Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1158
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพวงจันทร์, ธีรทิพย์-
dc.contributor.authorโยธสาสโน (ทองจันทร์), พระมหายุทธพิชาญ-
dc.date.accessioned2023-07-10T08:04:11Z-
dc.date.available2023-07-10T08:04:11Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1158-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง "การศึกษากลไกการจัดการและเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมซนปราสาทขอม ในจังหวัดสุรินทร์" มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากลไกการจัดการและเครือข่ายการท่องเที่ยว ชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอม ในจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างเครือข่ายของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัด สุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกต แบบ สัมภาษณ์ กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 2 กลุ่มได้แก่ นักวิชาการด้านการท่องเที่ยวปราสาทขอม วัฒนธรรมและด้านการท่องเที่ยว และผู้ให้ข้อมูลหลักประจำแหล่งท่องเที่ยวชุมชน แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อธิบาย สรุปเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลไกที่ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ประกอบด้วย รัฐธรรมนูญ นโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนส่งเสริมการอนุรักษ์และการท่องเที่ยวสถานที่โบรารณสถานและการ ท่องเที่ยวชุมชน กรมศิลปากรณ์โดยพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสุรินทร์ เป็นแหล่งข้อมูลในการให้ความรู้ เกี่ยวกับโบราณสถานโบราณวัตถุและข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ และเป็นหน่วยงาน ที่คอยดูแลรักษาบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ สนับสนุนงบประมาณให้ชุมชนจัด กิจกรรมการท่องเที่ยวเช่นกิจกรรมบวงสรวงปราสาทขอม การเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนปราสาทขอมในงานวิจัยนี้ประกอบด้วยชุมชน ปราสาทขอม 4 แห่งคือ ปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทช่างปี ปราสาทภูมิโปนและปราสาทตาเมือน ซึ่งได้มี การแบ่งประเด็นในการศึกษาประด้วยประเด็นด้านต่าง ๆ 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านบุคคล 2) ด้านการ ประสานงานระหว่างเครือข่าย 3) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ระหว่างเครือข่าย 4) ด้านกระบวนการทำงาน 5 ) ด้านผู้นำวิสัยทัศน์ นโยบายและยุทธศาสตร์ การประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวปราสาทขอมสรุปตามเครือข่ายที่มี อยู่เดิมจากการศึกษาสภาพของเครือข่ายการท่องเที่ยวปราสาทขอมจังหวัดสุรินทร์ ด้านการรวมตัวกัน และความเป็นอิสระของเครือข่าย การขยายผลการท่องเที่ยวไปยังชุมชนอื่น การเรียนรู้แล้ว ประสบการณ์ร่วมกัน ทั้งสามด้านนี้อยู่ในช่วงการเริ่มต้น สำหรับด้านกระบวนการทำงานเชื่อมโยงกับ ชุมชนต่างๆ และความร่วมมือในการสร้างคุณภาพการบริการ ดำเนินการได้ดีในบางพื้นที่ ส่วนด้าน ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวให้มีศักยภาพ คำสำคัญ : กลไก,การจัดการ,เครือข่ายการท่องเที่ยว,ปราสาทขอมen_US
dc.subjectกลไกen_US
dc.subjectการจัดการen_US
dc.subjectเครือข่ายการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectปราสาทขอมen_US
dc.titleการศึกษากลไกการจัดการและเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชน ปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์en_US
dc.title.alternativeStudy of Tourism Management Mechanism and Network of Prasat Khmer Community in Surin Provinceen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0062ธีรทิพย์ พวงจันทร์.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.