Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/114
Title: | การศึกษาโครงสร้างคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรคในแง่ของศีลและพรต |
Authors: | พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ผศ.ดร. |
Keywords: | การวิเคราะห์ การตีความ ธรรม ธรรมะ |
Issue Date: | 10-Oct-2020 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น |
Citation: | ารสารวิชาการ วารสารเซนต์จอห์น, ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๙ (กรกฎาคม-ธันวาคม) |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างของคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค 2) เพื่อวิเคราะห์ศีลและพรตที่ปรากฏในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรคตามหลักพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบศีลและพรตในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ บุคคลในสังคมให้ดีงามและสงบสุขยิ่งขึ้น การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ผลการศึกษาวิจัย มีดังนี้: คัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีพระสูตร 13 สูตร เกี่ยวด้วยศีลและพรต ที่กล่าวถึงโดยตรง ได้แก่ พรหมชาลสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกว่าด้วยศีล 3 ขั้น จูฬศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล ต่อจากนั้น กล่าวถึง ลัทธิทรรศนะหรือทิฏฐิ 62 ซึ่งอาจสรุปลงเป็น 2 คือ สัสสตทิฏฐิ ทรรศนะว่าโลกเที่ยง และอุจเฉททิฏฐิ ทรรศนะว่าโลกขาดสูญ คือ มีเพียงโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า เมื่อทุกคนยึดถืออย่างนี้ย่อมนำไปสู่การบำเพ็ญศีลพรต ตามความเชื่อของตน ไม่ว่าจะเป็นด้านอัตตกิลมถานุโยคหรือกามสุขัลลิกานุโยค ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ เป็นอาภรณ์ของนักบวช และเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา ปสาทะของมหาชน พระพุทธเจ้าจึงทรงเข้มงวดเรื่องศีลมาตั้งแต่แรกเริ่มก่อนที่จะได้ทรงบัญญัติสิกขาบท ตามทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ศีล 3 ระดับ เกี่ยวด้วยศีล 5 และศีล 8 ในเบื้องต้น และต่อมาครอบคลุมเรื่อง อเนสนา คือ งดเว้นจากการแสวงหาหรือการประกอบอาชีพ ที่ไม่สมควรแก่สมณวิสัย เช่น การเป็นโหร ทำนายทายทัก การประกอบพิธีกรรมนอกพระพุทธศาสนา การทรงเจ้าเข้าผี การประทุษร้ายผู้อื่นและ หลอกลวงเขาหากิน แม้แต่การบำเพ็ญพรตต่าง ๆ ของนักบวชนอกพระพุทธศาสนาบางจำพวกก็เป็นไป เพื่อหลอกลวงชาวโลกทั้งสิ้น สังคมไทยปัจจุบันเป็นที่ปรากฏอยู่เสมอว่า มีภิกษุสงฆ์ส่วนน้อยไม่เอื้อเฟื้อในพระธรรมวินัย ละเมิด ศีลเป็นประจำ เที่ยวไปในสถานที่อโคจร ประกอบในอเนสนากรรม และมีส่วนเกี่ยวพันกับคดีอาญา เช่น การประทุษร้ายผู้อื่นและคดียาเสพติดอยู่เนือง ๆ เป็นที่ตำหนิติเตียนของชาวบ้านและสื่อมวลชน จากการสัมภาษณ์ท่านผู้ทรงคุณวุฒิทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ 15 ท่าน ทำให้ได้ข้อสรุปว่า เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ ทุกระดับ ต้องเข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรในสังกัดของตนให้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีสมณสัญญา มีหิริโอตตัปปะ ไม่ประพฤติอนาจารหรือการประกอบอเนสนากรรม ไม่ละเลยกิจวัตรของสงฆ์ เอื้อเฟื้อ การศึกษาพระธรรมวินัย บำเพ็ญพรตกรรมฐานและธุดงควัตรตามกำลังความสามารถ ยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทา ในการครองชีวิต ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า |
Description: | พระไตรปิฎก เป็นแหล่งประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย 3 หมวด ฉบับพิมพ์ด้วย อักษรไทย ทั้งฉบับภาษาบาลีและภาษาไทยมีชุดละ 45 เล่ม แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ได้แก่ หมวด พระวินัย คือ ประมวลสิกขาบทสำหรับภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ มี 8 เล่ม พระสุตตันตปิฎก ได้แก่ หมวดพระสูตร คือ ประมวลพระธรรมเทศนา คำบรรยายและเรื่องเล่าต่าง ๆ อันยักเยื้องตามบุคคล และโอกาส มี 25 เล่ม และพระอภิธรรมปิฎก ได้แก่ หมวดอภิธรรม คือ ประมวลหลักธรรมและ คำอธิบายในรูปหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยเหตุการณ์และบุคคล มี 12 เล่ม (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), 2553: 87-88) ในส่วนพระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมอันสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับบุคคลโดยทั่วไป จัดพิมพ์เป็น 25 เล่มนั้น เล่มแรก (นับเป็นเล่มที่ 9 ในชุดพระไตรปิฎก) ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวรรค คือ ตอนที่ว่าด้วยกองศีล มี 13 พระสูตร เป็นวรรคแรกของทีฆนิกาย นับว่าสำคัญมาก คำว่า “ศีล” แปลว่า ปกติ สงบเย็น ในทางปฏิบัติหมายถึง การงดเว้นจากการประพฤติผิดทางกายและวาจา การควบคุมกายวาจาให้เรียบร้อยงดงาม ให้ปราศจากความมัวหมอง ไม่ให้ผิดปกติธรรมดา กล่าวคือ การไม่ทำผิด ไม่พูดผิด ไม่ประพฤติผิด จัดเป็นศีล ศีลมีหลายระดับ ระดับต้นคือ นิจศีลหรือศีล 5 เป็นศีลของคนทั่วไป ระดับกลางคือ ศีล 8 ของอุบาสกอุบาสิกา และศีล 10 ของสามเณร ระดับสูง คือ ศีล 227 ของภิกษุ และศีล 311 ของภิกษุณี ศีลเป็นเหตุให้คนอยู่กันเป็นปกติ ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ฆ่ากัน ไม่ลักขโมยกันและกัน เป็นต้น ทำให้เกิดความสงบสุขในสังคม และจัดเป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า สีลมัย บุญที่เกิดจากการรักษาศีล คือ เมื่อรักษาศีลก็ชื่อว่าได้บุญ (พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), 2548: 966) |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/114 |
ISSN: | 0859-9432 |
Appears in Collections: | บทความ (Articles) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
การศึกษาวิเคราะห์การตีความเรื่อง ธรรม.pdf | 486.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.