Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1139
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชนะชัย, พระมหาบุญสุข-
dc.contributor.authorพรรษา, บุญมี-
dc.contributor.authorแพงคำรัก, วีระพงษ์-
dc.contributor.authorพงษ์สวัสดิ์, พระมหาสันทัศน์-
dc.date.accessioned2023-07-10T03:07:36Z-
dc.date.available2023-07-10T03:07:36Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1139-
dc.description.abstractแผนการศึกษาวิจัยเรื่อง "การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ " เกิดจากในปัจจุบันพระภิกษุสามเณรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องมีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ เนื่องด้วยวัด อาราม ต่าง ๆ เป็นที่สนใจของ ชาวต่างชาติและทางรัฐบาลไทยในปัจจุบันมีนโยบายให้วัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนั้น มัคคุเทศก์ที่เข้าใจในด้านพระพุทธศาสนาหรือเป็นเจ้าของสถานที่ดีที่สุดก็คือพระภิกษุสามเณรผู้อาศัย อยู่ในวัดหรืออารามนั้น วัตถุประสงค์หลักของแผนการวิจัย คือ 1) พัฒนาคู่มือการจัดเรียนรู้ ภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร 2) พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณร 3) พัฒนารูปแบบสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสารสำหรับพระภิกษุสามเณร และ 4) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและความพึงพอใจในการใช้ทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงปริมาณ การ วิจัยเชิง และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยตัวแทนพระสงฆ์จำนวน 25 วัด รวมประชากรกลุ่มตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 320 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาการพัฒนาคู่มือการขัดเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า ความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.39 ซึ่งตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก, ความคิดเห็นและระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ สำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า ความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.39 ซึ่ง ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก, การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทดสอบก่อนใช้คู่มือ สื่อการจัดการเรียนรู้และหลังการใช้คู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุ สามเณร พบว่า พระภิกษุสามเณร ในโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษามีผลการทดสอบก่อนการ ใช้คู่มือสื่อการเรียนรู้และหลังการใช้คู่มือสื่อการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 2) ผลการศึกษาการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า พระภิกษุสามเณร มีความต้องการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 71.6 และไม่ต้องการใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 28.4 ตามลำดับ, การเปรียบเทียบการทดสอบก่อนและหลังการอบรมถวายความรู้ให้กับพระภิกษุสามเณรที่ กำลังศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา พบว่า พระภิกษุสามเณรที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา มีผลการทดสอบก่อนการถวายการอบรมและหลังการถวายการอบรมภาษาอังกฤษ แตกต่างกัน อย่าง มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05, กระบวนการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพระภิกษุสามเณรในวัดอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเขตจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.29 ซึ่งตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก 3) ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับ พระภิกษุสามเณร พบว่า ความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.29 ซึ่งตาม เกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก, ผลสัมฤทธิ์สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร การเปรียบเทียบการทดสอบก่อนการใช้สื่อการเรียนการสอนและหลังการสื่อการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า พระภิกษุสามเณร ในโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญ ศึกษามีผลการทดสอบก่อนการใช้สื่อการเรียนการสอนและหลังการสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สำหรับพระภิกษุสามเณร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 4) ผลการศึกษาการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและความพึงพอใจในการใช้ทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ (1) การไม่มีเวลาฝึกฝน ในการพูดภาษาอังกฤษ ขี้เกียจฝึกฝน ไม่ซ้อมพูด ไม่ตั้งใจ ไม่มุมานะอดทนเพียรพยายามในการพูด ภาษาอังกฤษ (2) การยึดติดกับความเคยชินตั้งแต่ตั้งเดิม เกิดจากการเขินอาย ไม่กล้าที่ จะทำ ไม่กล้า พูด ไม่กล้าออกเสียงสำเนียงให้เหมือนฝรั่งกลัวออกเสียงผิด (3) การไม่รู้ (4) การไม่รู้ไวยากรณ์ (5) การไม่ได้พูดมานานแล้วลืม, ความพึงพอใจในการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา พบว่า ความพึงพอใจของพระภิกษุสามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.40 ซึ่งตาม เกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจในการใช้สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับ พระภิกษุสามเณร พบว่า ความพึงพอใจของพระภิกษุสามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.44 ซึ่งตาม เกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : การพัฒนา, ยุคโลกาภิวัตน์, ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการใช้ภาษาอังกฤษen_US
dc.subjectการเผยแผ่พระพุทธศาสนาen_US
dc.subjectยุคโลกาภิวัตน์en_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.titleการพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์en_US
dc.title.alternativeDevelopment of Using English for Spreading Buddhism in the Age of Globalizationen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0046พระมหาบุญสุข ชนะชัย.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.