Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1251
Title: | การพัฒนาสิ่งแวดล้อมวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล |
Other Titles: | Development of Surroundings According to the Buddhism to Support the Aged Society at the Sub-district Level |
Authors: | พุ่มทุเรียน, สมคิด มหารัตน์สกุล, ประเวศน์ นวลระออง, สมบัติ โฆสิตธมฺโม, พระครูสมุห์ณรงค์ ลินลา, จรรยา |
Keywords: | การพัฒนาสิ่งแวดล้อมวิถีพุทธ สังคมสูงวัย |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | รายงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาสิ่งแวดล้อมวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการรองรับสังคมสูงวัย ระดับตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมวิถีพุทธกับการ รองรับสังคมสูงวัยระดับตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ และ ๓) เพื่อถอด บทเรียนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบลหนองนมวัว อำเภอ ลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผ่านการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการผ่านมติของเวทีประชาคมระดับตำบลเพื่อร่วมกันออกแบบ ปฏิบัติการ สังเกต ติดตาม ประเมินผล และสะท้อนผลการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อคืนข้อมูลแก่ผู้ที่ เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล จะต้องมีการปรับปรุง พัฒนาพื้นที่ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต และเส้นทางสัญจรในชุมชนทั้งพื้นที่ทางเท้า ทางข้าม ทางแยก รวมถึงการรักษาพื้นที่สีเขียวเพื่อคืนความร่มรื่นให้กับชุมชน ในส่วนของที่อยู่อาศัยของผู้สูง วัยนั้นจะต้องสนับสนุนช่วยเหลือหลายครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น 2. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบลโดยเฉพาะพื้นที่ ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตมีการปรับปรุงพัฒนาให้เกิดสัปปายะหรือมีอารยสถาปัตย์ เพื่อ อำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงวัย มีการประสานให้แขวงทางหลวง นครสวรรค์ที่ 1 สนับสนุนงบประมาณเพื่อการปรับปรุงพื้นที่ทางเท้า ทางข้าม ทางแยก และมีการ สนับสนุนพันธุ์ไม้ยืนต้น ไม้ดอกไม้ประดับ และพันธุ์พืชสวนครัวรั้วกินได้ให้กับวัดและชุมชน ส่วนด้านที่ อยู่อาศัยของผู้สูงวัยนั้นนักจัดการชุมชนและภาคีเครือข่ายได้เข้าไปจัดระเบียบ ดูแลความสะอาดเตียง และเครื่องนอนที่ และสนับสนุนให้ลูกหลาน คนใกล้ชิด นักบริบาลชุมชน อสม./อพม. หรืออปพร. หมั่นสอดส่องและคอยดูแลอย่างใกล้ชิด 3. บทเรียนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบลที่ได้จาก การประเมินกระบวนการชุมชน พบว่า 1) ด้านบริบท การกำหนดกิจกรรมมีความสอดคล้องกับสภาพ ชุมชนและการมีทุนทางวัฒนธรรมมีความเข้มแข็ง ทำให้สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมได้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ความสำเร็จของโครงการส่วนหนึ่งมาจากความศรัทธา ในตัวผู้นำและอาศัยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างบ้าน วัด ราชการและภาคีเครือข่าย ทำให้เกิดการมี ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเข้มแข็ง 3) ด้านกระบวนการมีการสร้างข้อตกลงชุมชนร่วมกัน ผ่านการจัดประชุม การระดมความคิดเห็นของตัวแทนชุมชน เพื่อร่วมกันวางแผนและกำหนดแนวทาง ในการขับเคลื่อนกิจกรรม 4) ด้านผลสัมฤทธิ์ในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามที่ได้ตกลงกันไว้ ชุมชน สามารถดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อพัฒนาครบทุกกิจกรรม และ 5) ด้านผลกระทบ ผลที่เกิดขึ้น จากโครงการนี้มีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมระดับตำบล เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาในปัญหา สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับผู้สูงวัย |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1251 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.014.2565.ย่อย2pdf.pdf | 11.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.