Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1152
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | บุญปู่, สมศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | ฐิตวทุฒโน, พระมหาญาณวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | แก้วทองใหญ่, ยุทธวีร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-07-10T07:46:06Z | - |
dc.date.available | 2023-07-10T07:46:06Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1152 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 1.) เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 2) เพื่อสร้างพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบพื้นที่ นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิง ปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญต่อการศึกษาเป็นกลุ่มผู้บริหาร 11 รูป/คน คณาจารย์ 64 รูป/คน เจ้าหน้าที่ 19 รูป/คน นิสิต 316 รูป/คน และเครื่องวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบประชุมสนทนากลุ่มย่อย ชุดกิจกรรม การจัดเวทีแสดงความคิดเห็นร่วมกัน วิเคราะห์รูปแบบพื้นที่ นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ใช้หลักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนำไปสู่การสร้างพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถี พุทธ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เป็นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน กระบวนการเรียนรู้แบบพหุปัญญา บูรณาการความรู้และคุณธรรมจริยธรรมเชื่อมโยงกับภูมิสังคม ภูมิ ปัญญา และศิลปวัฒนธรรมไทย รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน สร้างสัมมาชีพ สร้างค่านิยม และจิตสำนึกที่ดี คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม รับผิดชอบต่อสังคม โมเดล 6744-Model 2. การสร้างพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถี ประกอบด้วย ด้านกายภาพคือ อาคารสถานที่ ห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมบนพื้นฐานวิถีชีวิต ด้านการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ จนถึงกระบวนการเรียนการสอน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ ในการ ปฏิบัติต่อกันระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนิสิต และด้านการบริหารจัดการ ตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ จุดเน้น การกำหนดแผนปฏิบัติการ การสนับสนุน ติดตาม ประเมินผล และพัฒนา ต่อเนื่อง ซึ่งการจัด สภาพในแต่ละด้าน จะมุ่งเพื่อให้การพัฒนาผู้เรียนตามวิถีพุทธ หรือตามระบบไตรสิกขา ดำเนินได้ อย่างชัดเจนมีประสิทธิภาพ และจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่เพื่อให้สอดรับด้านกายภาพ สภาพแวดล้อมที่ชวนให้มีจิตใจสงบ ส่งเสริมปัญญา กระตุ้นการพัฒนาศรัทธา และศีลธรรม กิจกรรม พื้นฐาน วิถีชีวิต กระตุ้นให้การกิน อยู่ ดู ฟัง ดำเนินด้วยสติสัมปชัญญะ บูรณาการหลักไตรสิกขา 3. การพัฒนารูปแบบพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ได้รูปแบบกิจกรรมวิถีพุทธพอเพียง ใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและวิถีเกษตรยั่งยืน รูปแบบกิจกรรมเดินด้วยเท้า ก้าวไปในบุญ และรูปแบบการ ถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธตามแผนงานกิจกรรม ใช้คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยใช้ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นฐานในการเรียนรู้ คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, พื้นที่นวัตกรรม, พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธfvvv | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การพัฒนารูปแบบ | en_US |
dc.subject | พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ | en_US |
dc.subject | พื้นที่นวัตกรรม | en_US |
dc.title | การพัฒนารูปแบบพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ | en_US |
dc.title.alternative | A Development Model of Buddhist Innovation Areas Learning | en_US |
Appears in Collections: | ส่วนหอสมุดกลาง |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
0056สมศักดิ์ บุญปู่.pdf | 4.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.