Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1199
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ไกรจักร์, อรชร | - |
dc.contributor.author | มหัทธนาดุลย์, สานุ | - |
dc.date.accessioned | 2024-11-18T09:29:58Z | - |
dc.date.available | 2024-11-18T09:29:58Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1199 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยเชิงคุณภาพฉบับนี้ ใช้รูปแบบงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Research method) โดยมีการรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเข้มแข็งทางอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพ 2) เพื่อเสนอหลักการและตัวแบบเชิงพุทธสำหรับการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพ 3) เพื่อพัฒนาตัวแบบในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพยาบาลวิชาชีพ ผลการวิจัย พบว่า ความเข้มแข็งทางอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพ คือ ความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีสติสัมปชัญญะเป็นหัวใจกำกับพฤติกรรม ให้มีคุณธรรมขึ้นมากว่าที่เรียกว่าซูเปอร์อีโก้ (SUPEREGO) สิ่งที่เป็นตัวประสานประนีประนอมก็คือตัวอีโก้ (EGO) เพื่อให้เกิดความสมดุลในชีวิตประจำวัน ความเข้มแข็งทางอารมณ์ในพระพุทธศาสนา ใช้หลักการ และวิธีทางแห่งดุลยภาพ ได้แก่ ทางสายกลาง มีสัมมาทิฐิ และ สัมมาสังกัปปะนำไปใช้ในวิถีของพยาบาล เพื่อการรับรู้ ความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง และ นำสติสัมปชัญญะซึ่งเป็นพลังงานวิเศษ นั้น มาปฏิบัติหน้าที่ เทคนิคการพยาบาลให้ได้ตามมาตรฐานพยาบาลวิชาชีพ ต่อจากนั้น ทำการค้นหา หลักการ และ ตัวแบบเชิงพุทธ สำหรับการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพ นำหลักธรรมทฤษฎี ภาวนา 4 และ หลักการเพื่อเสริมสร้าง สติ ศีล สมาธิ ปัญญา พัฒนาจิตเบิกบาน ออกแบบห้องเรียน เพื่อนำไปใช้กับข้อมูลพื้นที่ภาคสนาม งานวิจัยนี้ใช้กลุ่มประชากรตัวอย่าง 3 กลุ่ม เพื่อเป็นเครื่องมือวิจัย ในการสร้างตัวแบบเชิงพุทธ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่างกลุ่มที่ 1 พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลสาโรงการแพทย์ 26 ชุด และ พยาบาลของโรงพยาบาลสมุทรสาคร 25 ชุด รวมจำนวน 69 ชุด ต่อจากนั้น จัดห้องเรียนพยาบาลจิตเบิกบาน เพื่อทดสอบกับกลุ่มประชากรตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เพื่อค้นหาตัวแบบเชิงพุทธในการเสริมสร้างความเข้มแข็งที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร เป็นเวลา 16 ชั่วโมงนั้น โดยการตอบแบบทดสอบ และ ให้สัมภาษณ์เชิงลึก ผลการทดสอบห้องเรียนพบว่า ตัวแบบเชิงพุทธในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพ มีความเหมาะสม สามารถช่วยลดความอ่อนแอทางอารมณ์ และ สามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญ ต่อจากนั้น นำตัวแบบเชิงพุทธในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพยาบาลวิชาชีพ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 รูป/คน ตรวจสอบเพื่อให้ความเห็น และได้นำมาพัฒนาให้มีคุณภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวแบบเชิงพุทธในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์ เกื้อหนุนให้พยาบาลวิชาชีพ ได้หลักการ และวิธีการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์ 4 วิธี คือ 1) มองตน ทบทวนเห็นคุณค่า 2) พัฒนาจุดแข็งทางอารมณ์เสริมพลังคิดบวกเพิ่มภูมิคุ้มกัน 3) เพิ่มพลังใจปฏิบัติ ภาวนา 4 เป็นนิจ 4) มีกัลยณมิตรเอาใจใส่แบ่งปัน (Caring & Sharing) และรู้จักปล่อยวาง นับเป็นเครื่องมือและหัวใจสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพยาบาลวิชาชีพ ผลลัพธ์ของสังคมพยาบาล คือ เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งทางด้านพฤติกรรม การสื่อสาร การใช้เหตุผล และ ความฉลาดทางอารมณ์ ขณะปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางภาระงานและปัญหารอบด้าน ผลลัพธ์ต่อพยาบาลวิชาชีพ เกื้อหนุนให้มีความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ มีบุคลิกภาพดี ยิ้มแย้มแจ่มใส กล่าวขานไพเราะซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย และ ญาติ ดังนั้น ตัวแบบเชิงพุทธในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพ จะเป็นหลักการ และ วิธีการที่ดีของสังคมพยาบาล และ ระบบสาธารณสุขทั้งประเทศ | en_US |
dc.publisher | สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ | en_US |
dc.subject | ความเข้มแข็งทางอารมณ์ | en_US |
dc.subject | ความฉลาดทางอารมณ์ | en_US |
dc.subject | อีโก้ | en_US |
dc.subject | พยาบาลวิชาชีพ | en_US |
dc.title | การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพ: หลักการและตัวแบบเชิงพุทธ | en_US |
dc.title.alternative | The Promotion of Emotional Strength of Professional Nurses : The Buddhist Principle and Ideal | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
7.2559-การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางอ.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.