Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1163
Title: | การพัฒนาหลักประกันสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ จังหวัดร้อยเอ็ด |
Other Titles: | Development health insurance for Buddhist Communities Roi-Et Province |
Authors: | ศรีจันทร์, พระนัฐวุฒิ พระครูวาปีจันทคุณ อตุถสิทฺโธ, พระครูปลัดสมหมาย พระครูสุตวรธรรมกิจ |
Keywords: | หลักประกันสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ อัตลักษณ์พุทธวิถี ชุมชนเข้มแข็ง |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักประกันสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อพัฒนา รูปแบบการสร้างอัตลักษณ์พุทธวิถี เพื่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อสร้าง เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ด้วยหลักประกันสุขภาพชุมชนวิธีพุทธ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงผสม (Mixed Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quanlitative Research) โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มประซากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุ ใน โรงเรียนผู้สูงอายุ 4 แห่ง ได้แก่ 1) โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลจังหาร 51 คน 2) โรงเรียน ผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลบึงงาม 52 คน 3) โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าม่วง 118 คน 4) โรงเรียนผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว 200 คน รวมทั้งหมด 421 คน การ วิจัยเชิงคุณภาพ (Quanlitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth inteview - IDI) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำท้องถิ่น ผู้บริหารโรงเรียนผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และตัวแทนภาครัฐ ผู้ที่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยครั้งนี้จากโรงเรียนผู้สูงอายุทั้ง 4 แห่ง ๆ ละ 12 คน รวมทั้งหมด 48 คน นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้ได้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ด้าน กาย เป็นการพัฒนาร่างกายให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพทั้งหลาย ในทางเป็น คุณประโยชน์เกื้อกูล ไม่เกิดโทษ รู้จักบริโภคปัจจัยสี่ให้มีคุณค่าสูงสุด ไม่บริโภคตามค่านิยม ซึ่งอาจ ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ด้านจิตใจ เป็นการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด ด้านจิตใจ ให้ได้รับความรู้ ได้ฝึกปฏิบัติด้านสมาธิ สวดมนต์เช้า-เย็น และก่อนนอน ด้านปัญญา เป็นการฝึกให้ผู้สูงอายุดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท ไม่ลุ่มหลงมัวเมา รู้เท่าทันรู้สึก สบายใจ มีสติอยู่กับตัวเอง ไม่คิดมาก มีความรู้ความเข้าใจในตัวเอง ด้านสังคม เป็นความสามารถใน การอยู่ร่วมกับผู้อื่น อันได้แก่ สมาชิก ในครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนบ้าน 2) พัฒนารูปแบบการสร้างอัตลักษณ์พุทธวิถี เพื่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ จังหวัด ร้อยเอ็ด พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการที่มีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาในการทำ กิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งรูปแบบการสร้างอัตลักษณ์พุทธวิถีเพื่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด มีด้วยกัน 3 ข้อ คือ 1) การสวดมนต์ ไหว้พระ รับศีล ได้แก่ การน้อมจิตน้อมใจ การ สวดบทสรรเสริญพระรัตนตรัย การสวดบทพิจารณาสังขาร และการสวดบทแผ่เมตตา 2) การเจริญ ภาวนา ได้แก่ การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม และการกำหนดอิริยาบท 3) การฟังพระธรรมเทศนา ได้แก่ เรื่องความไม่เที่ยงของสังขาร เรื่องการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และเรื่องการสร้างความสุขกับ ปัจจุบัน 3) การสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ด้วยหลักประกันสุขภาพชุมชนวิธีพุทธ จังหวัด ร้อยเอ็ด พบว่า กระบวนการสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ด้วยหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธ คือ ให้มี การเชื่อมต่อระหว่างโรงเรียนผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มี ระบบการทำงานที่ คล่องตัวและรวดเร็วขึ้น เพิ่มหน่วยงานเคลื่อนที่เร็วเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุได้ทันท่วงที่ เมื่อเกิดปัญหา เกี่ยวกับด้านสุขภาพและเจ็บป่วยขึ้น การสร้างเครือข่ายหลักประกันสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัด ร้อยเอ็ด ได้มีการสร้างเครือข่ายระบบภายในขึ้น คือ การเชื่อมโยงหน่วยงานด้านสุขภาพที่มีอยู่แล้วให้ ทำงานได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น การสร้างเครือข่ายภายนอก คือ การขยายโรงเรียนผู้สูงอายุใน เขตอำเภอที่ยังไม่มีโรงเรียนผู้สูงอายุเพิ่มเติมขึ้น โดยการนำเอาคู่มือและระบบโรงเรียนผู้สูงอายุที่ พัฒนาแล้วนำไปใช้และขยายเพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุให้มีการ ดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น การพัฒนาหลักประกันสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการสร้างความมั่นคง ทางด้านสุขภาวะทางจิตให้กับผู้สูงอายุในโรงเรียนที่มาเข้ารับการอบรมศึกษา จะมีความสุข ทั้งทาง ร่างกายและจิตใจ เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง มีหลักประกันสุขภาพ 4 ด้าน คือ 1) ด้านสุขภาพร่างกาย ได้แก่ การเดินจงกรม 2) ด้านจิตใจ ได้แก่ กรแผ่เมตตา 3) ด้านสังคม ได้แก่ การรักษาศีล 5 และ 4) ด้านปัญญา ได้แก่ กรเจริญสมาธิ มั่นทำอยู่เนืองนิตย์จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายดี สุขภาวะ ทางจิตที่เป็นสุข จิตใจไม่เศร้าหมองจากกิเลสทั้งปวง คำสำคัญ: หลักประกันสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ: สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ; อัตลักษณ์พุทธวิถี; ชุมชน เข้มแข็ง |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1163 |
Appears in Collections: | ส่วนหอสมุดกลาง |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
0067พระนัฐวุฒิ ศรีจันทร์.pdf | 3.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.