Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1178
Title: การส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม วัดนางพญา
Other Titles: Arts and Culture Promotion of Nang Phaya Temple
Authors: อ่อนทรวง, จุมพต
-, พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ
บุญทองคำ, ณัฏยาณี
Keywords: ศิลปะ
วัฒนธรรม
วัดนางพญา
Issue Date: 2563
Publisher: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
Abstract: การวิจัยเรื่องการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมวัดนางพญา มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาข้อมูล และวิเคราะห์ศิลปะและวัฒนธรรมของวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก 2) นำเสนอองค์ความรู้ด้านศิลปะ และวัฒนธรรมวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก และ 3) เผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมใน รูปของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ใช้วิธีการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) ที่เน้นในหลักการ ค้นหาความรู้ที่เป็นความจริง จากแหล่งรากเง้าของข้อมูลโดยแท้ (Grounded Theory Approach) โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบ มีโครงสร้างกับกลุ่มผู้เป็นบุคคลในท้องถิ่นในพื้นที่โดยตรงของวัดนางพญา นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และมัคคุเทศก์นำเที่ยววัดนางพญา จำนวน 20 ท่าน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ศิลปะและวัฒนธรรมของวัดนางพญา จังหวัด พิษณุโลก ได้ข้อมูลที่สำคัญคือ วัดนางพญา วัดนี้ตั้งอยู่หลังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุต่อจากวัดราชบูรณะ ไปทางด้านตะวันออก และอยู่ในพื้นที่อาณาเขตต่อเชื่อมกัน โบราณวัตถุต่างๆ ไม่ปรากฏเหลืออยู่ นอกจากวิหารซึ่งเข้าใจว่าซ่อมแซมขึ้นใหม่ และตัววัดก็เป็นของที่สร้างขึ้นใหม่ทั้งสิ้น เป็นวัดเล็กๆ กุฏิ พระสร้างด้วยไม้ อุโบสถสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า วัดราชบูรณะนั้นสมเด็จพระมหา ธรรมราชาทรงสร้างขึ้นเมื่อเสด็จไปประทับอยู่เมืองนี้ กับวัดนางพญาที่อยู่ติดกัน เข้าใจว่า พระวิสุทธิ กษัตริย์ พระอรรคมเหสีสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงสร้างขึ้นกับวัดราชบูรณะ จึงได้ทรงสร้างในอุปา จารเดียวกัน สำหรับวัดนางพญานี้ยังมีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง ซึ่งนักเลงพระเครื่องแสวงหากันมาก ในปัจจุบัน พระเครื่องวัดนางพญานี้มีชื่อเรียกว่า “พระนางพญา” โดยมีชื่อเดียวกับชื่อวัด พระ นางพญานี้ได้มีการพบกรุกันครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 2444 2. การนำเสนอองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ได้ผลการนำเสนอจำนวน 5 ด้าน คือ 1) องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม 2) องค์ความรู้ด้านโบราณคดี 3) องค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนา 4) องค์ความรู้ด้านศิลปะสถาปัตยกรรม และ 5) องค์ความรู้ด้าน พระพิมพ์ 3. การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับประวัติวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ใน รูปแบบของแผ่นพับ มีทั้งภาษาไทยและภาษอังกฤษ เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะและ วัฒนธรรม แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมสำคัญของการวิจัยเรื่อง การส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม วัด นางพญา เนื่องจากเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ นักท่องเที่ยวและเยาวชนรุ่นหลัง สามารถนำผลของการวิจัยมาใช้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ นักท่องเที่ยวและเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการท่องเที่ยววัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1178
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์-ทุนภายนอก

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
รวมเล่มงานวิจัยวัดนางพญา.pdf14.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.