Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/120
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ผศ.ดร.-
dc.date.accessioned2021-07-29T02:32:46Z-
dc.date.available2021-07-29T02:32:46Z-
dc.date.issued2020-08-23-
dc.identifier.citation23-Aug-2020en_US
dc.identifier.issn2651-2440 (Online)-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/120-
dc.descriptionในสังคมไทยบิดามารดา เสมือนเป็นพระอรหันต์ของลูก เพราะนอกจากท่านจะเป็นผู้ให้กำเนิดแล้ว ท่านยังอบรมเลี้ยงดู และสั่งสอนสิ่งดีงานให้กับเราจนได้อีกสมญาหนึ่งว่า พ่อแม่เป็นเสมือนครูคนแรก ของลูก1 ดังนั้น การให้กำเนิด หรือการให้ชีวิตแก่ลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งใหญ่กว่าสิ่งอื่นใดที่บุคคลกลุ่มอื่น จะให้แก่เราได้ แต่ในปัจจุบันการมีบุตรเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้ไม่สามารถมีบุตรได้ด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามจึงต้องใช้วิทยาการสมัยใหม่ทางการแพทย์ที่เรียกว่า การให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน หรือการอุ้มบุญโดยใช้ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แบบต่างๆ2 ถึงแม้การตั้งครรภ์แทน จะเป็นทางออกของปัญหาของการช่วยเหลือให้ครอบครัว ที่มีปัญหาในการ มีบุตรได้มีบุตรไว้สืบสกุล จากการศึกษาวิจัยหลายครั้งพบว่า การตั้งครรภ์แทน นำมาสู่ปัญหาทางสังคม ตามมามากมาย เช่น การลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เสมือนเป็นเพียงสิ้นค้า ความขัดแย้งเรื่องสิทธิในการ เลี้ยงดูบุตร การทำแท้งเมื่อเด็กพิการ ตลอดจนการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ ยังนำมาซึ่งข้อถกเถียง ซึ่งเป็น พื้นฐานและยังหาข้อยุติไม่ได้ เช่น ใครเป็นแม่ของทารก ระหว่างผู้ที่ตั้งครรภ์หรือเจ้าของเชื้ออสุจิและไข่ หรือผู้ว่าจ้างให้ตั้งครรภ์แทน ปัญหาการตั้งครรภ์แทน ในสังคมไทย เป็นปัญหาเนื่องจากคนในสังคมไทยส่วนหนึ่งเห็นว่าผู้ทำหน้าที่ ตั้งครรภ์แทน ได้รับการว่าจ้างให้ตั้งครรภ์แทน การกระทำในลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ชั่ว ไม่ถูก ไม่ควร ผิดจริยธรรม เข้าข่ายการค้ามนุษย์ ผิดกฎหมาย ผิดจารีต ประเพณี และศีลธรรมอันดีงามของสังคมไทย สำหรับพุทธศาสนาเถรวาทได้ให้มุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่าหากผู้ทำหน้าที่รับจ้างตั้งครรภ์แทน กระทำลง โดยมีเจตนาที่เกิดจากอกุศลมูล ๓ อย่าง ได้แก่ โลภะ ความอยากได้ โทสะ ความคิดประทุษร้าย โมหะ ความหลง และ เมื่อพิจารณาตามสภาวะแล้วเห็นว่า เป็นสภาพที่ไม่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ ไม่ทำให้จิตสบาย ปลอดโปร่ง ผ่องใส สมบูรณ์ การกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ชั่ว ไม่ถูก ไม่ควร จัดอยู่ในประเภทของการทำผิด จริยธรรมen_US
dc.description.abstractบทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการตั้งครรภ์แทนในทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัญหาการตั้งครรภ์แทน เป็นปัญหาสังคมที่เริ่มมีผลกระทบมากยิ่งขึ้น ทุกภาคส่วน ควรมีนโยบายในการป้องกัน และให้ทราบถึงผลกระทบที่มีต่อผู้มาขอตั้งครรภ์แทนและผู้รับตั้งครรภ์แทน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางด้านสิทธิ และปัญหาด้านการซื้อขายเด็ก ล้วนนำ ไปสู่ผลกระทบต่อสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พระพุทธศาสนาไม่ได้คัดค้าน หรือเห็นด้วย ว่าขัดต่อหลักคำสอนของศาสนา ทว่าการกระทำนั้นประกอบด้วยเจตนาบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายที่ต้องการมีบุตรและผู้ที่ทำหน้าที่ตั้งครรภ์แทน เพราะถือว่า เป็นการช่วยเหลือผู้อื่นให้สมปรารถนา แสดงออกถึงความมีเมตตากรุณา ปัญหาสำคัญของ “การตั้งครรภ์แทน” คือ ความท้าทาย ระหว่าง “คุณค่า” ทางด้านจิตใจ และ “มูลค่า” ทางด้านเศรษฐกิจ สมดุลและความลงตัวของ “การตั้งครรภ์แทน” ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรม หรือปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นประเด็นข้อกฎหมาย จึงอยู่ที่การออกกฎหมาย ที่สอดคล้องตรงกับ “เทคโนโลยี” ซึ่งเปลี่ยนแปลงระเบียบ ต่าง ๆ ให้สอดคล้องตรงกับ “กระแสโลกาภิวัตน์” ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ กำลังเข้ามามีบทบาท “ทำลายล้าง” ธุรกิจต่าง ๆ ซึ่ง “ธุรกิจตั้งครรภ์แทน” เอง ก็ตกอยู่ใต้กระแสการทำลายล้างของเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมทันสมัยต่าง ๆ เช่นกัน ไม่แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ ดังนั้น สมดุลระหว่าง “คุณค่า” ทางจิตใจ กับ “มูลค่า” ที่เป็นตัวเงิน สร้างงาน จ้างงาน และทำให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้รับเงินค่าตอบแทนอย่างมีความสุข จึงเป็นเรื่อง ที่ต้อง “สมดุล” โดยยึดหลัก “ทางสายกลาง” ของพระพุทธศาสนา ไปปรับใช้ใน “การตั้งครรภ์แทน” ให้ถูกต้องชอบธรรมต่อไปen_US
dc.publisherวารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒en_US
dc.subjectกระบวนการกำเนิด; การตั้งครรภ์แทน; พระพุทธศาสนาen_US
dc.titleการตั้งครรภ์แทนในทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาทen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Articles)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.