Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1194
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มหัทธนาดุลย์, สานุ | - |
dc.date.accessioned | 2024-11-18T09:07:40Z | - |
dc.date.available | 2024-11-18T09:07:40Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1194 | - |
dc.description.abstract | านวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเกณฑ์ชี้วัดศีลห้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาและเกณฑ์ดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 2) เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบเกณฑ์ชี้วัดศีลห้าเพื่อการเสริมสร้างสันติสุขของบุคคลและสังคม ผลการวิจัยพบว่า ศีลห้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีปรากฏในหลากหลายพระสูตร แต่ก็มีเนื้อหาที่เป็นไปในลักษณะเดียวกันคือการละเว้นจากการกระทำ 5 ประการ มีฆ่าสัตว์เป็นต้น ความหมายมีทั้งที่ตรงตัวและที่ปรากฏในรูปแบบอื่นเช่น สิกขาบท 5 ธรรม 5 และอริยธรรม ตามลำดับ ส่วนเกณฑ์ชี้วัดศีลห้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้แก่ เกณฑ์วินิจฉัยสถานะของศีลห้าและเกณฑ์วินิจฉัยโทษของการละเมิดศีลห้า ในขณะที่เกณฑ์ดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 มุ่งเน้นให้หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้องปฏิบัติตามหลักศีลห้าอย่างเคร่งครัด หมู่บ้านรักษาศีล 5 วัดเขาลาดวนาราม จ.สระบุรีโดดเด่นเรื่องการใช้ปัญญาในการรับรู้ เลือกรับสารสนเทศ หมู่บ้านรักษาศีล 5 หมู่บ้านห้วยต้ม จ.ลำพูน มีอัตลักษณ์ชุมชนที่ชัดเจนเรื่องศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อผู้นำชุมชน เกณฑ์ศีลห้าแบบบูรณาการที่พัฒนาโดยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร. เป็นเกณฑ์ที่มาจากการบูรณาการหลักศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรมเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด ในการดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในภาพใหญ่นั้นมีเกณฑ์ดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ทั้ง 40 ตัวชี้วัดเป็นตัวกำกับ การพัฒนาเกณฑ์ชี้วัดศีลห้าเป็นการนำเอาเกณฑ์ชี้วัดในคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสองเกณฑ์ มาวิเคราะห์ข้อความและคำศัพท์เดิมตั้งต้นชั้นโบราณที่ถูกแปลมาจากภาษาบาลีที่ปรากฏในอรรถาธิบาย และนำขึ้นสู่การปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม เกณฑ์ดังกล่าวได้แก่ (1) เกณฑ์วินิจฉัยสถานะของศีลห้า และ (2) เกณฑ์วินิจฉัยโทษของการละเมิดศีลห้า ส่วนรูปแบบเกณฑ์ชี้วัดศีลห้าเพื่อการเสริมสร้างสันติสุขของบุคคลและสังคม พัฒนาบนพื้นฐานของความสันติสุขในโลกอันเกิดขึ้นจากการที่ปัจเจกบุคคลรู้จักรักษาและมีศีลประจำใจตน เป็นหลักประกันให้กับทั้งบุคคลผู้มีศีลและบุคคลที่อาศัยอยู่ด้วยในสังคมนั้น ๆ เป็นสันติสุข 5 มิติ คือ สันติสุขแห่งชีวิต ทรัพย์สิน ครอบครัว ข้อมูลข่าวสาร และสติปัญญา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เกณฑ์ชี้วัด | en_US |
dc.subject | การเสริมสร้าง | en_US |
dc.subject | บุคคลและสังคม | en_US |
dc.subject | สันติสุข | en_US |
dc.subject | ศีลห้า | en_US |
dc.title | ศีล ๕ : เกณฑ์ชี้วัดและการเสริมสร้างสันติสุขของบุคคลและสังคม | en_US |
dc.title.alternative | The Five Precepts: Criteria and the Promotion of Individual and Social Peace | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2.ศีลห้า เกณฑ์ชี้วัดและการเสริมสร้างสันติ(2558).pdf | 6.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.