Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/117
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ผศ.ดร.-
dc.date.accessioned2021-07-29T02:11:23Z-
dc.date.available2021-07-29T02:11:23Z-
dc.date.issued2018-01-01-
dc.identifier.citationJournal of MCU Social Developmenten_US
dc.identifier.issn2539-5718-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/117-
dc.descriptionหลักสิทธิมนุษยชนก็คือจุดมุ่งหมายของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้รับสิ่งต่าง ๆ เท่า เทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์สิทธิมนุษยชนจึงเป็นแนวคิดและหลักการปฏิบัติที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่ ว่ามนุษย์นั้นมีสิทธิหรือสถานะสากลเป็นสิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิดซึ่งไม่สามารถจำหน่าย จ่ายโอนหรือแจกให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้สิทธิดังกล่าวนี้มีความเป็นสากลและเป็นนิรันดร ฉะนั้น สิทธิ มนุษยชน เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สุขความเสมอภาคของมวลมนุษยชาติในโลกเท่านั้น กล่าวได้ว่า สิทธิมนุษยชน ก็คือ สิทธิทางศีลธรรม คือ สิทธิที่อยู่ในตัวของมนุษย์เอง คือ ความดีหรือมโนธรรม นั่นเองซึ่งในหลักมนุษยธรรมเป็นหลักธรรมที่สอนให้มนุษย์มีจิตใจเมตตาและการไม่เบียดเบียน กันเป็นหลักที่นำสันติภาพมาสู่โลกอย่างแท้จริง (เสน่ห์ จามริก,37 :2545)en_US
dc.description.abstractระสงค์์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาหลักสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาหลักธรรม ที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อประยุกต์หลักธรรมที่ ส่งเสริม สิทธิมนุษยชนมาใช้ในสังคมปัจจุบัน ผลจากการศึกษาพบว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิต่าง ๆ ที่มนุษย์แต่ละคนได้มาเริ่ม ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย และทุกคนสามารถปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนได้โดยชอบธรรม โดยมี ลักษณะเฉพาะดังนี้ 1) เป็น สิทธิที่ติดตัวมากับมนุษย์ (Inherent) 2) เป็นสิทธิที่เป็นสากล (Universal) 3) เป็นสิทธิที่ไม่อาจ ถ่ายโอนให้แก่กันได้ (Inalienable) และ 4) เป็นสิทธิที่ไม่ถูกแยก ออกจากกัน (Indivisible) สิทธิ ดังกล่าวนี้ มีความเป็นสากลและเป็นนิรันดร ฉะนั้น จุดมุ่งหมายของสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นเพื่อ ประโยชน์สุขความเสมอภาคของมวลมนุษยชาติในโลก สิทธิมนุษยชน นั้นสามารถแบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1) สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ (Right to live) 2) สิทธิที่จะได้รับ การศึกษา (Right to education) 3) สิทธิที่จะทำงาน (Right to work) 4) สิทธิแห่งเสรีภาพ (Right of freedom) 5) สิทธิแห่งทรัพย์สิน (Right of property) และ 6) สิทธิแห่งสัญญา ประชาคม (Right of contact) สิทธิมนุษยชนมีขอบเขตเพียง 2 ประการได้แก่ (1) สิทธิมนุษยชน โดยทั่วไป หมาย ถึงการปฏิบัติต่อกันด้วยความเป็นพี่เป็นน้องระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เป็นต้น (2) สิทธิมนุษยชน โดยธรรม หมายถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างมนุษย์กับสรรพสิ่งที่อยู่่ในโลกเสมือนว่าสรรพสิ่ง นั้นล้วนเป็นพี่น้องกันกับมนุษย์ เพราะมนุษย์์ได้พึ่งพาอาศัยในการดำรงชีวิตอยู่่สิทธิมนุษยชน โดยธรรม จึงมีความหมายที่กว้างเช่น มนุษย์์กับสัตว์เป็นต้นหลักธรรมที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นแนวปฏิบัติที่ถือได้ว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของชนหมู่มากโดยไม่มี ประมาณไม่แบ่งแยกเชื้อชาติฐานะทางสังคมภาษาและศาสนา เช่น หลักศรัทธา ความเชื่อหลักกรรม หลักเบญจศีล และเบญจธรรมเป็นต้น จัดเป็นหลักการปฏิบัติที่มีจุดมุ่ง หมายเพื่อประโยชน์สุขแกผู้ปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่หลายระดับแห่งการเข้าถึงตามความรู้ความสามารถ ทางสติปัญญาของแต่ละบุคคล มีความสอดคล้อง กลมกลืนกัน สนับสนุนกันจากระดับต้นไป สู่่ระดับกลางหนุนเนื่องไปสู่ระดับสูงตามลำดับ ด้วยการปฏิบัติฝึกฝนพัฒนาตนตามหลักการก่อ ให้เกิดประโยชน์ 3 อย่าง ได้แก่ 1) อัตตัตถประโยชน์ ประโยชน์ส่วนตน 2) ปรัตถประโยชน์ ประโยชน์ของผู้อื่นและ 3) อุภยัตถประโยชน์ ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย การประยุกต์หลัก ธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาใช้ในสังคมปัจจุบัน สรุปลงใน (1) ทาน การเสียสละแบ่งปัน ซึ่งเป็นไปเพื่อลดละความตระหนี่ความมักมากเห็นแก่ตัวและศีลธรรม (เบญจศีลและเบญจธรรม) เป็นไปเพื่อควบคุมมิให้เกิดการประทุษร้ายเบียดเบียนกันทั้งทางตรง และทางอ้อม (2) สมาธิเป็นไปเพื่อความสงบตั้งมั่นของจิตใจพร้อมจะทำการงานและ (3) ปัญญา เป็นไปเพื่อความรู้เห็นจริง ซึ่งสภาวธรรมทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ 1) การใช้ สิทธิเสรีภาพขั้นต้น (ทางกายและวาจา) มุ่งส่งเสริมความเป็นส่วนตัวและ 2) การใช้้สิทธิเสรีภาพ ขั้นสูง (ปัญญา) มุ่งเน้นถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุผลด้วยเหตุนี้ หลักการทั้ง 2 จึงมีจุดนัดพบที่การ ใช้้้สิทธิเสรีภาพออกไป และเป็นการใช้้สิทธิที่ถูกต้องเป็นสิทธิที่มีลักษณะชักชวนให้กระทำหรือ ให้พิสูจน์์ตนเองด้วยตนเองเป็นสำคัญ นอกจากนี้ เพื่อเป็นหลักประกันของการพิสูจน์ตนเองได้ อย่างถูกต้อง คือ ไม่ก้าวก่ายไม่เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น ในสังคมไทยจำต้องนำลักษณะทั้ง 2 มาปรับใช้ใน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักภราดรภาพ สิทธิ เสรีภาพในการอยู่ร่วมกัน 2) ด้านหลักความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็น พลเมืองของชาติ สรุปทั้งสิทธิมนุษยชนและหลักธรรม ในพระพุทธศาสนาเถรวาทล้วนมีการ ส่งเสริมให้ปฏิเสธความชั่ว สนับสนุนให้กระทำความดีต่อกัน ในฐานะที่เป็นมนุษย์หลักธรรมใน พระพุทธศาสนาเถรวาทจึงอยู่ในฐานะสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาชีวิตมวลมนุษย์ให้เข้าถึง สันติสุขทั้งด้านส่วนตัวและส่วนรวมตลอดไปen_US
dc.publisherวารสาร มจร การพัฒนาสังคมen_US
dc.subjectสิทธิ, มนุษยชน, คัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทen_US
dc.titleหลักสิทธิมนุษยชนตามหลักธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Articles)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.