Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1147
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรักษาโฉม, แม่ชีกฤษณา-
dc.contributor.authorตั้งตุลานนท์, กรรณิการ์-
dc.contributor.authorทองประยูร, พชรวีร์-
dc.date.accessioned2023-07-10T06:49:48Z-
dc.date.available2023-07-10T06:49:48Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1147-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ (prototype) เกี่ยวกับฐานข้อมูลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบท พระพุทธศาสนา (2) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบท พระพุทธศาสนา (3) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมใน บริบทพระพุทธศาสนา โดยทำวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผลการวิจัยพบว่า ความโดดเด่นในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และพระนครศรีอยุธยา มีองค์ประกอบทางพระพุทธศาสนาอยู่ 5 ด้าน คือ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล ศาสนพิธี และศาสนธรรม ซึ่งสร้างขึ้นด้วยความเสื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและได้ สืบทอดพระพุทธศาสนาจากยุคสุโขทัยสู่ยุคอยุธยาและต่อเนื่องถึงยุครัตนโกสินทร์ การสร้างศิลปวัตถุ หรือพุทธศิลป์แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและสะท้อนถึงวัฒนธรรมประเพณี คติ การสร้าง เอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งมีคุณค่าเชิงนามธรรมและรูปธรรมของอุทยานประวัติศาสตร์มรดก โลกทางวัฒนธรรม ตามกฎเกณฑ์ข้อที่ 1 คือเป็นแบบอย่างให้เห็นถึงการแสดงออกที่ชาญฉลาดของ มนุษย์ผ่านผลงานด้านศิลป์ และข้อที่ 3 คือเป็นสิ่งยืนยันถึงหลักฐานการมีอยู่ของวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือประเพณีที่ยังคงเหลืออยู่หรือได้สาบสูญไป คุณค่าเชิงรูปธรรม ปรากฏในศาสนสถานที่เป็นเจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรง ดอกบัวตูม ทรงระฆังหรือทรงสังกา ทรงปรางค์ และศาสนวัตถุที่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปางลีลา นาคปรกปางสมาธิ ปางไสยาสน์ พระอัฏฐารศ โดยเจดีย์ประธานสร้างเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เป็นสัญสักษณ์ของการตั้งมั่นพระพุทธศาสนาในอาณาจักร ทำให้ตระหนักถึงคุณค่า เชิงพุทธปรัชญา คือหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการและหลักโอวาทธรรม 3 ประการ ส่วนพระพุทธรูป เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าเชิงพุทธปรัชญา คือหลักอริยสัจ 4 และหลัก โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ในสมัยสุโขทัยนิยมสร้างพระพุทธรูปสี่อิริยาบถเพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่า พุทธปรัชญา คือหลักมหาสติปัฏฐาน หลักธรรมสำคัญสรุปได้เป็นองค์ความรู้นวัตกรรมดิจิทัลใน รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบท พระพุทธศาสนา ได้เป็นเส้นทาง 3 เส้นทาง คือ (1) เส้นทางสายพระบรมสารีริกธาตุจักรวาลวิทยา "ไหว้พระธาตุ เพื่อ ทาน ศีล ภาวนา" (2) เส้นทางสายมหาสติปัฏฐาน "พัฒนาปัญญาเพื่อลดโทสะ" (3) เส้นทางสายอริยสัจ 4 ทางแห่งความดับทุกข์ "สัจจธรรมนำชีวิต รู้ ตื่น เบิกบาน" การนำข้อมูล โบราณสถาน 27 แห่ง จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาฐานข้อมูลen_US
dc.subjectมรดกโลกทางวัฒนธรรมen_US
dc.subjectหนังสืออิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.subjectบริบทพระพุทธศาสนาen_US
dc.subjectพระพุทธศาสนาen_US
dc.titleพัฒนาฐานข้อมูลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนาen_US
dc.title.alternativeDeveloping Database and Electronic Book for cultural heritage learning in the context of Buddhismen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0051แม่ชีกฤษณา.pdf11.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.