Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/118
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ผศ.ดร. | - |
dc.date.accessioned | 2021-07-29T02:17:43Z | - |
dc.date.available | 2021-07-29T02:17:43Z | - |
dc.date.issued | 2021-09-01 | - |
dc.identifier.citation | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๕ (กันยายน-ตุลาคม ๒๕๖๔) | en_US |
dc.identifier.issn | 2539-6765 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/118 | - |
dc.description | รูปแบบการแก้ปัญหา เป็นวิธีการในการจัดการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในการเป็นอยู่และการดาเนินชีวิตในสังคม ที่เป็นสังคมประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนาการเป็นอยู่ ฯลฯ เพราะแต่ละกลุ่มคนมีความเชื่อ ความศรัทธา ในศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การที่จะทาให้แต่ละคนสามารถอยู่ในชุมชนหรือสังคมเดียวกันและก็เป็นเรื่องที่จาเป็นอย่างหยิ่งที่จะต้องมีการกู้ยืมซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือเรื่องการกู้ยืม เงินทอง เป็นต้น จึงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ทาความเข้าใจกับการแก้ปัญหา การเป็นหนี้ที่มีในกลุ่มคนในสังคม ด้วยหลักคาสอนของศาสนาอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน หลักของการดาเนินชีวิตในรูปแบบทางสายกลางในพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนั้นบทบาทของพระสงฆ์กับการรู้เท่าทันสังคมพร้อมกับการพัฒนาสังคมมวลรวมเพราะว่าสังคมแวดล้อมของวัดก็มีพันธะผูกพัน โดยจิตสานึกที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและจะต้องให้การสนับสนุนค้าจุนวัดในฐานะพุทธมามกะ เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ยืนนานต่อไป ซึ่งวัดเปรียบเสมือนเป็นร่างกายของพระพุทธศาสนาต้องบารุงรักษา ถ้าไม่มีวัดก็ไม่มีที่ตั้งศาสนาก็ดารงอยู่ยาก ดังนั้นวัดและชุมชนในสังคมต่างพึ่งพาอาศัยกันและกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อกันโดยวัดเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ทาให้เกิดคุณธรรม จริยธรรมในสังคม ถ้าสถาบันใดสถาบันหนึ่งล้มเหลวหรือหลุดลอยออกจากกัน ย่อมจะทาให้สังคมนั้นอ่อนแอลง รวมทั้งสถาบันศาสนาด้วย (Wasi, 1997) ในยุคปัจจุบันพุทธศาสนิกชนมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นกับสังคมและสิ่งที่มีอิทธิพลเป็นอย่างดีในการพัฒนา คือ วัดนอกจากจะเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ในการศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัยและประกอบศาสนกิจแล้ว วัดยังเป็นสถาบันหลักที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนในการจัดกิจกรรมทางสังคม เป็นแหล่งศิลปวิทยาการ ทาหน้าที่ถ่ายทอดศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ไปสู่ชุมชนตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต (Maliwan & Malathong, 1990) | en_US |
dc.description.abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักในการพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในศตวรรษที่ 21 (2) เพื่อพัฒนาหลักการและวิธีการการพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในศตวรรษที่ 21 (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในศตวรรษที่ 21 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมซึ่งใช้วิธีดาเนินการวิจัยจาแนกออกเป็นรูปแบบ เป็นการสัมภาษณ์ คือ คณะผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้นาทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ เจ้าอาวาส พระ ผู้นาชุมชน ได้แก่ ประธานองค์การบริหารส่วนตาบล กานัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนทั่วไป และครู เยาวชน ในชุมชนชาวพุทธ ผลการวิจัยพบว่า (1) การใช้หลักในการพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในศตวรรษที่ 21 ในชุมชนบ้านอังกัญหมู่ 4 บ้านโคกบรรเลง หมู่ 10 ต.บุฤาษี อ.เมือง จ.สุรินทร์นั้นทาให้คนในชุมชนมีความเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามากขึ้น จากการรู้เพียงแค่ผิวเผิน คนในชุมชนมีความตั่งใจในการพัฒนาตนเองและพัฒนาชุมชน (2) การพัฒนาหลักการและวิธีการการพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในศตวรรษที่ ๒๑ มีความสามัคคีกันมาก ให้ความร่วมมือและร่วมกันสร้างเครื่องมือในการป้องกันตนเองจากภัยต่าง ๆ พร้อมกับสร้างชุมชนเข้ มแข็งอย่างมีประสิทธิภาพ (3) จากการศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในศตวรรษที่ ๒๑ นั้นมีความเป็นไปได้ว่าถ้าเราสามารถพัฒนา ให้เกิดเป็นชุมชนแนวใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นแบบอย่างได้ จะสามารถสร้างและพัฒนาคน พัฒนาชุมชน และพัฒนาสังคมให้อยู่ในหลักของการประคองตนตามหลักศีลธรรม ที่เป็นหลักคาสอนในพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการพัฒนาคนในชุมชนจึงเป็นสิ่งสาคัญในการพัฒนาชุมชน | en_US |
dc.publisher | วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร | en_US |
dc.subject | การพัฒนาคน; ชุมชนชาวพุทธ; ในยุคปัจจุบัน (ในศตวรรษที่ 21) | en_US |
dc.title | การพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในยุคปัจจุบัน | en_US |
dc.type | Article | en_US |
Appears in Collections: | บทความ (Articles) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
การพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในยุคปัจจุบัน.pdf | 382.16 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.