Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1198
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมหัทธนาดุลย์, สานุ-
dc.date.accessioned2024-11-18T09:26:19Z-
dc.date.available2024-11-18T09:26:19Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1198-
dc.description.abstractงานวิจัยเชิงคุณภาพฉบับนี้ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมในศตวรรษที่ 21 ตามแนวทางพระพุทธศาสนาและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ, (2) เพื่อสร้างทฤษฎีการบูรณาการพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมที่ยั่งยืนในศตวรรษที่ 21, และ (3) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของทฤษฎีการบูรณาการพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมที่ยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 คณะผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและภาคสนามจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 25 ท่าน จาก 11 ประเทศ ที่เป็นพระภิกษุและนักวิชาการพระพุทธศาสนาจาก 3 นิกาย ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และแบบสโนว์บอล ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 ท่านเพื่อการสร้างทฤษฎีฯ ดำเนินการสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 10 ท่าน ใน 3 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญแยกตามแต่ละนิกายเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของทฤษฎีฯ ที่สร้างขึ้น ดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบฟอร์มคำถามเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึกได้รับการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีค่า CVI = 1.0 ก่อนนำไปใช้งานจริง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis), การวิเคราะห์หัวข้อ (thematic analysis), การวิเคราะห์ภาษา (discourse analysis), การวิเคราะห์เรื่องเล่า (narrative analysis), และการวิเคราะห์ทฤษฎีฐานราก (grounded theory analysis) ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า กรอบความคิดเรื่องปัญญาและคุณธรรมจากพระพุทธศาสนาทั้งสามนิกายสะท้อนให้เห็นการพัฒนาการเรียนรู้แบบองค์รวมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ ทฤษฎีการบูรณาการพุทธศาสนา (BI Theory) ที่ถูกสร้างขึ้นเอื้อประโยชน์ในการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมของมนุษยชาติในศตวรรษที่ 21 ภายใต้กฎสองข้อ คือ (1) กฎแห่งการบูรณาการความสัมพันธ์แบบคู่ (DRI) ประกอบด้วย 3 หลักการ และ (2) กฎแห่งการบูรณาการความสัมพันธ์แบบองค์รวม (HRI) ประกอบด้วย 4 หลักการ หลักการทั้ง 7 เหล่านี้ อธิบายปรากฏการณ์ของการบูรณาการความสัมพันธ์แบบคู่และแบบองค์รวมที่แตกต่างกันไปตามกฎของตน เพื่อประโยชน์แห่งการใช้งานของบูรณากรทั่วโลกที่ใช้พระพุทธศาสนา-พหุศาสตร์ศึกษาเป็นฐานในการบูรณาการ การตรวจสอบทฤษฎีฯ ได้รับการยอมรับด้านการตีความในรูปแบบใหม่ และด้านความสอดคล้องในเชิงแนวคิดอันเป็นผลมาจากคำจำกัดความที่ชัดเจนในขั้นตอนก่อนการบูรณาการโดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริงผ่านมุมมองแบบองค์รวมen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบูรณาการพุทธศาสนาen_US
dc.subjectปัญญาและคุณธรรมen_US
dc.titleA Theory of Integrating Buddhism for Sustainable Development of Wisdom and Virtue in the 21st Centuryen_US
dc.title.alternativeทฤษฎีการบูรณาการพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมที่ยั่งยืนในศตวรรษที่ 21en_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6.A_Theory_of_Buddhism_Integration (Sanu Et al.) (2567).pdf21.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.