Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1141
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มหาปญโญ, พระมหาทวี | - |
dc.contributor.author | วงศ์ชูแก้ว, แม่ชีเบญจวรรณ | - |
dc.contributor.author | อุ่นเจ้าบ้าน, วิไลพร | - |
dc.contributor.author | วรวงศ์พิสิฐกุล, คชาภรณ์ | - |
dc.contributor.author | ทองประยูร, พชรวีร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-07-10T03:26:21Z | - |
dc.date.available | 2023-07-10T03:26:21Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1141 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลวัดท่องเที่ยว และวัดปฏิบัติธรรมในเมืองรอง 55 จังหวัด 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาสารสนเทศเพื่อสร้างฐานข้อมูล วัดท่องเที่ยวและวัดปฏิบัติธรรมในเมืองรอง 55 จังหวัด 3) เพื่อสร้างฐานข้อมูลสำหรับส่งเสริมการ ท่องเที่ยววิถีพุทธในเมืองรอง 55 จังหวัด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงเอกสาร (Documentary Rescarch) คุณภาพ (Qualitative Rescarch) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Reseach) ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ประกอบด้วย บุคลากรในแหล่งท่องเที่ยวเป้าหมาย ได้แก่ เจ้าอาวาสหรือผู้ดูแลสถานที่วัดท่องเที่ยว 55 แห่งและวัด ปฏิบัติธรรม 24 แห่ง ในเมืองรอง 55 จังหวัด จำนวน 79 รูป/คน ผู้เชี่ยวซาญจากหน่วยงานในภาค ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวิถีพุทธในประเทศไทย 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Intenview) แบบสนทนากลุ่ม (Focus Group) ชุดปฏิบัติการวิจัย/ ชุดกิจกรรม และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับข้อมูลที่ได้จากเอกสารนำมาวิเคราะห์โดยใช้ วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และการ สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม นำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา สรุปผลการวิจัยตามหลักอุปนัยวิธี ผลการศึกษาพบว่า วัดท่องเที่ยว 55 แห่งและวัดปฏิบัติธรรม 24 แห่ง ในเมืองรอง 55 จังหวัด จำนวน 79 สถานที่ จัดได้ว่าเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนานและทรงคุณค่า ภายในวัดมีศิลปกรรมที่เป็น จุดเด่นที่นำสนใจ เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น บางแห่งมี โบราณสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่น และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ วัดเป็นสถานที่ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น สวดมนต์ ไหว้พระขอพร ทำบุญตักบาตร วันบูรพาจารย์ และการ ทำบุญตามประเพณีในวันสำคัญทางศาสนา นอกจากนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ดึงดูดใจ นักท่องเที่ยว เช่น วัฒนธรรมหรือประเพณีท้องถิ่นประจำปี วิถีชีวิตของชุมชนโดยรอบ ความสมบูรณ์ ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการระบบนิเวศภายในและพื้นที่โดยรอบ นอกจากนี้วัดหลาย แห่งจัดเป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม ซึ่งถือได้ว่าวัดในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดนี้มีศักยภาพที่เหมาะสม ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีคุณสมบัติที่เข้ากับองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5 ประการ คือ ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) กิจกรรม (Activities) การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (Ancillary Service) ให้สูงขึ้น วัดท่องเที่ยว 55 แห่ง และวัดปฏิบัติธรรม 24 แห่ง ในเมืองรอง 55 จังหวัด จำนวน 79 สถานที่ ได้ถูกจัดแบ่งกลุ่มออกเป็นเส้นทางท่องเที่ยวตามจุดเด่นและความน่าสนใจที่คล้ายคลึงกัน 5 เส้นทาง ดังนี้ 1. สายโบราณสถาน/วัตถุ (หรือพุทธศิลป์) 2. สายศิลปกรรมร่วมสมัย 3. สายศาสน สถาน /ศาสนธรรม 4. สายศาสนวัตถุ/ศาสนบุคคล 5. สายประเพณีวัฒนธรรมและอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้รับคุณค่าจากการท่องเที่ยวตามเส้นทางเหล่านี้คือ คุณค่าที่เป็นรูปธรรม (มิติเชิง สันทนาการ) ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน ในการชื่นชมสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่เป็นศาสน สถานทางพระพุทธศาสนา ความสุขความอิ่มใจจากการไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความสดชื่นสบาย ใจจากการสัมผัสกับธรรมชาติ คุณค่าที่เป็นนามธรรม (มิติเชิงการเรียนรู้และการปฏิบัติธรรม) เป็น การทัศนศึกษาแบบบูรณาการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ในด้านประเพณี วัฒนธรรม กิจกรรมสำคัญทาง ศาสนา ความเชื่อและหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนาเพื่อให้เข้าใจ เรื่องความทุกข์และการดับทุกข์ อันนำไปสู่ความสงบและสันติภายในใจ เป็นการพัฒนาคุณภาพจิตใจ ฐานข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ซึ่งประกอบด้วยวัดท่องเที่ยว 55 แห่งและวัดปฏิบัติ ธรรม 24 แห่ง ในเมืองรอง 55 จังหวัด จำนวน 79 สถานที่ ถือเป็นระบบฐานข้อมูลกลางที่สามารถ อำนวยประโยชน์แก่หน่วยงานต่าง ( เช่น หน่วยงานการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หน่วยงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา หน่วยงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงหน่วยงานส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ในด้านต่างๆดังนี้ ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ: การสืบคั้นแบบออนไลน์ผ่าน Website ทำให้สะดวกรวดเร็วและประหยัดต้นทุน เป็นการขยายตลาดด้านการท่องเที่ยวออกไปอย่าง กว้างขวางทั่วโลก เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในระดับประเทศ ประโยชน์ด้านสังคม: เป็นฐานข้อมูลสำหรับหน่วยงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และผู้ที่สนใจ ทั่วไป เพื่อการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาในหลักคำสอน ความเชื่อ การปฏิบัติธรรม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น โดยผ่านทางการท่องเที่ยววิถีพุทธ ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม: สามารถนำฐานข้อมูลใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชน เมืองรองในแหล่งพื้นที่เป้าหมายให้สอดคล้องกับการท่องเที่ยววิถีพุทธ ประโยชน์ด้านการนำรายได้: ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวจากที่ต่างๆทั่วโลกสามารถเดินทางมาถึงแหล่งท่องเที่ยว เป้าหมายด้วยความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งหมายถึงการนำรายได้จากการท่องเที่ยวเข้าสู่ท้องถิ่นโดยตรง และขยาย ไปสู่ภูมิภาคและประเทศโดยรวม นอกจากนี้ข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไป เป็นแนวทางการ พัฒนาพื้นที่และการประชาสัมพันธ์ให้กับวัดต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธที่ ได้มาตรฐานต่อไปในอนาคต | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ฐานข้อมูล | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยววิถีพุทธ | en_US |
dc.subject | เมืองรอง | en_US |
dc.subject | 55 จังหวัด | en_US |
dc.title | พัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการท่องเที่ยววิถีพุทธในเมืองรอง 55 จังหวัด | en_US |
dc.title.alternative | Development of 55 Thailand Sub-Provinces Database for Smart Buddhist Tourism | en_US |
Appears in Collections: | ส่วนหอสมุดกลาง |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
0025พระมหาทวี มหาปญฺโญ.pdf | 39.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.