Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1175
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อตฺถสิทฺโธ, พระครูปลัดสมหมาย อตฺถสิทฺโธ, ดร. | - |
dc.date.accessioned | 2023-12-01T07:53:40Z | - |
dc.date.available | 2023-12-01T07:53:40Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1175 | - |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ใน ชุมชนด้านการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศวิทยา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และ ปลายทาง 2) สร้างความสมดุลในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนรักษาต้นทุนทางธรรมชาติและ วัฒนธรรม สร้างความพึงพอใจให้ผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวและศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเป็น แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่ยกระดับขีดความสามารถของพระสงฆ์และชุมชน 3) สร้างคุณค่าทางสังคมด้านการ อนุรักษ์ป่า สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มขึ้น ตัวแปรที่สนใจศึกษา คือ รูปแ บบการอนุรักษ์ป่า ชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวคิด 7 เสาหลัก ของพระสงฆ์และ ชุมชนวัดป่าจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้วิธีการศึกษา ข้อมูลจากเอกสาร ( Documentary research) และ การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกภาคสนาม ( Field study) กลุ่มเป้าหมาย คือ พระสงฆ์ วัดปาจตุร พัตรพิมาน จังหวัดร้อ ย เอ็ด จำนวน 5 รูป และ กลุ่มเป้าหมายที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ได้แก่ ชุมชน/ บ้าน วัด หน่วยงานของรัฐและองค์กรอื่น ๆ จำนวน 45 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น จำนวน 50 รูป/คน แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการ สนทนากลุ่ม ในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการอนุรักษ์ป่าชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและ แนวคิด 7 เสาหลัก, ระยะที่ 2 ตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามที่แสดงถึงรูปแบบการอนุรักษ์ป่า ชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวคิด 7 เสาหลักที่พัฒนาขึ้น, และระยะที่ 3 ทดลองใช้ รูปแบบการอนุรักษ์ป่าชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวคิด 7 เสาหลัก ที่พัฒนาขึ้น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือ ได้แนวทางการพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ได้หลักสูตร การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์ป่า ชุมชน โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวคิด 7 เสาหลักของพระสงฆ์และชุมชน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารเชิง เนื้อหา ( Content Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงพรรณนา ( Descriptive method) ผู้วิจัยได้ พบประเด็นที่สำคัญและ นำผล จาก การศึกษามาสรุปตามลำดับดังนี้ 6.1.1 การนำ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชุมชนด้านการท่องเที่ยวเชิง ระบบนิเวศวิทยา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง จาการศึกษา พบว่า พระสงฆ์และชุมชนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นบุคคลต้นทาง หากได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในด้านการอนุรักษ์ ป่าในชุมชนของตนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอยู่กลางทาง และ ปลายทางคือ กรมป่าไม้ ซึ่งเป็น หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านป่าชุมชน เมื่อทุกฝ่ายร่วมมือกันอนุรักษ์ป่าชุมชนอย่างจริงจัง แหล่ง ท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศวิทยา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมเกิดขึ้นได้ในชุมชนนั้น ๆ อย่างมั่นคงและ ยั่งยืน สำหรับพระสงฆ์ มีสถานที่สงบสงัดเพื่อศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม ส่วนชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยวเชิง ระบบนิเวศน์เพิ่มขึ้น มีแหล่งอาหารจากป่าเพิ่มขึ้น แหล่งสมุนไพรจากป่าเพิ่มขึ้น มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น มี จำนวนและชนิดพัน ธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เพิ่มขึ้น มีจำนวนป่าชุมชนที่เกิดจากพระสงฆ์และชุมชนมากขึ้น 6.1.2 การ สร้างความสมดุลในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนรักษาต้นทุนทางธรรมชาติและ วัฒนธรรม สร้างความพึงพอใจให้ผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวและศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเป็น แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่ยกระดับขีดความสามารถของพระสงฆ์และชุมชน จากการดำเนินโครงการวิจัย พบว่า การจัดการป่ ป่าไม้อย่างยั่งยืนต้องตอบสนองทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อ ขนาดและสัดส่วนพื้นที่ป่ ป่าที่เหมาะสมจึงเป็นหัวใจของการจัดการ ป่าอย่างยั่งยื 6.1.3 การ สร้างคุณค่าทางสังคมด้านการอนุรักษ์ป่า สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้ กับ ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มขึ้น จากการดำเนินโครงการ พบว่า ป่าไม้หรือต้นไม้คือปอดของชุมชนและ มีบทบาทที่ส คัญต่อการรักษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนในท้องถิ่นซึ่งการจัดการป่ ป่าที่ยั่งยืนจะต้อง ให้ป่ ป่าสามารถ หน้าที่เป็นแ หล่งอาหาร แหล่ง รายได้ แหล่งจ้างงาน รวมถึงการลงทุนต่าง ๆ ในท้องถิ่นการท ให้พื้นที่ป่ ป่าสามารถ หน้าที่เพื่อการผลิต และบริการได้อย่างต่อเนื่อง | en_US |
dc.publisher | สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ | en_US |
dc.subject | การอนุรักษ์ป่า ชุมชน | en_US |
dc.subject | หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา | en_US |
dc.subject | แนวคิด 7 เสาหลัก | en_US |
dc.title | การพัฒนา รูปแบบการอนุรักษ์ป่า ชุมชน โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และแนวคิด 7 เสาหลัก ของพระสงฆ์และชุมชนวัดป่าจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์-ทุนภายนอก |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์ป่าชุมชน.pdf | 5.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.