Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1257
Title: แนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนปลุกสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริ ตำบล บางจาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Promotion Guideline for People to Plant Local Herbs in Accordance With the Royal initiative
Authors: พระครูวัชรสุวรรณาทร
พระครูวิรุฬห์วัชรธรรม
ธมฺมวํโส, พระวรพงศ์
Keywords: แนวทางการส่งเสริม
สมุนไพรพื้นถิ่นหรือพืชสมุนไพรพื้นบ้าน
พระราชดำริ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริ (๒) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการและปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริ (๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริ การวิจัยครั้งนี้เป็นศึกษาปัญหาและอุปสรรค เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริ โดยการนำเสนอวิธีการ แนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริอย่างเป็นรูปธรรมที่เหมาะสมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นอย่างแท้จริง โดยการศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริ จากนั้นได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงหาปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริ เพื่อวิเคราะห์กระบวนการและปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรพื้นถิ่นพร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะในด้านต่าง ๆ แล้วทำการสรุปวิเคราะห์ผลที่ได้ ไปทำการประเมินความเหมาะสมเพื่อปรับปรุงนำเสนอต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปัญหาและอุปสรรคแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริ พบว่า สำหรับจังหวัดเพชรบุรี ปัญหาด้านดิน หรือพื้นดินไม่ถือว่ารุนแรง ถ้าเทียบกับดินเปรี้ยวดินเค็ม พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ จะเป็นดินปนทราย จะมีปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร ถ้าทำแบบกสิกรรมปริมาณมาก ๆ แต่ปัญหา สัตว์ป่าบุกรุกอันนี้ น่ากังวล และประการที่สำคัญ คือประชาชนขาดความรู้เรื่องการบำรุงดิน ๒) วิเคราะห์กระบวนการและปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริ พบว่า กระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริ นั้น รัฐไม่ค่อยส่งเสริม ส่วนใหญ่จะมีกลุ่มผู้ที่ต้องการสินค้ากันเอง งบประมาณภาครัฐไม่มีส่งเสริมการตั้งกลุ่มน้อย ไม่มีผู้ประสานที่แน่นอน ข้อมูลไม่ชัดเจน และถ้าจะส่งเสริม ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ปลูกฝังทั้งการ เรียน การใช้ จนทำเป็นชีวิตประจำวัน ถ้าเด็กกินกระเทียม กินต้นหอมแล้วสามารถตอบได้ว่ารักษาโรคอะไร ถือว่าประสบผลสำเร็จด้านสมุนไพร ส่งเสริมให้สมาชิก มีแนวคิดที่สร้างสรรค์มากขึ้น รู้จักยอมรับการเปลี่ยนแปลง ออกจากความสุขที่ตนเคยมี และอคติเดิม ๆ ซึ่งเป็นปัญหาต่อการพัฒนา ๓) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพรพื้นถิ่นตามแนวพระราชดำริ พบว่า สิ่งที่ทีมวิจัยที่จะต้องเก็บข้อเสนอแนะ ไปทำเพิ่มเติม เรื่องการจัดทำแบบสอบถามขึ้นมา รวมไปถึงแนวคิดที่จะจัดตั้งศูนย์ที่จะปลูกสมุนไพรอะไรบ้าง ทำร่วมกัน หรือที่จะปลูกภายในหมู่บ้าน น่าจะเป็นสิ่งแรกที่จะต้องทำ วันนี้น่าจะได้คอนเทนต์ที่เป็นประเด็น ได้ข้อมูลที่จะเป็นวิชาการทั่วไป ข้อมูลตามเวปไซต์ และอินเตอร์เนตทั่วไป งานค้นคว้าวิจัย และก็คงจะได้ไปหาท่าน เกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด ทั้งสองท่าน ที่จะได้กรุณาสนับสนุนสิ่งที่เป็นประโยชน์ วันนี้ ถือว่า รักษาเวลา และก็เห็นแนวทางที่จะพัฒนาสมุนไพร
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1257
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.016.2565.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.