Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1146
Title: พุทธนวัตกรรมในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน
Other Titles: Buddhist Innovation for Developing the Learning of Children and Youth
Authors: ชัยวรมันกุล, โยตะ
ชัยวรรณ์, สุพัฒน์
วรินฺโท (อินทะโพธิ์), พระมหาวีรธิษณ์
คำชูสงข์, ผจญ
หอมทวนลม, ธวัช
Keywords: พุทธนวัตกรรม
การพัฒนาการเรียนรู้
เด็กและเยาวชน
Issue Date: 2564
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบพุทธนวัตกรรมในพัฒนา การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในสังคมไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบพุทธนวัตกรรมในพัฒนาการเรียนรู้ ของเด็กและเยาวชนมัธยมศึกษาทั้ง IQ และ EQ (ปัญญาและอารมณ์) ในจังหวัดนครปฐม 3) เพื่อสร้างรูปแบบพุทธนวัตกรรมในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน สำหรับพระธรรมทายาท ใน จังหวัดนครปฐม คณะผู้วิจัยได้กำหนดใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) จำนวนนักเรียนในแต่ละโรงเรียนทั้งหมด 5 โรงเรียน มีดังนี้ 1) โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา 2) โรงเรียนปรีดารามวิทยาคม 3) โรงเรียนนาคประสิทธิ์ 4) โรงเรียนหอมเกร็ด และ 5) โรงเรียนวัดท่าพูด (นครผลประซานุกูล) รวมทั้งสิ้น 5,703 คน และสุ่มตัวอย่างด้วยตาราง สุ่ม ตัวอย่างของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง 375 คน, การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการร่วมกิจกรรมกับฝ่ายสงฆ์, ฝ่ายฆราวาส และกลุ่มเป้าหมาย ทำการเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับ ผู้ให้ข้อมูลฝ่ายพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่พระ สอนศีลธรรม พระวิปัสสนาจารย์ และผู้ช่วยเจ้าอาวาส, ฝ่ายครูที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้อง ประธานนักเรียน ที่เป็นตัวแทนนักเรียนจำนวน 20 คน/รูป และการประชุมกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) กลุ่มฝ่าย พระสงฆ์ กลุ่มประธานนักเรียน และกลุ่มนักกิจกรรม get up teacher ทั้งสิ้นจำนวน 11 คน/รูป และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ชุดกิจกรรม การฝึกอบรม เด็กและเยาวชน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน จากโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา โดยคัดเลือกจาก 1 ใน 5 โรงเรียน โดยวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานได้ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (x̄) และการหาสวน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สำหรับอธิบายข้อมูลในกิจกรรมก่อนและหลังด้วยสถิติ paried t test โดย ใช้วิธีวัดผลกิจกรรมก่อนและหลัง ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษารูปแบบพุทธนวัตกรรมในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในสังคมไทย พบว่า ส่วนใหญ่นักเรียนในภาพรวมมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ได้ให้คะแนนในระดับสูง 55.7 รองลงมา คือ ระดับปานกลาง 40.8 และระดับต่ำ 3.5 และการแบบประเมินความคิดเห็นต่อพัฒนา รูปแบบพุทธนวัตกรรมในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนมัธยมศึกษาทั้ง IO และ EQ (ปัญญา และอารมณ์) พบว่า ส่วนใหญ่นักเรียนในภาพรวมมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ได้ให้คะแนนในระดับ ปานกลาง 58.4 รองลงมา คือ ระดับสูง 36.3 และระดับต่ำ 5.3 และสามารถอธิบายแบบประเมิน ความคิดเห็นต่อพัฒนารูปแบบพุทธนวัตกรรมในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนมัธยมศึกษาทั้ง IQ และ EQ (ปัญญาและอารมณ์) 2) การพัฒนารูปแบบพุทธนวัตกรรมในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนมัธยมศึกษา ทั้ง IO และ EQ (ปัญญาและอารมณ์) ในจังหวัดนครปฐม พบว่า นวัตกรรมนั้น คือพุทธ คือ พุทธ ศาสนา ในส่วนของนวัตกรรม คือ สิ่งที่เราได้เกิดขึ้นมาจากการเรียนรู้สิ่งใหม่ ผ่านเทคโนโลยี บางก็ใช้ หลักทางวิทยาศาสตร์ และพุทธผสมผสานกันเป็นการทำสิ่งใหม่ๆ ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าเบื่อกับกิจกรรมนั้นๆ โดยเชื่อมโยงกับมิติทางศาสนา, การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนทางด้านปัญญาและอารมณ์ นั้น จะเน้นไปที่ แนวทางการแก้ปัญหาโดยการควบคุมด้วยสมาธิ ส่วนมากเน้นเป็นการจัดกิจกรรม โครงการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและเสริมความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์กับเด็ก ซึ่งจะใช้เทคนิค ต่างกัน เช่นการเล่นเกม walk really mine mapping เป็นต้น, แนวทางของกกิจกรรมของพุทธ นวัตกรรมรูปแบบใหม่ จะเป็นการนำสื่อต่างๆ ให้เด็กเกิดความสนใจ มีกิจกรรมให้ทำและไม่รู้สึกว่าน่า เบื่อ เหมาะสมกับวัยและเหตุการณ์ในปัจจุบัน และการพัฒนาจิตอาสาเกี่ยวกับพุทธนวัตกรรมเด็กและ เยาวชน ส่วนใหญ่เป็นการจัดกิจกรรมโดยเน้นจิตอาสา อาจมีการให้ความรู้ต่างๆ การทำประโยชน์ ให้กับทางโรงเรียน การสวดมนต์ไหว้พระ และการทำประโยชน์นอกโรงเรียน 3) สร้างรูปแบบพุทธนวัตกรรมในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน สำหรับพระธรรม ทายาท ในจังหวัดนครปฐม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน 30 คน โดยการเปรียบเทียบค่า paired t-test ทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมตามรายข้อ พบว่า แต่ละข้อที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วม กิจกรรมพุทธวัตกรรมในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน แต่ละข้อของนักเรียนทั้งก่อนและ หลังเข้าร่วมกิจกรรมนั้นะแนนทั้ง 20 ข้อ ทุกข้อมีการผลที่ออกมาแตกต่างกันทุกข้อแสดงให้เห็นว่าก่อน และหลังเข้ากิจกรรมนักเรียนมีการพัฒนาตนเอง มีทัศนคติที่ดี และเป็นมีการเรียนรู้และแนวทางชีวิตที่ดี ขึ้น ยกเว้นข้อที่ 3 กิจกรรมนี้ทำให้เข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา และข้อที่ 4 กิจกรรมนี้ทำ ให้ข้าพเจ้ารู้จักการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ที่ไม่มีความแตกต่างกันมากทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1146
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0050โยตะ ชัยวรมันกุล.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.