Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/123
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ผศ.ดร.-
dc.date.accessioned2021-07-29T14:15:15Z-
dc.date.available2021-07-29T14:15:15Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.citationรายงานการวิจัยen_US
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/123-
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์เรื่องแม่ในพระพุทธศาสนา แนวคิดและความเป็นมาของปัญหาของกระบวนการกำเนิดโดยใช้วิธีการตั้งครรภ์แทนนั้น ผลการวิจัย พบว่า พระพุทธศาสนามีทางออกของปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์แทนนั้น เป็นปัญหาสังคมที่เริ่มมีผลกระทบมากยิ่งขึ้น ทุกภาคส่วนควรมีนโยบายในการป้องกันและจากการศึกษา ทำให้ทราบถึงผลกระทบที่มีต่อผู้มาขอตั้งครรภ์แทน และผู้รับตั้งครรภ์แทน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางด้านแม่ผู้ตั้งครรภ์แทน ไม่ยอมมอบเด็กให้ ปัญหาเรื่องสิทธิ และปัญหาด้านการซื้อขายเด็ก ล้วนนำไปสู่ผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรตระหนักและหามาตรการในการแก้ปัญหาด้วยการออกนโยบายเพื่อป้องกันและแก้ไข ซึ่งพอจะแนะนำได้ ดังนี้ ศาสนาพุทธไม่ได้คัดค้าน หรือเห็นว่า ขัดต่อหลักคำสอนของการรับตั้งครรภ์แทน พบว่าการกระทำนั้นประกอบด้วยเจตนาบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายที่ต้องการมีบุตรและผู้ที่ทำหน้าที่ตั้งครรภ์แทน เพราะถือว่า เป็นการช่วยเหลือผู้อื่นให้สมปรารถนา แสดงออกถึงความมีเมตตากรุณา ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ปัญหาทางจริยธรรมนั้นแม้ว่า ศาสนาพุทธอาจจะไม่ได้คัดค้าน หากว่าช่วยผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่อาจจะมีผู้ที่เห็นว่า การรับตั้งครรภ์แทนนั้น เป็นการกระทำที่ผิดหลักจริยธรรม เพราะอาจนำไปสู่การค้าเชิงพาณิชย์ (การขายเด็ก) หรือปัญหาเรื่องชาติกำเนิดและความรู้สึกของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทน ส่วนปัญหาทางกฎหมาย ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายข้อบัญญัติทางอาญาใดที่บังคับหรือลงโทษ ห้ามมิให้รับการตั้งครรภ์แทน แม้ว่าการกระทำนั้น จะเป็นไปในเชิงการค้าก็ตาม มีเพียงการร่างพระราชบัญญัติการรับตั้งครรภ์แทน เพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็กที่เกิดขึ้นมาเท่านั้น จึงนับได้ว่า เป็นช่องว่างที่สามารถฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากการรับตั้งครรภ์แทนได้โดยง่าย ส่วนปัญหาพุทธจริยศาสตร์กับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันทางการแพทย์ ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปัญหาเชิงจริยธรรมที่พบในทุกกรณีคือการทำลายตัวอ่อน ปัญหาสถานะของพ่อแม่ที่แท้จริง การทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ๒) ปัญหาเชิงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ตามหลักพุทธจริยศาสตร์ มี ๓ ประเด็น คือ การระบุสถานะความเป็นบิดามารดาของเด็กที่เกิดโดยเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ การทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการค้ามนุษย์ ซึ่งจำเป็นต้องวินิจฉัย ตามหลักพุทธจริยศาสตร์ ๓) การตัดสินปัญหาจริยธรรมมี ๒ ประเด็นคือ (๑) พิจารณาจากเกณฑ์หลัก คือ เจตนา ถ้ามีการทำลายตัวอ่อนถือเป็นการฆ่า การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เพื่อหวังช่วยผู้อื่นสามารถยอมรับได้ในเชิงจริยธรรม (๒) พิจารณาจากเกณฑ์ร่วม พบว่า การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการตำหนิตัวเอง วิญญูชนและสังคมไม่ยอมรับ มีโทษต่อสังคม ถือว่าผิดศีลธรรม ส่วนเรื่องสถานะความเป็นพ่อแม่ หญิงชาย ผู้เป็นเจ้าของเชื้อกำเนิดคือพ่อแม่ของเด็ก ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ถ้าทำเพื่อการค้าหรือใช้มนุษย์เป็นเครื่องมือ ถือเป็นการค้ามนุษย์และทำลายศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ในพุทธจริยศาสตร์ สรุปได้ว่า ปัญหาสำคัญของ “การตั้งครรภ์แทน” คือ “ความพร้อม” และ “ความไม่พร้อม” ทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าเราศึกษาที่มาของปัญหา จะพบว่าเป็นประเด็นท้าทายระหว่าง “คุณค่า” ทางด้านจิตใจ และ “มูลค่า” ทางด้านเศรษฐกิจ สมดุลและความลงตัวของ “ปัญหาการอุ้มบุญ” ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรม หรือปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นประเด็นข้อกฎหมาย จึงอยู่ที่การออกกฎหมายที่สอดคล้องตรงกับ “เทคโนโลยี” ซึ่งเปลี่ยนแปลงนี้ประเทศไทยเองต้องปรับเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้องตรงกับ “กระแสโลกาภิวัตน์” ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆ กำลังเข้ามามีบทบาท “ทำลายล้าง” หรือ disrupt ธุรกิจต่างๆ ซึ่งธุรกิจตั้งครรภ์แทนเอง ก็ตกอยู่ใต้กระแสการทำลายล้างของเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมทันสมัยต่างๆ เช่นกัน ไม่แตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ ดังนั้น สมดุลระหว่าง “คุณค่า” ทางจิตใจ กับ “มูลค่า” ที่เป็นตัวเงิน สร้างงาน จ้างงาน และทำให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้รับเงินค่าตอบแทนอย่างมีความสุข จึงเป็นเรื่องที่ต้องสมดุล โดยยึดหลัก “ทางสายกลาง” ของพระพุทธศาสนาและหลัก “สุข ๔ ประการ” ไปปรับใช้ในการตั้งครรภ์แทนให้ถูกต้องชอบธรรมต่อไปen_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.relation.ispartofseriesMCU RS 617059015;-
dc.subjectมโนทัศน์เรื่องแม่, กระบวนการกำเนิด, การตั้งครรภ์แทนen_US
dc.titleมโนทัศน์เรื่องแม่ในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษากระบวนการกำเนิด โดยใช้วิธีการตั้งครรภ์แทนen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานการวิจัย (Research Reports)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.