Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1153
Title: ศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา
Other Titles: Study Guidelines for the Development of Educational Innovation Areas
Authors: พระครูกิตติญาณวิสิฐ
Keywords: แนวทางการพัฒนา
พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา
การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา
Issue Date: 2564
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษานำร่อง 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนา พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา นิสิต/ นักศึกษา ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 40 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษานำร่อง มีขั้นตอนการสร้าง โดยกำหนดแนวทางการ ปฏิบัติทั้ง 6 ชั้น คือ 1 กำหนดนวัตกรรม 2 สร้างนวัตกรรมและพัฒนานวัตกรรม 3 การหา ประสิทธิภาพของนวัตกรรมการศึกษา 4 ขั้นตอนนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ 5 นำไปใช้ในสถานการณ์ จริง และ 6 ประเมินผลการใช้นวัตกรรม 2. องค์ความรู้การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา พบ Model : 6744-Model ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 6 ประการ ประกอบด้วย 1) การใช้หลักธรรมในการดำเนินการ 2) ปรับเปลี่ยน มุมมองหรือวิธีคิด 3) ฐานคิดในการพัฒนาสถานศึกษา 4) เชื่อมโยงวิถีชีวิต หรือวิถีชุมชน 5) บูรณา การฝึกภาคปฏิบัติ 6) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มี 7 กระบวนการ คือ 1) ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง 2 มีความต่อเนื่อง 3) เกิดเป็นอัตลักษณ์ 4) วิธีการบริหารจัดการบูรณาการหลักพุทธศาสนา 5) มีหลัก ในการคัดเลือกบุคลการ 6) การพัฒนาศักยภาพครู 7) ใช้จิตวิทยาเชิงบวก มี 4 สร้าง 1) คุณลักษณะ ของจิตอาสา 2) ให้เกิดพฤติกรรมใหม่ 3) ต้นแบบที่ดี 4) คนดีคนเก่ง และมี 4 พัฒนา 1) วิถีใจที่เปี่ยม ไปด้วยกรุณา 2) วิถีชีวิตที่ใช้ในครอบครัว 3) วิถีชุมชนแห่งสติ (4) วิถีชีวิตใหม่ 3. การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา พบว่า ต้องอาศัยองค์ประกอบที่มุ่งเน้นการ เพิ่มผลสัมฤทธิ์และการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ดังนั้นพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาวิถีพุทธ จึงประกอบด้วย 1) กิจกรรมวิถีพุทธพอเพียงใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและวิถีเกษตรยั่งยืน 2) กิจกรรมการ เรียนรู้วิถีพุทธ 3) กิจกรรมเดินด้วยเท้า ก้าวไปในบุญ และ 4) กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธ โดยการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการเชื่อมโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1153
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0057พระครูกิตติญาณวิสิฐ, ผศ.ดร..pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.