Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/116
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ผศ.ดร.-
dc.date.accessioned2021-07-29T02:05:16Z-
dc.date.available2021-07-29T02:05:16Z-
dc.date.issued2018-05-02-
dc.identifier.citationปีที่ 3 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2561en_US
dc.identifier.issn2539-5718-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/116-
dc.descriptionในสมัยก่อนพุทธกาล สตรีอินเดียผ่านการพัฒนาหลายๆ ขั้นตอน ดังจะเห็นจากในยุค ดึกดาบรรพ์ประชาชนชาวอินเดียนับตั้งแต่พระราชาธิบดีลงมา จนถึงประชาชนทั่วไปพากันยึดถือเป็นจารีตว่า ผู้หญิงสาวภายหลังแต่งงานแล้ว หากสามีตายลง หญิงผู้เป็นภรรยานั้นจะต้องโดดเข้ากองไฟในเวลาที่เผาศพของสามีเพื่อตายตามสามีไปด้วย เพราะเหตุที่ผู้หญิงปฏิบัติเช่นนี้ จึงได้มีชื่อว่า “สตี” หรือ “สตรี” แปลว่า ผู้ยอมตายไปกับสามี และเรียกผู้หญิงอีกคาหนึ่งว่า “สมร”แปลว่า “ผู้ยอมตายด้วยกัน” การที่ภรรยายอมตายด้วยการกระโดดเข้าไปในกองไฟเผาที่สามีเพื่อให้ตัวตายไปกับสามีนั้น เพราะประเพณีของชาวอินเดียมีข้อบังคับว่า หญิงหม้ายที่ไร้สามีแล้วย่อมเป็นที่รังเกียจของสังคมทั่วไปในยุคนั้น (พระมหากมล ถาวโร (มั่งคามี), 2543:13)en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง “สถานภาพของสตรีในพระพุทธศาสนา” นั้น และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนาเอาสิทธิของสตรีตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลและในสมัยพุทธกาล เพื่อต้องการศึกษาความเสมอภาคของสตรีในพระพุทธศาสนา ความจริงแล้ว บุรุษและสตรีต่างกันแต่เพียงเพศเท่านั้น แต่ปัญญาและศักยภาพด้านรู้แจ้งธรรมไม่ต่างกันเลย ดังจะเห็นได้ว่า ในครั้งพุทธกาล ขณะที่บุรุษจานวนมากออกบวชและบรรลุธรรม สตรีจานวนมากก็ออกบวชและบรรลุธรรมได้เช่นกัน อิทธิพลของพระพุทธศาสนาในโลกสมัยใหม่ ที่มีต่อฐานะของผู้สตรีนั้นเห็นได้ชัด โดยการเปรียบเทียบฐานะของสตรีในสมัยก่อนพุทธกาลกับสังคมของชาวพุทธ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้รวบรวมความแตกต่างในท่าทีที่มีต่อสตรีตามที่ปรากฏในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ในตอนแรกได้กล่าวถึงฐานะของสตรีในสมัยก่อนพุทธกาล การอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ตอนสาคัญของสตรีอินเดียและทั่วโลก เพราะพระพุทธเจ้านับว่าเป็นพระศาสดาพระองค์แรกที่มองเห็นสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคกัน พระพุทธเจ้าทรงยอมรับว่า สตรีก็มีศักยภาพและสติปัญญาเท่าเทียมกับบุรุษในการตรัสรู้ธรรม อาจจะกล่าวได้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิของสตรีคนแรกของโลกพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงสิทธิ หน้าที่ บทบาทและความเสมอภาคของสตรีไว้อย่างไร รวมทั้งมีคาสอนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสตรีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม หากศึกษาสารวจคัมภีร์ทั้งหมดโดยตลอดแล้ว อาจกล่าวได้ว่า โดยการเปรียบเทียบกับข้อความที่สรรเสริญหรือพูดถึงสตรีในแง่บวกมีมากกว่า พระพุทธศาสนามีบทบาทสาคัญในการให้ อิสรภาพทางจิตแก่สตรี และชัดเจนขึ้นเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับบทบาทของสตรีในสังคมของศาสนาพราหมณ์ ผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาจากสภาพสังคมในปัจจุบันมักจะกล่าวโจมตีว่า พระพุทธศาสนากดขี่สตรี ไม่ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับบุรุษ เช่นการที่ไม่ยอมให้สตรีบวชตั้งแต่ต้น จริง ๆ แล้วสตรีภายใต้พระพุทธศาสนามีอิสระและพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาได้ทุกอย่าง พระพุทธศาสนาไม่มีข้อยกเว้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงประกาศพระธรรมแก่ประชาชนทั้งบุรุษและสตรี เพราะตระหนักดีว่าความแตกต่างระหว่างสตรีและบุรุษโดยแท้จริงแล้วไม่มีความหมายหรือความสาคัญอะไรเลย เพราะต้องมีความทุกข์ความเดือดร้อนเหมือน ๆ กัน สตรีเพศจึงจัดอยู่ในสถานภาพที่ควรยกย่องเพราะฐานะที่สาคัญของสตรีก็คือ ความเป็นแม่ของลูกen_US
dc.publisherวารสาร มจร การพัฒนาสังคมen_US
dc.subjectศาสนาพุทธ, สตรี, ศาสนาen_US
dc.titleศาสนาพุทธในโลกสมัยใหม่ : สตรีกับศาสนาen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Articles)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.