Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1136
Title: กลไกการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน ผ่านมิติศาสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: A Mechanism of Tourism Management in Community by Religions Dimension at Ayutthaya
Authors: ชินว์โส (เฉยประทุม), พระครูวินัยธรเอก
กิตุติโสภโณ (แซ่หลี), พระมหากฤษฎา
จิตาโภ (ประคองสาย), พระปลัดประดิสิษฐ์
Keywords: การบริหารจัดการการท่องเที่ยว
มิติศาสนา
พระนครศรีอยุธยา
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการท่องเที่ยวในชุมชน ผ่านมิติ ศาสนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ศึกษากลไกการท่องเที่ยวในชุมชน ผ่านมิติศาสนาในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน ผ่านมิติ ศาสนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในภาคสนาม โดยใช้ วิธีวิทยาวิจัยการแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถามประกอบการ สัมภาษณ์ (Inter-view Guideline) และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย ตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการท่องเที่ยวในชุมชน ผ่านมิติศาสนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ปัญหาในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ เนื่องจากพื้นที่ใช้สอยสาธารณะมีน้อย คนในชุมชนไม่ให้ ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นองคาพยพ ทำให้เกิดปัญหาสถานที่คับแคบ ไม่สามารถ ขยายพื้นที่ออกไปได้ ทำให้จำกัดในการจอดรถ การแย่งพื้นที่ทำมาหากินของคนในชุมชน ชุมชนควรมี การวางแผนในการพัฒนาชุมชน สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มี แผนปฏิบัติการประจำปี 2) กลไกการท่องเที่ยวในชุมชน ผ่านมิติศาสนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ PDCA และหลักธรรมในพระพุทธศาสนา หมวดอิทธิบาทธรรม ดังนี้ ด้านการวางแผน ประกอบด้วย เปิด โอกาสให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวร่วมกัน จัดทำแผนพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วน ร่วมของทุกฝ่าย แต่งตั้งคนในชุมชนที่มีความรู้มาช่วยงาน หมั่นประชุมกันเนื่องนิตย์ ด้านการปฏิบัติ ประกอบด้วย คนในชุมชนทำงานอย่างเสียสละ อุทิศตนเพื่อส่วนรวมและชุมชน ดำเนินทุกกิจกรรม ตามแผนที่ได้วางไว้อย่างรัดกุม คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและเกิดเป็นความภาคภูมิใจ ในชุมชน ให้ทุกฝ่ายได้ตรวจสอบผลการทำงานของแต่ละฝ่ายอย่างตรงไปตรงมาและต่อเนื่อง ด้านการ ตรวจสอบ ประกอบด้วย ยอมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนและยินดีที่จะให้ผู้อื่นตรวจสอบผล การดำเนินงานของชุมชนของตนได้ แต่งตั้งคณะกรรมการในการกำกับ ติดตาม และประเมินผลงาน อย่างต่อเนื่อง พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง นำข้อบกพร่องไปปรับปรุงแก้ไข เน้นการมีส่วนร่วมจากทุก ฝ่าย ด้านการปรับปรุง ประกอบด้วย มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน หมั่นพิจารณาปรับปรุงแผนงานที่ดำเนินการไปแล้วมีข้อบกพร่อง มีการบันทึกจุดเด่น จุดด้อย ของ ชุมชน แล้วนำมาพัฒนา เน้นการทำประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชน 3. กลไกการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน ผ่านมิติศาสนา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย 1) กลไกการการจัดสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน ตามหลัก 5 ส ได้แก่ สะอาด ไม่มีขยะ ไม่สกปรก สว่าง ไฟฟ้าสว่างทั่วถึง ไม่มีมุมอับ และปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อ นักท่องเที่ยว สงบ เงียบ ไม่พลุกพล่าน มีมุมสงบ เย็นสบาย สุขลักษณ์ ปราศจากสิ่งปฏิกูล ปลอดภัย และคนในชุมชนสุขภาพดี มีระเบียบวินัย 2) กลไกการจัดกิจกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในชุมชน ผ่านมิติศาสนาในชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย กิจกรรมที่ออกแบบเพื่อให้ นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความรู้สึกผ่านประสาททั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส รูป 3) กลไกการ พัฒนาสมรรถนะของคนในชุมชน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนอย่างยั่งยืน ประ กอด้วยหลัก 4 ส คือ สร้างแรงจูงใจ สร้างอุปนิสัย สร้างบทบาท และสร้างความรู้ความเข้าใจ 4) กลไกการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อรองรับการท่องเที่ยว เช่น จัดสถานที่ท่องเที่ยวอย่าง เหมาะสม จำนวนนักท่องเที่ยวไม่เยอะเกินไป รับเท่าที่สามารถบริหารจัดการได้ ไม่ส่งผลกระทบต่อ สภาพแวดล้อมของชุมชน การสัญจรไปมาสะดวก มีป้ายบอกทางชัดเจน การต้อนรับดี มีแผนก ต้อนรับชัดเจน ให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจในการมาท่องเที่ยว คนในชุมชนเป็นกันเอง มีอาหาร เครื่องดื่ม ของที่ระลึก เพียงพอ อากาศสบาย ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป มีที่ให้พักผ่อน การเดินชมสถานที่สะดวก
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1136
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.