตามที่หน่วยงานราชการจัด/ตลาดชุมชน/ช่องทางอินเตอร์เน็ต ผ่านตัวแทนจำหน่าย อาทิ เจเจ มอลล์ ศูนย์การค้าสยาม ร้านค้าทั่วไป การประชาสัมพันธ์ คือ การพัฒนาชุมชนเข้ามาช่วยประชาสัมพันธ์ทางการตลาด เฟซบุ๊ค ออกงาน โอทอป เมืองทองธานี ปีละ ๓ ครั้ง และตลาดผู้บริโภค คือ ผู้ซื้อในประเทศ เป็นกลุ่มที่ชื่นชอบผ้าไทย ผ้าทอมือ ๕) การบริหารจัดการ ได้แก่ การจดทะเบียน วิสาหกิจชุมชน/โอทอป การตัดสินใจและการวางแผน สมาชิกร่วมกันคิดทั้งการผลิต และการตั้งราคา และ๖) กระบวนการขั้นตอนการผลิต ได้แก่ (๑) การวางแบบลาย (๒) การหาเส้นด้าย--ไหม ให้สีกลมกลืนกัน (๓) เริ่มทอผ้าและจกลายแต่ละลายให้สอดคล้องกันจนแล้วเสร็จ และ(๔) ตรวจสอบความเรียบร้อย ๒. ศักยภาพการเรียนรู้และปรับตัวตามปัจจัยใหม่ทางด้านเทคโนโลยีของครัวเรือนและชุมชนชาติพันธุ์ไท--ยวน จังหวัดราชบุรี ได้แก่ ศักยภาพการเรียนรู้ของครัวเรือน การสอนทอผ้าจกแบบดั้งเดิม เป็นการสอนถ่ายทอดความรู้กันภายในครอบครัวหรือเครือญาติ ในอดีตการสอนทอผ้าซิ่นตีนจกผู้เป็นแม่จะสอนให้ลูกสาว ด้วยการชี้ให้ดูลายต่างๆ ในผืนผ้าซิ่นตีนจกที่เก็บไว้เป็นต้นแบบ ด้วยวิธีการลงมือปฏิบัติแบบตัวต่อตัว โดยใช้ขนเม่นเขี่ยเส้นด้ายผูกมัดเป็นลายต่างๆ ผู้ฝึกหัดทอต้องจดจำไว้ ต้องมีความพยายามและตั้งใจในการฝึกหัดเป็นอย่างมาก จนจำลายต่อลายต่อผืน เกิดทักษะและความชำนาญ วิธีการนี้ได้รับการสืบทอดกันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ในปี ๒๕๖๕ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดเก็บองค์ความรู้เรื่องผ้าทอพื้นถิ่นในรูปหนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการปรับตัวของครัวเรือน คือ การจัดตั้งศูนย์ทอผ้าในชุมชนต่างๆ ได้แก่ ศูนย์ศิลปหัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านราชบุรี ศูนย์ทอผ้าจกวัดรางบัว เพื่ออนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไท--ยวน โดยศูนย์ทอผ้าเป็นสถานแลกเลี่ยนความรู้ สถานที่สาธิต ถ่ายทอดความรู้กระบวนการผลิตให้แก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ได้จัดอบรมให้ความรู้พัฒนาผู้ประกอบการช่างทอผ้า ให้ความรู้ในด้านการผลิต การทอ การย้อมสี การตลาด การออกแบบแปรรูปผลิตภัณฑ์ จึงทำให้ผ้าจกไท--ยวนยังคงมีการทอเพื่อสร้างรายได้ อยู่เสมอ ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชนได้เว้นช่องว่างไว้บริเวณลาย s ที่ท้องผ้า ซึ่งผู้ทอได้ใส่ลวดลายหักนกคู่ ที่เป็นลวดลายโบราณที่สืบต่อรุ่นสู่รุ่นของชาติพันธุ์ไท--ยวน ๓. การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี ได้แก่ การก่อตั้งจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว สืบเนื่องมาจากการฟื้นฟูศิลปะการทอผ้าตีนจกของชาว ไท--ยวน โดยทีดร.อุดม สมพร ปราชญ์ชาวบ้านตำบลคูบัว ที่ต้องการฟื้นฟูการทอผ้า ตีนจก โดยระยะเริ่มต้นอาศัยวัดเป็นศูนย์กลางของกลุ่มผ้าทอ โดยแบ่เป็น ๓ ระยะ ๑) ช่วงการก่อตั้ง มีคณะผู้ก่อตั้งหรือแกนนำ ที่มีความเสียสละตั้งใจ/ปณิธาน ๒) ช่วงการดำเนินการ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นไม่จำเป็นต้องสำเร็จสมบูรณ์แบบในคราวเดียว และ๓) ช่วงการพัฒนา ต้องทำการวิเคราะห์ข้อจำกัดของพิพิธภัณฑ์ ส่วน การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ๑) ระดับครัวเรือน มีระบบการสอนให้บุตร--หลานได้ศึกษาเรียนรู้วิธีการท่อผ้าซิ่นตีนจก และ๒) ระดับกลุ่มสัมมาชีพ/วิสาหกิจชุมชน แนวทางพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การจัดให้มีการทอผ้า ช่องทางการตลาด ปลูกฝังค่านิยม และให้ความรู้แก่ชุมชน เพื่อให้ความร่วมมือกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม สำหรับการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ๖ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การกำหนดความรู้ที่ต้องการ ๒) การแสวงหาความรู้จากภายนอก ๓) การพัฒนา/สร้าง/บูรณาการความรู้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ ๔) การถ่ายทอด/แบ่งปัน/กระจาย/เผยแพร่/แลกเปลี่ยนความรู้ ๕) การประยุกต์ใช้ความรู้และนำความรู้กลับมาใช้ใหม่ และ๖) การจัดเก็บ/รักษา/ปรับปรุง/ตรวจสอบความรู้ ให้มีความถูกต้องและทันสมัย ที่คงคุณค่าวัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมเกี่ยวกับการทอผ้าไท--ยวนen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการความรู้en_US
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นen_US
dc.subjectกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรีen_US
dc.subjectผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรีen_US
dc.subjectชุมชนไท-ยวนen_US
dc.titleการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรีen_US
dc.title.alternativeLocal Wisdom Knowledge Management of Right Occupation Group of the Teen Chok Fabric of Ratchaburi Clanen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.019.2565.ย่อย2.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.