Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1151
Title: | นวัตกรรมการสร้างสรรค์งานศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิลเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพิ่มรายได้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น |
Other Titles: | Innovative Creation of Community Art from Recycled Waste to Raise Environmental Conservative Awareness and Increase Income Through Community Participation |
Authors: | วิเศษ, สหัทยา เยสุวรรณ์, ทิพาภรณ์ กันทะสัก, มานิตย์ กันทะสัก, อมลณัฐ |
Keywords: | ศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล จิตสานึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของชุมชน |
Issue Date: | 2564 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างสรรค์ศิลปะชุมชนจากขยะ รีไซเคิลทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิลโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบของนวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิลที่ เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาเอกสาร และการวิจัยเชิง ปฏิบัติการโดยสำรวจบริบทชุมชนและการจัดการขยะของชุมชน ปฏิบัติการสร้างสรรค์ศิลปะชุมชน จากขยะรีไซเคิลและวัสดุเหลือใช้ พื้นที่ในการศึกษา ได้แก่ บ้านโป่ง (สันขี้เหล็ก) ตำบลป่าแดด อำเภอ แม่สรวย จังหวัดเชียงราย แล: บ้านเซี้ยะ ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ผลการศึกษาพบว่า 1. รูปแบบการสร้างสรรค์งานศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิลในประเทศไทยและ ต่างประเทศ จะเป็นการนำศิลปะเป็นส่วนในต่อยอด พัฒนาการจัดการขยะตามรูปแบบของแต่ละ พื้นที่ เพื่อรณรงค์และสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีความคล้ายคลึงกันด้านรูปแบบและไอเดีย การสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นชิ้นงานศิลปะจากขยะรีไซเคิลและวัสดุเหลือใช้ 2. กระบวนการพัฒนานวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิลเพื่อสร้างจิตสำนึกในการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพิ่มรายได้ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) กระบวนการต้นน้ำ ได้แก่ สำรวจบริบทชุมชน ประชุมสร้างความเข้าใจกับแกนนำชุมชน ระดมความ คิดเห็นเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ศิลปะชุมชน จัดตั้งคณะทำงานวิจัยชุมชน และ ออกแบบศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล 2) กระบวนการกลางน้ำ ได้แก่ วางแผนก่อนลงมือปฏิบัติการ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ และปฏิบัติการสร้างสรรค์งานศิลปะชุมชนและผลิตภัณฑ์ชุมชนจากขยะรีไซเคิล และ 3) กระบวนการปลายน้ำ ได้แก่ การสร้างพื้นที่สาธารณะศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล โดยจัด แสดงผลงานศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล และประชุมสรุปบทเรียนนักวิจัยชุมชน จากการพัฒนา นวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล ทำให้เกิดผลงานประติมากรรมกังหันดอกขี้เหล็ก ประติมากรรมถังขยะนกยูง ผลิตภัณฑ์กังหันดอกขี้เหล็กจากขยะรีไซเคิล และพื้นที่สาธารณะศิลปะ ชุมชนในหมู่บ้าน 3. รูปแบบของนวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิลที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น เพื่อ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพิ่มรายได้ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ได้แก่ รูปแบบที่สะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ของบริบทชุมชนท้องถิ่น รูปแบบที่สะท้อนให้เห็นถึงงานศิลปะแบบ พื้นบ้าน รูปแบบที่สะท้อนปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม และรูปแบบที่สะท้อนจิตสำนึก สาธารณะในการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ใหม่ คำสำคัญ: ศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล, จิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, การมีส่วนร่วมของชุมชน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1151 |
Appears in Collections: | ส่วนหอสมุดกลาง |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
0055สหัทยา วิเศษ.pdf | 8.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.