Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1155
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแสงนนท์, เกษม-
dc.date.accessioned2023-07-10T07:56:13Z-
dc.date.available2023-07-10T07:56:13Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1155-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง "การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ" มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้าง เครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 3) เพื่อศึกษาประเมินผลการสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรม การเรียนรู้วิถีพุทธ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการมาเป็นส่วนสำคัญต่อการดำเนินการ วิจัยทุกขั้นตอนกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตคณะครุศาสตร์ จำนวน 400 รูป/ คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร คณาจารย์คณะครุศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ โดยกำหนดเกณฑ์ คือเป็นผู้ที่มี ความรู้ความเชี่ยวชาญในประเด็นที่ศึกษาและเป็นผู้ที่ยินดีจะให้ข้อมูลเชิงลึกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ตามบริบทของพื้นที่ รวมถึงคณะครูและอาจารย์ โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนเชียงรากน้อย วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) โรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์ วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) โรงเรียนสามโก้วิทยาคม จังหวัดอ่างทอง 1) โรงเรียนกุศลศึกษาวัตชัยพฤกษ์มาลา กรุงเทพมหานคร 5) โรงเรียนพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และ 6) โรงเรียนวัดพิรุณศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งคณะครุ ศาสตร์ นำเสนอโมเดลการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรม ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้จากการแสวงหาเรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนความรู้ จากโรงเรียนวิถีพุทธ จน เกิดความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากความรู้นั้น โดยมุ่งสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้ และพัฒนาเป็น นวัตกรรมใหม่ ที่เรียนรู้ได้ เป็นองค์ความรู้ที่สามารถปฏิบัติได้ การสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธขยายความรู้จากพื้นที่นวัตกรรมห้องชี 500 ของคณะครุศาสตร์ไปตามโรงเรียนต่าง ๆ โดยเปิดให้เข้าชมและ ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเกิด เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การกิจกรรม หรือการเรียนการสอนแนวใหม่ สอนแบบบูรณาการของ ศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา นำไปพัฒนาตามโรงเรียนเพื่อเป็นเครือข่ายแหล่งเรียนรู้หรือพื้นนวัตกรรม การเรียนวิถีพุทธเป็นต้นแบบ และขยายผลเป็นเครือข่ายที่ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภายใน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตวิทยาลัยสงฆ์ทั่วประเทศ และเครือข่ายภายนอก องค์กร หน่วยงานราชการ และโรงเรียน โดยใช้คณะครุศาสตร์เป็นศูนย์กลางภาคีนวัตกรรมการเรียนรู้ วิถีพุทธ กระบวนการการสร้างเครือข่ายประกอบด้วย องค์ความรู้กรอบการจัดการองค์ความรู้ สร้างแบบจำลองรูปแบบกิจกรรม สร้างนวัตกรรมประยุกต์ใช้ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้เรียนคิดที่จะคิดต่อไปเองได้ ฝึกฝนสะท้อนความคิด ระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จาก ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านไป ทำให้เกิดความตระหนักในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ได้เรียนรู้เชิงประจักษ์ (เห็นได้ ด้วยตนเอง) ว่าตนเรียนรู้ได้อย่างไร และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างไร การสะท้อนความคิดนี้เป็น องค์ประกอบที่สำคัญมาก เพราะเป็นการฝึกฝนกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ที่จะค่อยๆ สั่งสมประสบการณ์จากการคิดทบทวนสิ่งที่ตนเองได้ทำen_US
dc.subjectการสร้างเครือข่ายen_US
dc.subjectพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธen_US
dc.subjectวิถีพุทธen_US
dc.titleการสร้างเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธen_US
dc.title.alternativeNetwork building, innovation area for learning the Buddhist way of lifeen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0059เกษม แสงนนท์.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.