Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/121
Title: | พุทธศิลป์ พระพุทธชินราช : ประวัติและพัฒนาการทางพระพุทธศาสนา |
Authors: | พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ผศ.ดร. |
Keywords: | พุทธศิลป์, พระพุทธชินราช |
Issue Date: | 2-Jun-2021 |
Publisher: | สำนักพิมพ์ คำนำ |
Citation: | 294.31218 |
Abstract: | จังหวัดพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าแก่ สืบย้อนไปถึงสมัยพ่อขุนบางกลางท่าว ซึ่งต่อมา คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้สถาปนาวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัย ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อสุโขทัยเป็นราชธานี พิษณุโลกก็เป็นเมืองลูกหลวง ประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนาและการสร้างพระพุทธรูปจึงร่วมสมัยกับสุโขทัย พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่มีพระพุทธลักษณะที่งดงามที่สุด ที่สร้างสร้างสมัยสุโขทัย ลักษณะพระพักตร์เป็นแบบเชียงแสนผสมกับสุโขทัย โดยพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ได้รับอิทธิพลของศิลปะสมัยคุปตะและปาละ ทำนองเดียวกับสมัยศรีวิชัย สำหรับพระพุทธรูปในสมัยสุโขทัย (พ.ศ. ๑๘๐๐ - ๑๙๘๑) เชื่อว่าเริ่มสร้างในครั้งแผ่นดินพระมหาธรรมราชาลิไท (พ.ศ. ๑๘๙๐ - ๑๙๑๖) สำหรับรุ่นปลาย ตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลักษณะแสดงความบริสุทธิ์ที่มีในพระพุทธรูปรุ่นกลางคลายลง และได้รับอิทธิพลของพระพุทธรูปสมัยอยุธยาบ้าง ทำให้ศิลปะของสมัยสุโขทัยเริ่มเสื่อมลง ดังนั้น จึงพบว่าพระพุทธชินราชมีความงดงามตามแนวพุทธศิลป์ ตามลักษณะความงดงามของพระพุทธชินราชข้างต้น พระพุทธชินราช ถือว่าเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย แต่มีลักษณะฝีมือช่างอันประณีตเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงแยกออกเป็นหมวดพระพุทธชินราช มีพระพุทธรูปสำคัญสร้างยุคเดียวกันอีกหลายองค์ เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา พระสิทธารถพระพุทธเจ้ พระเสฏฐตมมุนี พระพุทธชินราชวโรวาทธรรมจักร และพระพุทธชินสีห์มุนีนาถ เป็นต้น พุทธศิลป์แบบพระพุทธชินราช ได้มีการสร้างจำลองสืบต่อกันเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เช่น วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดไทยพุทธคยา อินเดีย เป็นต้น ตลอดจนพระบูชาและพระเครื่องขนาดต่าง ๆ ในปัจจุบัน พุทธศิลป์ขององค์พระพุทธชินราช สามารถเป็นสื่อที่สร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นกับผู้ที่ได้มานมัสการได้เกิดปีติเมื่อได้เห็นความงดงาม เห็นความสงบจากองค์พระพุทธชินราช ก็เกิดพลังในการทำความดี ทางกาย ทางวาจา และทางใจ มีหลัก พระธรรมคำสั่งสอนที่ดีงามเป็นเครื่องดำเนินชีวิตต่อไปเพื่อระงับทุกข์ได้ในปัจจุบัน |
Description: | ประเทศไทย มีประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจาชาติไทยมายาวนาน ดังนั้น ในประเทศไทยจึงมีพุทธศิลป์เป็นจานวนมาก พุทธศิลป์ที่ปรากฏในประเทศไทยเริ่มมีให้เห็นเป็นหลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่ก็คือในสมัยสุโขทัย และสมัยกรุงศรีอยุธยาทาให้ได้เห็นร่องรอยความงดงาม ความศรัทธา ความเชื่อ และประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของไทยได้เป็นอย่างดี แต่แม้ว่า พุทธศิลป์จะทาหน้าที่สื่อสารศรัทธา เจตนา และแนวความคิดของผู้สร้างอย่างดียิ่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเริ่มจะมีพุทธพาณิชย์เข้ามาเจือปนด้วย ด้านศิลปกรรมไทยนั้น เป็นที่รู้จักกันว่า มีการสร้างทาและปรากฏอยู่เป็นส่วนมากในพระอารามต่าง ๆ ซึ่งเป็นวัดทางพระพุทธศาสนา เป็นต้นว่า โบสถ์ วิหาร พระสถูป พระปรางค์ เป็นงานด้านสถาปัตยกรรม พระพุทธปฏิมา ลวดลายปูนปั้นงานสลักไม้ตกแต่งต่าง ๆ เป็นงานด้านประติมากรรม และมีรูปภาพไว้ตามฝาผนังภายในโบสถ์หรือศาลาการเปรียญเป็นงานด้านจิตรกรรม ศิลปกรรมที่สร้างทาขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา เหล่านี้เรียกว่างาน “พุทธศิลป์” พุทธศิลป์ คือ รูปเปรียบหรือรูปแทนพระพุทธเจ้า เป็นงานศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อสนองตอบ และรับใช้งานทางด้านพระพุทธศาสนาที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเป็นความงาม เพื่อความพอใจที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาธรรมทางวัตถุถวาย เพื่อเป็นพุทธบูชาเนื่องในพระพุทธศาสนาเป็นการส่งเสริม เผยแพร่ เป็นสิ่งช่วยโน้มน้าวจิตใจของพุทธศาสนิกชนให้เกิดความศรัทธา ประพฤติปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีงามตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/121 |
ISSN: | 978-616-582-019-6 |
Appears in Collections: | หนังสือ (Book) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
พุทธศิลป์ พระพุทธชินราช.pdf | 13.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.