Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1263
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พระครูวาทีวรวัฒน์ | - |
dc.date.accessioned | 2025-07-07T07:10:04Z | - |
dc.date.available | 2025-07-07T07:10:04Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1263 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) พัฒนาฐานข้อมูลประวัติศาสตร์และพัฒนาการของมรดกวัฒนธรรมผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี ๒) พัฒนากระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี ๓) พัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี และ ๔) พัฒนานวัตกรรมการตลาดวิถีพุทธของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร ใช้การค้นคว้าหนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม จากวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน ๑๕ ท่าน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยการสุ่มแบบแบบเจาะจง จำนวน ๑๐ ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ๑. ฐานข้อมูลประวัติศาสตร์และพัฒนาการของมรดกวัฒนธรรมผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี ชาวไท ยวนราชบุรีมีเชื้อสายมาจากเมืองเชียงแสน ก่อนปีพุทธศักราช ๒๓๔๗ “โยนกเชียงแสนนคร” (ปัจจุบัน คือ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) ประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธ์ไท ยวนราชบุรี แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ได้แก่ ๑) กลุ่มชาติพันธุ์ไท ยวนดั้งเดิม ชาวไท ยวนราชบุรี มีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ที่ “เชียงแสน” ตั้งแต่สมัยล้านนา ล้านช้าง ๒) กลุ่มชาติพันธุ์ไท ยวนราชบุรี ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองริมฝั่งขวา ถัดจากตัวเมืองปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๒ กิโลเมตร และ ๓) กลุ่มชาติพันธุ์ไท ยวนกลุ่มต่างๆ ในราชบุรีปัจจุบัน กลุ่มใหญ่ตั้งถิ่นฐานในเขตตำบลคูบัว ส่วนประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท ยวนราชบุรี ได้แก่ มรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท ยวน ประเพณีที่สืบมาหลายชั่วอายุคน ได้แก่ ๑) ประเพณีไปเซิ้ง ๒) ประเพณีเที่ยวข่วง และ ๓) ประเพณีบุญกลางบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน ได้แก่ ๑) จ้อย ๒) ต่อไก่ ๓) ผีอ๊อ หรือผีกะลา ๔) ผีสุ่ม และ ๕) ผีมะกวัก ความเชื่อ ทุกครัวเรือนของไท ยวน ยังคงเชื่อและนับถือผีบรรพชน อาทิ บรวงสรวง (เลี้ยงผี) อาทิ เมื่อลูกสาวบ้านใดแต่งงานหรือทำผิดผีจะต้องไปบอกกล่าว หรือขอขมาผีประจำตระกูล (ผีบรรพชน) และการแต่งกาย ชาวไท--ยวนนิยมนุ่งซิ่นผ้าฝ้ายทอด้วยกี่ทอมือ ที่มีการยกมุกเป็นลวดลายดอกและมีสีสันสวยงาม กล่าวคือการแต่งกายของผู้หญิงชาวไท--ยวนสมัยแรกยุคถิ่นฐานดั้งเดิม คือ นุ่งผ้าซิ่นตีนจก ซิ่นตา ซิ่นซิ่ว ซิ่นแล่ และเคียนอกด้วยผ้าแถบเมื่อต้องทำงานหรือทอผ้าในบ้าน ทั้งนี้ ผู้หญิงที่มีฐานะจะสวมสร้อยทองที่คอ สร้อยถั่วแปบ (สายสะพาย) และการแต่งกายของผู้ชายไท--ยวน นุ่งกางเกงชักปกย้อมสีคล้าม (คล้ายกางเกงจีน) สวมเสื้อแลบแดง ตกแต่งด้วยกระดุมเงิน คาดเอวด้วยกระเป๋าถักสำหรับใส่สัมภาระ สำหรับลายผ้าตีนจกหลักมี ๙ ลาย ได้แก่ ๑) ลายดอกเซีย ๒) ลายกาบ ๓) ลายหน้าหมอน ๔) ลายโก้งเก้ง ๕) ลายกาบดอกแก้ว ๖) ลายโก้งเก้งซ้อนเซีย ๗) ลายกาบซ้อนหัก ๘) ลายหักนกคู่ และ๙) ลายแคทราย ๒. กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี การจัดการความรู้เริ่มจากการก่อตั้งจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว เพื่อฟื้นฟูศิลปะการทอผ้าตีนจกของชาว ไท--ยวน โดยปราชญ์ชาวบ้านของตำบลคูบัวที่ต้องการฟื้นฟูการทอผ้าตีนจก อันเป็นวัฒนธรรมของชาวไท--ยวน โดยระยะเริ่มต้นอาศัยวัดเป็นศูนย์กลาง แนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ คือ ๑) ช่วงการก่อตั้ง มีคณะผู้ก่อตั้งหรือแกนนำที่มีคุณสมบัติสำคัญ ได้แก่ ความเสียสละ ความตั้งใจ/ปณิธานในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ๒) ช่วงการดำเนินการ คือ ต้องมีวิธีการดำเนินการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องจัดทำให้สำเร็จสมบูรณ์แบบในคราวเดียว และ๓) ช่วงการพัฒนา คือ พิพิธภัณฑ์ต้องทำการวิเคราะห์ข้อจำกัดของพิพิธภัณฑ์ท้องว่ามีข้อจำกัดในด้านใด ส่วนการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ๑) ระดับครัวเรือน มีระบบการสอนให้บุตร--หลานให้เรียนรู้วิธีการท่อผ้าซิ่นตีนจก เพื่อให้ตระถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาวไท--ยวน และศิลปหัตถกรรมของชาวไท--ยวนดั้งเดิม มีการนำเทคนิคการท่อผ้ามาใช้ การจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้แก่เยาวชนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ย่าม พวงหรีด กระเป๋า เสื้อ และการพัฒนารูปแบบที่ตรงกับความต้องการและสอดคล้องกับศักยภาพและเทคโนโลยี และ๒) ระดับกลุ่มสัมมาชีพ/วิสาหกิจชุมชน มีการนำรูปแบบการท่อผ้ากี่กระตุก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงการทอสมัยโบราณโดยช่างทอรุ่นเก่า เป็นการใช้เทคโนโลยีโดยช่างสมัยใหม่ การเพิ่มช่องทางการตลาด การสร้างวัสดุทดแทน การจัดให้มีการทอผ้าให้กับชุมชน สำหรับรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มี ๖ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การกำหนดความรู้ที่ต้องการ ช่วยให้บุคคลและองค์กรสามารถประเมินศักยภาพของตนเองได้จากความรู้ที่มีและความรู้ที่ต้องการ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการได้มาซึ่งความรู้ ๒) การแสวงหาความรู้จากภายนอก การทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ การจัดจ้างหน่วยงานภายนอก และการจัดจ้างที่ปรึกษา ๓) การพัฒนา/สร้าง/บูรณาการความรู้ เป็นการนำเอาความรู้มาบริหารจัดการ ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ ๔) การถ่ายทอด/แบ่งปัน/กระจาย/เผยแพร่/แลกเปลี่ยนความรู้ เป็นการถ่ายทอดความรู้แฝงและ ความรู้แบบชัดแจ้ง จากต้นทางไปยังปลายทางความรู้ ๕) การประยุกต์ใช้ความรู้และนำความรู้กลับมาใช้ใหม่ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่ว่าองค์กรจะมีความรู้มากหรือน้อยเพียงใด และ๖) การจัดเก็บ/รักษา/ปรับปรุง/ตรวจสอบความรู้ให้มีความถูกต้องและทันสมัย วัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมเกี่ยวกับการทอผ้าไท--ยวน ๓. ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี กลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี ได้พัฒนาสีสัน รูปแบบ การประยุกต์ใช้สินค้า นำไปพัฒนาในการสร้างได้ หรือนำไปพัฒนาเป็นสินค้าอื่นๆ และการประชาสัมพันธ์ ด้วยการร่วมมือจากกลุ่มสมาชิก เพื่อสร้างงานสี ลาย และดีไซน์ให้มากขึ้น สร้างระบบการจัดทำแบบการแต่งกายที่เป็นแบบแผนการเรียนรู้ หรือการแสดงให้ชาวบ้านหรือหน่วยงานต่าง ๆ แต่งกายด้วยชุดผ้าตีนจกเดือนละ ๑ วัน เพื่อให้ชาวต่างชาติ หรือชาวต่างจังหวัด ได้เห็นเอกลักษณ์กายแต่งกายชาวไท--ยวนราชบุรี การประยุกต์สินค้าให้มีความหลากหลายสอดคล้องต่องานที่จัดขึ้น การออกแบบเป็นเสื้อผ้าตามแฟชั่น หรือตามเทศกาลต่าง ๆ การแปรรูปตามผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของกลุ่มผู้บริโภค การประลายที่มีอยู่แล้วไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า หรือผู้สนใจนำไปใช้กับงานที่มีความแตกต่างกันตามลักษณะงาน อาทิ งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ ออกแบบลายให้เข้ากับบรรยากาศ และความสนใจของผู้มาร่วมงาน คือ การจัดทำย่าม ตาลปัตร ของที่ระลึก กระติ๊กน้ำ ผ้าคลุมโต๊ะ ผ้าคลุมเก้าอี้ วัสดุห่อหุ้มอาหาร คณะผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถร่วมกันออกแบบได้ ๒ ลาย ได้แก่ ๑) ลายคน และ ๒) ลายปลา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอตีนจกเชิงสร้างสรรค์และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มชาติไท--ยวนราชบุรี พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ๕ แนวทาง ได้แก่ ๑) การเพิ่มจำนวนลวดลายบนผืนผ้า ๒) การปรับลดจำนวนลวดลายบนผืนผ้า ๓) การพัฒนาผ้าทอตีนจกให้มีเป็นลวดลายใหม่ ๔) การใช้วัตถุดิบของเส้นด้ายย้อมสีธรรมชาติ และ๕) การสร้างตราสัญลักษณ์ ทั้งนี้ แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม ๕ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผู้นำกลุ่ม ๒) ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ๓) ด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญา ๔) ด้านการส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐ และ ๕) การจัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ กลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี สร้างผลิตและพัฒนารูปแบบให้เป็นที่ยอมรับในสังคมตามยุคสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับทุกเทศกาล โดยกลุ่มสนใจบริโภคสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีมูลค่าระยะยาวที่สร้างผลกำไรได้ โดยนำเสนอสินค้าผ้าซิ่นตีนจกเข้าสู่เวทีสากล มีตลาดรองรับในการจัดจำหน่ายผ้าตามชุมชน และจังหวัดต่าง ๆ ที่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นถิ่น เพราะสินค้าที่ได้จากการทอด้วยผ้าตีนจกจะมีคุณค่าในตัวเอง อาจสร้างตลาดผ้าซิ่นตีนจกราชบุรีขึ้นในอนาคต ๔. นวัตกรรมการตลาดวิถีพุทธของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี กลยุทธ์การตลาดวิถีพุทธของกลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี คือ การสร้างตลาดจำหน่ายสินค้าที่ยั่งยืน ใช้ระบบการประชาสัมพันธ์ในหลากหลายต่อเนื่อง การสร้างจุดขาย การท่อมือ การสร้างอัตลักษณ์ให้น่าสนใจ การจัดให้มีการแสดงสินค้าตามสถานที่ต่างๆ รวมทั้งการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านผ้าซิ่นตีนจกภายในชุมชน กลุ่มได้สร้าง ๕ แนวทาง คือ ๑) การเพิ่มจำนวนลวดลายบนผืนผ้า ๒) การปรับลดจำนวนลวดลายบนผืนผ้า ๓) การพัฒนาผ้าทอตีนจกให้มีเป็นลวดลายใหม่ ๔) การใช้วัตถุดิบของเส้นด้ายย้อมสีธรรมชาติ และ๕) การสร้างตราสัญลักษณ์ เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ผ้าลายจกตระกูลคูบัว เป็นผ้าที่มีชื่อเสียงและเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากลูกทั่วประเทศ กลุ่มจึงนำหลักการตลาด “4Ps” ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตรงกกับความสนใจและความต้องการของผู้ซื้อ ที่นำเสนอประวัติการทอผ้าชิ้นนั้น ๆ ขึ้นมา โดยการอิงพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับอาทิ ผ้าลายจกตระกูลคูบัว ด้านราคา กำหนดให้ราคามีความหลากหลายสอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้สนใจ อาทิ ลด แลก แจก แถม ด้านการจัดจำหน่าย การนำผลิตภัณฑ์ไปออกบูธจำหน่าย อาทิ งานประจำปีวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จังหวัดราชบุรี งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาวัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี และด้านการส่งเสริมการขาย การให้พรีเซนเตอร์สวมใส่เสื้อผ้าต่าง ๆ แล้วนำมาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ อาทิ เพจ ผ้าซิ่นตีนจก ราชบุรี | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี | en_US |
dc.subject | ประวัติศาสตร์ | en_US |
dc.subject | ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น | en_US |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์ | en_US |
dc.subject | กลุ่มสัมมาชีพผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี | en_US |
dc.subject | การตลาดวิถีพุทธ | en_US |
dc.subject | ชุมชนไท-ยวน | en_US |
dc.title | ผ้าซิ่นตีนจกตระกูลราชบุรี: ประวัติศาสตร์, ความรู้, การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดวิถีพุทธเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน | en_US |
dc.title.alternative | Teen Chok Fabric of Ratchaburi Clan: History, Knowledge, Product Development and Marketing in Buddhist Way to Increase | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.019.2565.pdf | 5.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.