Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1149
Title: | การส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน |
Other Titles: | Promoting democratic political culture of the people |
Authors: | จิรัฏฐิติกาล, สวัสดิ์ ปราณีต, ยุทธนา ดำจุติ, กาญจนา |
Keywords: | การส่งเสริมวัฒนธรรม การเมือง การเมืองแบบประชาธิปไตย |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาแบบแผนของวัฒนธรรมการเมืองแบบ ประชาธิปไตยของประชาชนในชุมชน 2. เพื่อส่งเสริมแบบแผนจากการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง แบบประชาธิปไตยของประชาชน 3. เพื่อสังเคราะห์แบบแผนการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ ประชาธิปไตยของประชาชน การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยศึกษา แบบแผนของวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน เพื่อสร้างชุดปฏิบัติการวิจัย (Action Research) และนำไปส่งเสริมแบบแผนที่ได้จากการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ ประชาธิปไตยของประชาชนในชุมชนต้นแบบ หลังจากนั้นนำไปพัฒนาการส่งเสริมวัฒนธรรมทาง การเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. แบบแผนวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในชุมชน ประกอบด้วย 1) ความเชื่อถือกันในชุมชน ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในชุมซนจะเป็นความเชื่อใจกัน 2) ความรัก สามัคคี ให้เกียรติในความคิดของทุกคน 3) การร่วมกิจกรรม การติดตามข่าวสารและพยายามมีส่วน ร่วมในกิจกรรม และ 4) จิตสำนึกสาธารณะ การร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมกันทำงาน 2. ส่งเสริมแบบแผนจากการศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของ ประชาชน ประกอบด้วย 1) ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เป็นหลักที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย 2) ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เสียงส่วนใหญ่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิของเสียงส่วนน้อย 3) สิทธิและ เสรีภาพการแสดงออก ต้องยอมรับฟังในความเห็นที่แตกต่าง 4) ความผูกพ้นทุกระดับในสังคม ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการออกมาปกป้องระบอบประชาธิปไตย 3. สังเคราะห์แบบแผนการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน สามารถนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของ ประชาชนเชิงพุทธ ประกอบด้วย 1) การหมั่นประชุมปรึกษาหารือทางการเมือง 2) ความพร้อมเพรียง ในการใช้สิทธิเลือกตั้ง 3) การยึดมั่นในหลักการแสะอุดมการณ์การเมือง 9) การให้ความสำคัญต่อ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 5) ความเป็นธรรมและความเสมอภาค 6) การอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดีงาม 7) การยึดมั่นการปกครองในระบอบ ประซาธิปไตย ข้อเสนอแนะ 1. ส่งเสริมสถาบันการศึกษากำหนดรายวิชาเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย รวมถึงการการสร้างกระบวนการเรียนรู้ การสร้างความเข้าใจ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม ทางการเมืองที่ถูกต้องและยึดหลักประชาธิปไตย 2. สนับสนุนในการสร้างมาตรการและแนวทางในการขยายกลุ่มเป้าหมายการส่งเสริมวัฒนธรรม ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน การรณรงค์และให้ความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญใน การเลือกตั้ง และให้ประชาชนเข้าใจวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยมากขึ้น 3. พิจารณาทบทวนระเบียบข้อบังคับในการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนให้มีความ เหมาะสมและมีความยืดหยุ่นในการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1149 |
Appears in Collections: | ส่วนหอสมุดกลาง |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
0053สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.