Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1134
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแผนสมบุญ, พุทธชาติ-
dc.contributor.authorภูวชนาธิพงศ์, กมลาศ-
dc.date.accessioned2023-07-10T02:35:23Z-
dc.date.available2023-07-10T02:35:23Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1134-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ บริบทครอบครัว และภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ หมู่ที่ 2 บ้านหนองอีเปาะ ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่สมัครใจ เข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการ จำนวน 30 คน สุ่มอย่างง่าย (Random Sampling) แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน ทำการฝึกอบรม จำนวน 3 วัน ในกลุ่มทดลอง และกลุ่ม ควบคุมไม่มีการฝึกอบรม การวิจัยครั้งนี้ออกแบบในลักษณะวัดซ้ำ (Repeated Measure Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของผู้สูงอายุ และ 2) แบบวัด ภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ โดยการวัด 3 ครั้ง คือ ก่อนการอบรม ภายหลังการฝึกอบรม และ ระยะ ติดตามผล 2 เดือน หลังจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร แบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพวิถีชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา รายได้ ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร วิถีชุมชนบ้านหนองอีเปาะเป็นวิถีวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนที่อื่น กล่าวคือ คนที่นี้จะหยุดงาน หรือไม่ทำงาน ในทุกๆ วันพระ และด้วยเป็นชุมชนลาวครั่งมีวิถีที่มีศรัทธาความเชื่อ ผีปูตาเจ้าบ้าน ที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยจะมีพิธีการเลี้ยงผีปูตาเจ้าบ้านในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 7 ของทุกๆ ปี ซึ่งเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมายาวนาน และยังมีความเข้มแข็งสืบทอดมาถึงทุกวันนี้ 2) การพัฒนาการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังผู้สูงอายุ มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 "ทำความเข้าใจในตนเอง...กล้าก้าว" ขั้นตอนที่ 2 "กระฉับกระเฉงทำกิจกรรมส่วนรวมเพื่อ ชุมชน" ขั้นตอนที่ 3 "ขยายผลเพื่อความยั่งยืน" 3) ผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ พบว่าจาก การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับภาวะพฤฒิพลังผู้สูงอายุตามแนวพุทธจิตวิทยาก่อนการอบรม หลังการอบรม และระยะติดตามผลในกลุ่มทดลอง มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ (Post Hoc) พบว่าคู่ที่ต่างกัน คือ ค่าเฉลี่ยความรู้ก่อนการ อบรมแตกต่างจากค่าเฉลี่ยความรู้หลังการอบรมและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพรายด้านและองค์รวมก่อนการอบรม หลัง การอบรม และระยะติดตามผลในกลุ่มทดลอง พบว่าการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพก่อน การอบรม หลังกรอบรมแลระยะติดตามผลในกลุ่มทดลอง ด้านร่างกาย ไม่แตกต่างกัน แต่ พฤติกรรมสุขภาพด้านจิตใจ สังคม ปัญญาและสุขภาพองค์รวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ พฤติกรรมสุขภาพด้านจิตใจ คู่ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ระยะ ติดตามผลแตกต่างกับก่อนการอบรม และหลังการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย พฤติกรรมสุขภาพด้าน สังคม ปัญญาและสุขภาพองค์รวมคู่ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ก่อนการอบรม และ หลังการอบรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และหลังการอบรม ระยะติดตาม ผลแตกต่างกับก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบผลการ เปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ด้านต่างๆ ได้แก่ (1) มีความกระตือรือล้นในการเข้าร่วมกิจกรรม (2) เกิด การรวมกลุ่มกันเองตามธรรมชาติ (3) มีความสดชื่นร่าเริงแจ่มใส คำสำคัญ : การเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลัง, ผู้สูงอายุen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังen_US
dc.subjectภาวะพฤฒิพลังen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Promoting Elderly Active Ageing Modelen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0041พุทธชาติ แผนสมบูญ.pdf8.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.