Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1154
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสวนมะไฟ, ไพฑูรย์-
dc.contributor.authorพระครูวาปีจันทคุณ-
dc.contributor.authorสวนมะไฟ, รมิดา-
dc.date.accessioned2023-07-10T07:53:42Z-
dc.date.available2023-07-10T07:53:42Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1154-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง "การส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด" มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาสุขภาวะในโรงเรียน ผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด, และ 3) เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียน ผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยใช้รูปแบบวิธี วิจัย 2 รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งใช้วิธีแจกแบบสอบถาม ผู้สูงอายุที่เข้าศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative Research) ซึ่งใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้นำท้องถิ่น, ผู้บริหารโรงเรียนผู้สูงอายุ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ตัวแทนภาครัฐ จากโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า สุขภาวะด้านกาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นโรคความดัน โรคกระดูก โรคเบาหวาน ปัญหาสุขภาพฟันคือฟันผุ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ สุขภาวะด้านจิตใจ ผู้สูงอายุ มีปัญหาด้านจิตใจน้อยมาก เนื่องมาจากความเชื่อหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ส่วนมากปฏิบัติตน ตามหลักศีล 5 มีจิตใจที่เมตตากรุณา และเข้าใจความเป็นไปของชีวิต สุขภาวะด้านปัญญา การเสื่อมสภาพของร่างกายส่งผลให้ความจำของผู้สูงอายุลดลง ซึ่งมักหลงลืมง่าย ความจำเลอะเลือน ความจำระยะสั้น จะได้รับความกระทบกระเทือนมากกว่าระบบความจำระยะยาวซึ่งมีผลให้ผู้สูงอายุ เกิดความกับข้องใจและไม่สามารถเรียนรู้สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องกับการ จำระยะสั้นได้ ผู้สูงอายุมักจะจดจำ เรื่องราวเก่าๆ ได้ดีกว่าเรื่องราวใหม่ๆ สุขภาวะด้านสังคม มีปัญหาความแตกต่างระหว่างวัย ภาวะการ ถูกลดบทบาททางสังคม การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมและบุตรหลาน ก่อให้เกิดความว้าเหว่ การลดความสัมพันธ์กับชุมชนของผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า สุขภาวะ ด้านกาย เป็นการพัฒนาร่างกายให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในทางเป็น คุณประโยชน์เกื้อกูล ไม่เกิดโทษ รู้จักบริโภคปัจจัยสี่ให้มีคุณค่าสูงสุด ไม่บริโภคตามคำนิยม ซึ่งอาจ ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ สุขภาวะด้านจิตใจ เป็นการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียน ผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ดให้ได้รับความรู้ ได้ฝึกปฏิบัติด้านสมาธิ สวดมนต์เช้า-เย็น และก่อนนอน สุขภาวะด้านปัญญา เป็นการฝึกให้ผู้สูงอายุดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท ไม่ลุ่มหลงมัวเมา รู้เท่าทัน รู้สึกสบายใจ มีสติอยู่กับตัวเอง ไม่คิดมาก มีความรู้ความเข้าใจในตัวเอง สุขภาวะด้านสังคม เป็นความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น อันได้แก่ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน และ เพื่อนบ้าน นวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ พบว่า สุขภาวะด้านร่างกาย ได้ดำเนิน กิจกรรมต่างๆ มีการไหว้พระสวดมนต์ การนั่งสมาธิ การเป็นอยู่ที่สอดคล้องเกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อม การทำกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง สุขภาวะด้านจิตใจ มีกิจกรรมจิต อาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม การฝึกจิตให้มีความอดทน การดำรงชีวิตแบบพุทธมุ่งสร้างสุขภาพใจให้ เข้มแข็ง การพัฒนาจิตใจให้มีอารมณ์ดี มีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความสุข สุขภาวะด้านปัญญา มีกิจกรรม การเรียนรู้คุณค่าและการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข การใช้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา ในการแก้ปัญหาชีวิต สุขภาวะด้านสังคม มีกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ ครอบครัว ชุมชน และสังคม คำสำคัญ : การส่งเสริม, สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ, โรงเรียนผู้สูงอายุen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการส่งเสริมen_US
dc.subjectสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธen_US
dc.subjectโรงเรียนผู้สูงอายุen_US
dc.titleการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ดen_US
dc.title.alternativePromotion of Buddhist holistic well-being in schools for the elderly, Roi Et Provinceen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0058ไพฑูรย์ สวนมะไฟ.pdf6.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.