Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1182
Title: การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเปลี่ยนแปลงการดารงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาดสู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองของชาวไร่อ้อย และไร่มันสาปะหลัง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: Driving to Sufficient Economy Philosophy for Change to Living and Market Economy to Self-sufficient Economy of Sugarcane Farmers and Cassava Plantation Farmers in Wichianburi District Phetchabun Province
Authors: ช่วยธานี, พระมหาบุญเลิศ
ฐิติปสิทธิกร, พระมหาประกาศิต
อยู่สาราญ, พระปลัดประพจน์
ปัญโญ, อาภากร
Keywords: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การเปลี่ยนแปลง
เศรษฐกิจแบบพึ่งตลาด
เศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง
เกษตรกรไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลัง
Issue Date: 2565
Abstract: งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการออกแบบกระบวนการที่ไม่ต้องทิ้งการทำเกษตรแบบเดิมและมีการจัดการพื้นที่ให้เป็นเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร 2)เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาดสู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3)เพื่อสร้าง “ครอบครัวแกนนำการเปลี่ยนแปลง” ที่สามารถพึ่งตนเองในด้านความมั่นคงทางอาหารได้บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชาวไร่อ้อยและไร่มันสาปะหลัง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรอาสาสมัครจานวน 300 คนที่เข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตรเกษตรกรผู้เปลี่ยนชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการดาเนินชีวิตภายใต้แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้ LISREL และเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จากครอบครัวเกษตรกรแกนนา 20 ครอบครัวที่เข้าร่วมกิจกรรมขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาดสู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยพบผลการวิจัยดังนี้ 1. รูปแบบการเพิ่มศักยภาพในการทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการออกแบบกระบวนการที่ไม่ต้องทิ้งการทำเกษตรแบบเดิมและมีการจัดการพื้นที่ให้เป็นเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร คือ ได้พัฒนาหลักสูตรเกษตรกรผู้เปลี่ยนชีวิต ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกษตรกรอาสาสมัครชาวไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลัง จานวน 300 คน โดยเน้นให้เกษตรกรเข้าใจวงจรชีวิตในไร่อ้อยและมันสำปะหลัง โดยกระบวนการวิเคราะห์ต้นทุนชีวิตการเป็นเกษตรกรที่ต้องพึ่งพาอาหารและปัจจัยการทาเกษตรจากภายนอก เกษตรกรสามารถวางแผนลดการพึ่งพาอาหารจากภายนอกด้วยการสร้างความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ของตนและสร้างเครือข่ายเกษตรกรในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการทาเกษตรภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ภูน้ำหยด เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ของอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า โมเดลสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ ผลการทดสอบค่าไคสแควร์เท่ากับ 46.81 (P=0.924) 2. รูปแบบการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาดสู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยครอบครัวเกษตรกรแกนนำอาสาสมัครจานวน 20 ครอบครัว ได้เข้าร่วมกิจกรรมการออกแบบพื้นที่ในบริเวณบ้าน ไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรทั้ง 20 ครอบครัวได้ปฏิบัติการปลูกผักในพื้นที่บ้านของตนเอง และมีจำนวน 10 ครอบครัวที่จัดสรรพื้นที่ไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลังปฏิบัติการปลูกผักตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อได้รับผลผลิตทำให้เกษตรกรสามารถลดรายจ่ายเกี่ยวกับอาหารเฉลี่ยวันละ 54 บาท เพิ่มรายได้เฉลี่ยวันละ 150 บาท และได้บริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษซึ่งเป็นผลผลิตจากพื้นที่ของตนเอง 3. เกิดครอบครัวแกนนำการเปลี่ยนแปลงจานวน 20 ครอบครัว ที่สามารถพึ่งตนเองในด้านความมั่นคงทางอาหารบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากการผ่านการปฏิบัติการตามตัวชี้วัด 5 ตัว พบว่า 1) ร้อยละ 100 ของครอบครัวแกนนำปลูกพืชผักอย่างน้อย 10 ชนิด 2) มีกลุ่มที่เกิดจากการส่งเสริมให้ปลูกผักในครัวเรือนและบริหารผลผลิตส่วนเกินให้มีมูลค่าจำนวน 1 กลุ่ม คือ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรอินทรีย์ภูน้ำหยด 3) มีครอบครัวที่มีการลดพื้นที่ทำเกษตร มาปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ จำนวน 10 ครอบครัว 4) มีนวัตกรรมของเกษตรกรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิต จำนวน 4 นวัตกรรม ประกอบด้วย (1) หลักการทำบัญชีครัวเรือนสมุดต้นทุนประกอบอาชีพ (2) แผนผังพื้นที่อาหารของครอบครัว (3) เครือข่ายเกษตรกรในชุมชน (4) ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social lab) และ 5) มีศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้และรวบรวมเมล็ดพันธุ์ที่ทำให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ คือ ไร่พุทธานิเวศน์ภูน้ำหยด ที่กลายเป็นห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social lab) ของเกษตรกรในพื้นที่
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1182
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์-ทุนภายนอก



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.