Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/113
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, ผศ.ดร. | - |
dc.date.accessioned | 2021-07-29T01:33:32Z | - |
dc.date.available | 2021-07-29T01:33:32Z | - |
dc.date.issued | 2017-06-27 | - |
dc.identifier.issn | 0859-9432 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/113 | - |
dc.description | พระพุทธศาสนา ไม่ได้แยกสิ่งที่เรียกว่า “โลก” กับ “ธรรม” ออกจากกันอย่างชัดเจน ไม่ว่า จะโดยหลักธรรมหรือโดยประเพณี หลักธรรมในพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนแต่เรื่องทำจิตให้พ้นทุกข์ อย่างเดียว หากยังครอบคลุมเรื่องทางโลก เช่น สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพสุจริต (ที.ม. (ไทย) 10/402/336) โภควิภาค การใช้สอยทรัพย์ให้เหมาะสม (ที.ปา. (ไทย)11/265/212) จนถึงการเมืองการปกครองเพื่อให้เกิดสังคมที่สงบสุขตามจักรวรรดิวัตร (ที.ปา. (ไทย) 11/84/62) การปฏิบัติธรรมในขั้นการฝึกจิตหรือการทำสมาธิภาวนานั้น ต้องอาศัยปัจจัยทางโลก เช่น อาหาร ที่อยู่ อันสงบวิเวก ฉันใด การทำมาหากินจนถึงการปกครองซึ่งถือว่าเรื่องทางโลก ก็จำเป็นต้องมีธรรมกำกับ เพื่อให้เกิดความสงบสุขในชีวิตและสังคม ฉันนั้น โดยจุดหมายขั้นสุดท้ายของกิจกรรมทางโลกต้องเป็น ไปเพื่อความเจริญงอกงามของธรรมด้วย ดังนั้นโลกกับธรรมแยกออกจากกันมิได้ (พระไพศาล วิสาโล, 2544) พุทธทาสภิกขุ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา มีวิธีคิดและตีความ คำว่า “ธรรม” กับ “โลก” นั้น ในอีกปริยายหนึ่งโดยมองว่า ถ้ามองกันในส่วนลึกแล้ว เป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ถ้าปราศจากธรรมแล้วโลกก็ไม่เป็นโลก จะสลายไปก่อนหน้านี้ (พุทธทาสภิกขุ, มปป. : 14) | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการตีความคำว่า “ธรรม” ของพุทธทาส ภิกขุ 2) เพื่อวิเคราะห์การตีความคำว่า “ธรรม” ของพุทธทาสภิกขุ และ 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลต่อแนวคิด ด้านวิชาการและผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า การตีความพระธรรมวินัยมีมาแต่ครั้งพุทธกาลเห็นได้จาก 2 คัมภีร์ คือ เนตติปกรณ์ และเปฏโกปเทส ซึ่งรจนาโดยพระมหากัจจายนเถระใช้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เนตติปกรณ์นั้นแต่งอธิบาย ความในพระไตรปิฎก เน้นการวิเคราะห์ โดยการนำข้อความจากพระสูตรมาอธิบายตามหลักภาษาและแจก องค์ธรรมตามหลักพระอภิธรรมอย่างละเอียด ส่วนเปฏโกปเทส เป็นคัมภีร์แสดงวิธีอธิบายปรมัตถธรรมและ ความหมายของธรรมะแต่ละอย่าง ๆ แล้วนำมาอธิบายรวม พุทธศตวรรษที่ 10 ยุคของพระอรรถกถาจารย์มีพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นต้น รจนาคัมภีร์อรรถกถา พระไตรปิฎก ก็ได้มีการอธิบายขยายความธรรมะ โดยยึดหลัก 2 ประการคือ การอธิบายศัพท์ให้เข้าใจ และ การอธิบายความหมายของธรรมะในบริบทนั้น ๆ ให้เข้าใจ เป็นไปตามลำดับของเนื้อหาในพระไตรปิฎก และ ยังมีปกรณ์วิเสส เช่น วิสุทธิมรรคที่แต่งอธิบายหลักธรรมโดยอ้างอิงความถูกต้องจากพระพุทธพจน์ใน พระไตรปิฎก ส่วนที่เป็นอัตโนมตินี้มีน้อยมาก ยกเว้นเรื่องพระวินัยปิฎกในส่วนพระสูตรและพระอภิธรรม เป็นการขยายความให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น พุทธทาสภิกขุ ตีความความหมายของ “ธรรมะ” เป็น 4 อย่าง คือ 1) ธรรมะในฐานะธรรมชาติ หมายถึง สภาวธรรมทั้งที่เป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรม และที่เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม หรืออัพยากฤต ธรรม 2) ธรรมะในฐานะกฎธรรมชาติ หมายถึงสัจธรรมที่เป็นกฎธรรมชาติควบคุมสรรพสิ่ง เช่น อิทัปปัจจยตาและไตรลักษณ์ เป็นต้น 3) ธรรมะในฐานะหน้าที่อันมนุษย์จะต้องทำตามกฎธรรมชาติ หมายถึงภาวะหน้าที่ที่ มนุษย์ต้องปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีพอยู่อย่างเหมาะสม เช่น อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นต้น อันเป็นการปฏิบัติธรรม และ 4) ธรรมะในฐานะผลที่จะได้รับตามหน้าที่ที่มนุษย์ต้องปฏิบัติตามธรรมชาติ ถือเป็นปฏิเวธธรรม ซึ่งเป็น จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาได้แก่ มรรค ผล นิพพาน จุดเด่นแห่งคำสอนของพุทธทาสภิกขุคือเรื่องตถตา อิทัปปัจจตา และสุญญตา โดยเฉพาะเรื่อง สุญญตาหรือ “จิตว่าง” ท่านเน้นมากกับการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้มีจิตว่างเท่ากับเข้าถึงพระนิพพานได้ชั่วขณะหนึ่ง นอกจากนี้ ท่านเน้นเรื่องนิพพานในชาตินี้ ซึ่งได้รับอิทธิพลแนวคิดจากมหายานในนิกายเซน จากการที่ท่าน แปลหนังสือพระสูตรของเว่ยหล่าง และคำสอนของฮวงโป ด้วยเหตุนี้จุดเน้นจึงอยู่ที่สุญญตา ในเชิงปฏิบัติ แนวคิดการตีความธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุมีอิทธิพลต่อวงวิชาการ ตลอดถึง การนำไปใช้ในสังคมไทย เช่น เรื่องการศึกษาและธัมมิกสังคม เพื่อพัฒนาให้สังคมเป็นสังคมแห่งปัญญาที่มี ความรู้คู่คุณธรรมให้เข้าใจและปฏิบัติธรรมะอย่างถูกต้องได้รับผลสูงสุดเป็นมรรค ผล นิพพาน | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น | en_US |
dc.relation.ispartofseries | ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒๗ (กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐); | - |
dc.subject | การวิเคราะห์ การตีความ ธรรม ธรรมะ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์การตีความคำว่า “ธรรม” ของพุทธทาสภิกขุ | en_US |
dc.type | Article | en_US |
Appears in Collections: | บทความ (Articles) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
การศึกษาวิเคราะห์การตีความเรื่อง ธรรม.pdf | 486.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.