Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1197
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมหัทธนาดุลย์, สานุ-
dc.contributor.authorปิยภาณี, พระมหานันทกรณ์ ปิยภาณี, ดร.,-
dc.contributor.authorไกรจักร์, อรชร-
dc.contributor.authorมหัทธนาดุลย์, สริตา-
dc.date.accessioned2024-11-18T09:21:55Z-
dc.date.available2024-11-18T09:21:55Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1197-
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อสำรวจแนวคิดเรื่องการเข้าถึงความสุขตามหลักพระพุทธศาสนาและแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH), (2) เพื่อศึกษาทฤษฎีไบโอฟีดแบ็ค (biofeedback) และ (3) เพื่อนำเสนอแบบจำลองแนวคิดในการพัฒนาแบบทวิมิติเพื่อการเข้าถึงความสุขด้วยกระบวนการไบโอฟีดแบ็ค ในการเก็บข้อมูลได้ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงเอกสารพร้อมทั้งจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล 8 ท่านจาก 6 ประเทศที่เป็นพระภิกษุและนักวิชาการชาวพุทธผู้มีความรู้ทั้งทางพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน   ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับ “การเข้าถึงความสุขเหนือความสุข” นั่นคือการเข้าถึงความสุขที่เหนือกว่าโดยการจัดการกับภาวะของทุกข์และสุข ในขณะที่ข้อปฏิบัติของความสุขมวลรวมประชาชาติเน้นทางสายกลาง วิถีแห่งความสันโดษ และการมีส่วนร่วมทางสังคม ส่วนกระบวนการไบโอฟีดแบ็คใช้เครื่องมือตรวจวัดที่หลากหลาย 7 ประเภท มี การตรวจคลื่นสมอง (EEG) และการตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (EMG) เป็นต้น เมื่อกระบวนการดังกล่าวถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการฝึกกรรมฐานตามแนวพุทธแล้ว จะทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถประเมินความสุขในสมาธิของตนในรูปแบบที่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับแบบจำลองที่สร้างขึ้นนั้นแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาแบบทวิมิติเพื่อการเข้าถึงความสุข ประการแรกคือ (1) มิติทางจิตใจ หมายถึงการพัฒนาจิตใจเพื่อเข้าถึงความสุขในสมาธิ 5 อย่าง ได้แก่ ปรมโมทย์, ปีติ, ปัสสัทธิ, สุข และสมาธิ เครื่องมือของไบโอฟีดแบ็คสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกลมกลืนกับการฝึกสมาธิและความสุขที่เกิดขึ้นสามารถวัดได้จากปรากฏการณ์ของทั้งร่างกายและจิตใจ ประการที่สองคือ (2) มิติทางปัญญา หมายถึงการพัฒนาปัญญาเพื่อการเข้าถึงพระนิพพานความสุขสูงสุดแห่งมวลมนุษยชาติen_US
dc.publisherสำนักงานการวิจัยแห่งชาติen_US
dc.subjectมิติทางจิตใจen_US
dc.subjectคลื่นสมองen_US
dc.titleA Conceptual Model of Bi-Dimensional Development for Happiness Access by Biofeedback Processen_US
dc.title.alternativeA Conceptual Model of Bi-Dimensional Development for Happiness Access by Biofeedback Processen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5.A-Conceptual-Model-of-Bi-Dimensional-Development (2560).pdf9.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.