Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1142
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชยวุทฺโฆ (ถิ่นแถว), พระปรัชญา-
dc.contributor.authorพระครูสาธุกิจโกศล-
dc.contributor.authorปัญญาเอก, เกษศิรินทร์-
dc.date.accessioned2023-07-10T04:04:03Z-
dc.date.available2023-07-10T04:04:03Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1142-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง "การศึกษาประวัติศาสตร์และกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนปราสาท ขอมในจังหวัดสุรินทร์" มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนปราสาทขอม ในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษากิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทชอมในจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ งานวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเป็น ลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนปราสาท ขอม จำนวน 26 คน โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับประวัติและกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนปราสาท ขอมในจังหวัดสุรินทร์ รวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ประวัติความเป็นมาของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ จากหลักฐาน โบราณคดีที่ขุดพบในพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ยังพบแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของชุมชนโบราณยุคโลหะ ตอนปลายเป็นจำนวนมากแสดงถึงความเจริญรุ่งเรื่องทั้งศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ และการปกครอง และปราสาทหินที่เก่าแก่ที่สุดและมากที่สุดในประเทศไทย ที่สร้างมา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "อาณาจักรเจนละ ปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่ามีจำนวน 39 แห่ง ใน 15 อำเภอ ที่ปรากฏว่ามีปราสาทขอมตั้งอยู่ ได้แก่ อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอกาบเชิง อำเภอปราสาท อำเภอบัวเชด อำเภอศีขรภูมิ อำเภอจอมพระ อำเภอท่าตูม อำเภอ สังขะ อำเภอพนมดงรัก อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอรัตนบุรี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอลำดวน อำเภอสำโรงทาน และอำเภอสนม ซึ่งในแต่ละแห่งมีสภาพของตัวอาคารและพื้นที่ๆ แตกต่างกัน บาง แห่งสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ก็มีหลายแห่งที่สภาพของปราสาทได้ชำรุดอย่างมากและยังไม่มีการ บูรณะ ปราสาทขอมบางแห่งมีเพียงเศษหินศิลาแลงและชิ้นส่วนไม่กี่ชิ้นที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็น โบราณสถาน 2. กิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ จากการศึกษา พบว่าปราสาทขอมมีจำนวน 12 แห่งเท่านั้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และชุมชน สนับสนุนให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ปราสาทขอม โดยนิยมจัดในรูปแบบของการบวงสรวงสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ และการแสดงแสง สี เสียง เล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาและตำนานที่เกี่ยวกับปราสาท ขอมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กำหนดจัดขึ้นตามกรอบระยะเวลา เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมา ท่องเที่ยวจึงต้องมาในช่วงที่มีการจัดกิจกรรมโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น เพราะกิจกรรมที่ สามารถทำได้ในพื้นที่ชุมชนปราสาทขอมมีกิจกรรมที่จำกัด ซึ่งสามารถทำได้เพียงการถ่ายภาพคู่กับ ปราสาท การศึกษาประวัติของปราสาทแห่งนั้นๆ และมีบางแห่งที่สามารถเลือกซื้อสินค้าที่มาขายใน บริเวณปราสาทได้ ซึ่งปราสาทขอมทั้ง 12 นั้นได้แก่ ปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทช่างปี ปราสาทบ้าน อนันต์ ปราสาทภูมิโปน ปราสาทบ้านจารย์ ปราสาทหมื่นชัย ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย ปราสาทเบง ปราสาทยายเหงา ปราสาทตามอญ ปราสาทตระเปียงเตีย เป็นต้น ที่สามารถต่อยอด กิจกรรมในพื้นที่และสร้างเศรษฐกิจในชุมชนต่อไป 3. การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ จากข้อจำกัดใน หลายๆด้านทั้งพื้นที่ และความสมบูรณ์ของตัวปราสาทขอมเอง ส่งผลให้ความน่าสนใจของตัวปราสาท ขอมมีน้อยลง การจัดการท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ยังคงเป็นหน่วยงานหลักคือสำนักศิลปากรที่ 10 (นครราชสีมา) กรมศิลปากร เป็นเจ้าของพื้นที่ในการบริหารจัดการและจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่ด้วยจำนวนของปราสาทขอมทั้งที่ขึ้นทะเบียนแล้วและยังไม่ขึ้นทะเบียนมี ประมาณ 39 แห่งนั้น ก็เกินขีดความสามารถของสำนักศิลปากรที่ 10 (นครราชสีมา) กรมศิลปากร บางแห่งจึงได้มอบหมายหน่วยงานองค์การปกครองในท้องถิ่นที่มีขีดความสามารถในการช่วย บำรุงรักษาและสามารถมาช่วยในการบริหารจัดการขั้นต้นเพื่อดูแลพื้นที่ปราสาทขอม จากข้อจำกัด ข้างตัน ในจังหวัดสุรินทร์จึงมีปราสาทขอมเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว ชั้นนำของจังหวัดได้ ซึ่งก็มีข้อจำกัดในหลายๆด้าน เช่น สถานที่ตั้งที่อยู่ห่างไกล สิ่งอำนวยความ สะดวกด้านการท่องเที่ยว การบริการในพื้นที่ปราสาท เป็นต้น โดยปราสาทขอมที่มีศักยภาพโดดเด่น ประกอบไปด้วย กลุ่มปราสาทตาเมือน ปราสาทตาควาย ปราสาทศีชรภูมิ ปราสาทภูมิโปน ปราสาท บ้านพลวง ปราสาททนง ปราสาทบ้านไพล ปราสาทยายเหงา ที่ยังคงความสวยงามและสมบูรณ์อยู่ หากได้รับการพัฒนาต่อจะได้รับความสนใจจากกลุ่มนักท่องเที่ยวเฉพาะที่มีความสนใจเกี่ยวกับ ปราสาทขอม ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวเหล่านี้คือกลุ่มเฉพาะที่มีจำนวนไม่มากนักen_US
dc.subjectการศึกษาen_US
dc.subjectประวัติศาสตร์en_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectชุมชนปราสาทขอมen_US
dc.subjectจังหวัดสุรินทร์en_US
dc.titleการศึกษาประวัติศาสตร์และกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนปราสาทขอม ในจังหวัดสุรินทร์en_US
dc.title.alternativeHistorical Study and Tourism Activities at Prasat Khmer Community in Surin Provinceen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0044พระปรัชญา.pdf18.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.