Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1264
Title: ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของมรดกวัฒนธรรมผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี
Other Titles: History and Knowledge of Cultural Heritage of the Teen Chok Fabric of Ratchaburi Clan
Authors: ชยทตฺโต, พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ
ธีรธมฺโม, พระมหากังวาน
พละกุล, อนุชา
ศรีคำไทย, ศุขภิญญา
Keywords: ประวัติศาสตร์
พัฒนาการ
มรดกวัฒนธรรม
ฐานข้อมูล
ผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี
ชุมชนไท-ยวน
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ไท ยวน จังหวัดราชบุรี ๒) วิเคราะห์พัฒนาการของมรดกวัฒนธรรมผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี และ๓) จัดทำฐานข้อมูล (Big Data) ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของมรดกวัฒนธรรมผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร ด้วยการค้นคว้าหนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน ๑๕ ท่าน การสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน ๑๐ ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ๑. ข้อมูลประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ไท ยวน จังหวัดราชบุรี แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ได้แก่ ๑) กลุ่มชาติพันธุ์ไท ยวนดั้งเดิม ชาวไท ยวนราชบุรีมีประวัติความเป็นอย่างนาน โดยมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ที่ “เชียงแสน” ตั้งแต่สมัยล้านนา ล้านช้าง ๒) กลุ่มชาติพันธุ์ไท ยวนราชบุรี ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองริมฝั่งขวา ถัดจากตัวเมืองปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๒ กิโลเมตร ต่อมาขยายครัวเรือนออกไปหลายพื้นที่ อาทิ อำเภอเมือง ที่ตำบลคูบัว ตำบลอ่างทอง ตำบลดอนแร่ ตำบลห้วยไผ่ ตำบลเจดีย์หัก ตำบลหินกอง อำเภอโพธารามที่ตำบลหนองโพ ตำบลบางกะโด อำเภอบ้านโป่ง ที่ตำบลหนองปลาหมอ อำเภอปากท่อ ที่ตำบลอ่างหิน ตำบลนาคอก ตำบลทุ่งหลวง (บางส่วน) ตำบลบ่อกระดาน อำเภอบางแพที่ตำบลวัดแก้ว อำเภอจอมบึง ที่ตำบลรางบัว อำเภอสวนผึ้ง ที่ตำบลท่าเคย นาขุนแสน ทุ่งแหลมบ้านป่าหวาย บ้านชัฏหนองหมี บ้านนาไฮ่เดียว บ้านหนองกลางเนิน ชาวไท ยวนนิยมสร้างวัดไว้ทำบุญของกลุ่มตนเอง อาทิ วัดคูบัว วัดดอนตะโก วัดใหญ่อ่างทอง วัดนาหนอง วัดหนามพุงดอ วัดเขาลอยมูลโค วัดใหม่นครบาล ฯลฯ และ ๓) กลุ่มชาติพันธุ์ไท ยวนกลุ่มต่างๆ ในราชบุรีปัจจุบัน ใช้พื้นที่ดินทำการเกษตรและสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย มีการกระจายตัวไปในพื้นที่ต่างๆ โดยรอบเพื่อหาที่ทำกิน และมีกลุ่มใหญ่ตั้งถิ่นฐานในเขตตำบลคูบัวในปัจจุบัน การอยู่อาศัยสร้างบ้านเรือนมีรูปแบบวัฒนธรรม อัตลักษณ์และวิถีชีวิตเป็นของตัวเอง ความเชื่อและภูมิปัญญาต่างๆ ได้มีการสืบทอดต่อกันมา และถูกนำมาประยุกต์และดัดแปลงให้เข้ากับบริบทแวดล้อมใหม่ ๒. พัฒนาการของมรดกวัฒนธรรมผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท--ยวนราชบุรี ได้แก่ ๑) ประเพณีไปเซิ้ง ๒) ประเพณีเที่ยวข่วง และ ๓) ประเพณีบุญกลางบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน ได้แก่ ๑) จ้อย ๒) ต่อไก่ ๓) ผีอ๊อ หรือผีกะลา ๔) ผีสุ่ม และ ๕) ผีมะกวัก ความเชื่อ ทุกครัวเรือนของไท--ยวน ยังคงเชื่อและนับถือผีบรรพชน อาทิ บรวงสรวง (เลี้ยงผี) อาทิ เมื่อทำผิดผีจะต้องขอขมาผีประจำตระกูล (ผีบรรพชน) และการแต่งกาย ชาวไทยวนนิยมนุ่งซิ่นผ้าฝ้ายทอด้วยกี่ทอมือ โดยการแต่งกายของผู้หญิงชาวไท--ยวนนิยมนุ่งผ้าซิ่นตีนจก ซิ่นตา ซิ่นซิ่ว ซิ่นแล่ และเคียนอกด้วยผ้าแถบเมื่อต้องทำงานหรือทอผ้าในบ้าน หาก ผู้หญิงที่มีฐานะจะสวมสร้อยทองที่คอ สร้อยถั่วแปบ (สายสะพาย) และการแต่งกายของผู้ชายไท--ยวน นิยมนุ่งกางเกงชักปกย้อมสีคล้าม (คล้ายกางเกงจีน) สวมเสื้อแลบแดง ตกแต่งด้วยกระดุมเงิน คาดเอวด้วยกระเป๋าถักสำหรับใส่สัมภาระ ๓. ฐานข้อมูล (Big Data) ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของมรดกวัฒนธรรมผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี แบ่งเป็น ๓ ช่วง ได้แก่ ๑) กลุ่มชาติพันธุ์ไท--ยวนดั้งเดิม ชาวไท--ยวนมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ที่ “เชียงแสน” ตั้งแต่สมัยล้านนา ล้านช้าง ๒) กลุ่มชาติพันธุ์ไท--ยวนราชบุรี ปัจจุบันชาวไท--ยวนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองริมฝั่งขวา ถัดจากตัวเมืองปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๒ กิโลเมตร และ ๓) กลุ่มชาติพันธุ์ไท--ยวนกลุ่มต่างๆ ในราชบุรีปัจจุบัน มีกลุ่มใหญ่ตั้งถิ่นฐานในเขตตำบลคูบัวในปัจจุบัน สำหรับลายผ้าตีนจก มี ๙ ลาย ได้แก่ ๑) ลายดอกเซีย ๒) ลายกาบ ๓) ลายหน้าหมอน ๔) ลายโก้งเก้ง ๕) ลายกาบดอกแก้ว ๖) ลายโก้งเก้งซ้อนเซีย ๗) ลายกาบซ้อนหัก ๘) ลายหักนกคู่ และ๙) ลายแคทราย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1264
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.019.2565.ย่อย1pdf3.84 MBUnknownView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.