Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1135
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสินทับศาล, ภูวเดช-
dc.date.accessioned2023-07-10T02:41:13Z-
dc.date.available2023-07-10T02:41:13Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1135-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง "คุณค่าความเป็นมนุษย์ : แนวคิดและวิถีปฏิบัติตามหลักพุทธ ปรัชญาและหลักสิทธิมนุษยชน" มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาหลักสิทธิมนุษยชน (2) เพื่อศึกษา กระบวนการส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชนกับการสร้างคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ (3) เพื่อศึกษา วิเคราะห์คุณค่าของความเป็นมนุษย์ตามหลักพุทธปรัชญาและหลักสิทธิมนุษยชนการศึกษาวิจัย ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า หลักสิทธิมนุษยชน คือคุณธรรมสากลที่เน้นคุณค่าความเป็นมนุษย์ โดยถือว่ามนุษย์ ทุกคนมีความเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และมีความเท่าเทียมกันในสิทธิไม่ว่าจะยากดีมีจน พิการ หรือมีความแตกต่างกันทั้งเชื้อชาติ ศาสนา แหล่งกำเนิด เพศ วัย หรือสี่ผิว สิทธิมนุษยชน จึงเป็น วิถีปฏิบัติเพื่อส่งเสริมคุณค่าความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่ติดตัวมา ตั้งแต่เกิด และมีต่อไปจนกว่าจะสิ้นชีวิต แนวคิดและวิถีปฏิบัติตามหลักพุทธปรัชญามีส่วนสำคัญ ในการวางรากฐานแนวคิดในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งต่อมาได้ผ่านกระบวนการสร้างกฎเกณฑ์ของ สังคม กลายเป็นสิทธิทางกฎหมาย ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ ดังปรากฎอยู่ใน บทบัญญัติรัฐธรรมนูญของชาติต่างๆ และในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องสิทธิของ บุคคล หรือสิทธิความเป็นมนุษย์ทุกคนในโลก กระบวนการส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชนกับการสร้างคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่ ระบุ ไว้ในปฏิญญาสากลซึ่งนานาชาติต่างให้การยอมรับประกอบด้วย กระบวนการส่งเสริมสิทธิของ พลเมือง และสิทธิทางการเมือง ซึ่งรวมถึงสิทธิและเสรีภาพในชีวิต และร่างกาย อิสรภาพจากการ เป็นทาส และการถูกทรมาน ความเสมอภาคในทางกฎหมาย การได้รับความคุ้มครอง เมื่อถูก จับกุม กักขัง สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม การมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชน เสรีภาพขั้นพื้นฐานในทางความคิด มโนธรรม และการนับถือศาสนา เสรีภาพในการ แสดงความคิดเห็น การแสดงออก การชุมนุมอย่างสันติถือว่าเป็นกระบวนการส่งเสริมตาม สาระสำคัญของสิทธิมนุษยชน กระบวนการส่งเสริมตามหลักนิติศาสตร์ ต้องมีการปรับปรุง กฎหมาย และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับหลักสิทธิมนุษยชนกระบวนการส่งเสริมตามหลัก รัฐศาสตร์ เพื่อให้ความสำคัญกับคุณค่าความเป็นมนุษย์ ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำความไม่เป็น ธรรม ซึ่งเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การถ่ายทอด นโยบายและคำสั่งจากส่วนกลาง สู่การปฏิบัติในพื้นที่จำเป็นต้องมีระบบการรายงานตรวจสอบ ติดตามประเมินผล และสร้างความรับผิดชอบในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐที่มีประสิทธิภาพ และ กระบวนการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามหลักพุทธปรัชญา เป็นการยกระดับความเป็นมนุษย์ให้ สมบูรณ์และมีคุณค่า โดยการปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรมเมื่อปฏิบัติตามแล้วก็จะพบความสงบสุข และสันติภาพซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของหลักสิทธิมนุษยชนที่ต้องการให้มนุษยชาติมีสันติภาพ เกิดขึ้น ประกอบด้วย(1) หลักเบญจศีลเบญจธรรม (2) หลักฆราวาสธรรม (3) หลักสังคหวัตถุ (๔) หลักพรหมวิหาร และ (5) หลักสัปปุริสธรรม ซึ่งหลักธรรมดังกล่าวมีความสอดคล่องสัมพันธ์ กับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และสอดคล้องสัมพันธ์กับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน คุณค่าของความเป็นมนุษย์ตามหลักพุทธปรัชญาให้ความสำคัญกับคุณคำของทุกๆ ชีวิตมีการกระทำที่สอดคล้องกันระหว่างกาย วาจา และใจ และย้ำให้เห็นเสมอว่า ทั้ง 3 จะต้อง กลมกลืนกันบนพื้นฐานแห่งความดี หรือตามเส้นทางแห่งความถูกต้อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง ความหมายของสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับหลักมนุษยธรรมในฐานะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนที่ตรง จุดและเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ กล่าวคือ (1) กายกรรม คือ การกระทำทางกาย (2) วจีกรรม คือ การกระทำทางวาจา (3) มโนกรรม คือ การกระทำทางใจ หลักสิทธิมนุษยชน กับ หลักพุทธปรัชญาถือได้ว่า เป็นจุดที่ส่งเสริมการพัฒนาปัจเจกภาพของบุคคล ให้เกิดคุณค่าอย่าง ยั่งยืนเน้นการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพทางใจเป็นหลักโดยใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมี เหตุผลพิจารณาให้เห็นว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่กระทำแล้วเป็นสิ่งที่ดีไม่ทำความเดือดร้อนให้คนอื่นสิ่งนั้น ควรกระทำตามหลักมนุษยธรรม ทัศนะทางพุทธปรัชญามีการส่งเสริมหลักสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งหลักคำสอนต่างๆ มุ่งสนับสนุนการกระทำซึ่งสามารถสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นได้ ตามการกระทำ ของตนen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectหลักพุทธปรัชญาen_US
dc.subjectหลักสิทธิมนุษยชนen_US
dc.titleคุณค่าความเป็นมนุษย์ : แนวคิดและวิถีปฏิบัติตามหลักพุทธปรัชญา และหลักสิทธิมนุษยชนen_US
dc.title.alternativeThe Virtue of Humanity: The Concept and the Way of Action In Buddhist Philosophy and Human Righten_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0042ภูวเดช สินทับศาล.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.