Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1131
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | งามประโคน, สิน | - |
dc.date.accessioned | 2023-07-09T16:20:41Z | - |
dc.date.available | 2023-07-09T16:20:41Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1131 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ วิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้นำ และ ศึกษาเครือข่ายของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งมี การศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ ผู้บริหาร อาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะผู้นำเพื่อการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา จำนวน 10 รูป/คน และการวิเคราะห์ข้อมูลศึกษาเนื้อหา (Content Analysis) ตามที่กำหนด ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านจักขุมา มีวิสัยทัศน์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ ศึกษาความรู้ตามหลัก พระพุทธศาสนา สร้างมนุษยสัมพันธ์ในบริบทของสังคม ด้านวิธุโร พระสงฆ์ต้องมีความรู้หลักพุทธ ศาสนาเป็นอย่างดี มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติกรรมฐาน เผยแพร่หลากหลายรูปแบบ ใฝ่ปฏิบัติ ด้วยจิตศรัทธา ด้านนิสสยสัมปันโน สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน มีคุณธรรมด้านพรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 และหลักกัลยาณมิตรธรรมเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณในการปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา วิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา สมัยพุทธกาล พบว่า มีความศรัทธา ความรู้ ความสามารถ วิสัยทัศน์ มนุษยสัมพันธ์ เป็นต้นแบบใน การปฏิบัติและเป็นเอตทัคคะในทางพระพุทธศาสนา ในส่วนของพระสงฆ์ไทย พบว่า มีความศรัทธา มีความรู้ ความสามารถในการประยุกต์หลักพุทธธรรมเข้ากับบริบทของสังคมในปัจจุบัน มีวิสัยทัศน์ และมนุษยสัมพันธ์เป็นกัลยาณมิตร ได้รับสมณศักดิ์ตามความรู้ ความสามารถในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนาในแต่ละสาขาทั้งสายวิชาการและสายปฏิบัติ เครือข่ายของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ระดับวิชาการ มีคุณลักษณะ ด้านจักขุมา ในสมัยพุทธกาล ได้แก่ พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ พระมหากัสสปะ เถระ ได้เป็นกำลังที่สำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนโดยแต่ละองค์นั้นมีความโดดเด่นในการ เผยแพร่ด้วยเอตทัคคะในแบบของตนเองที่พระพุทธเจ้าได้ยกย่อง สมัยปัจจุบัน ได้แก่ พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต มีการจัดทำหนังสือ เอกสาร สื่อออนไลน์ทั้งใน youtube เว็ปไชต์ ที่เป็นผลงานการเผยแผ่ และท่านยังมีเครือข่ายร่วมกับพระภิกษุรุ่นใหม่ในการจัดทำค่ายคุณธรรม พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ท่านได้สร้างมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์เพื่อเป็นทางเลือกให้กับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เป็น ต้นแบบของพระนักคิด นักเขียน นักพัฒนา โดยท่านได้สร้างเครือข่ายเชิงวิชาการ อยู่ที่ศูนย์วิปัสสนา สากลไร่เชิญตะวันจัดให้สถานที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับคนไทยและ ชาวต่างชาติ ระดับการบริหารการศึกษา มีคุณลักษณะ ด้านวิธูโร ในสมัยพุทธกาล ได้แก่ พระอุรุ เวลกัสสปะ พระจุฬปันถกเถระ พระราหุลเถระ พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เป็นพระมหาเถระผู้มี ความรู้ ความสามารถในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเป็นกำลังสำคัญในสมัยพุทธกาลอย่างมาก โดย ตำแหน่งเอตทัคคะที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง พระอุรุเวลกัสสปะ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ที่ได้รับการยกย่องจาก พระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะด้านผู้มีบริวารมาก สมัยปัจจุบัน ได้แก่ พุทธทาสภิกขุ พระพุทธโฆษา จารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) และ พระพรหมบัณฑิต,ศ.ตร. ระดับการปฏิบัติ มีคุณลักษณะ นิสสยสัมปันโน ในสมัยพุทธกาล ได้แก่ อัญญาโกณฑัญญะ พระโสณกุฏิกัณณถระ เป็นพระมหาเถระที่มีมนุษย สัมพันธ์ที่ดี ส่งผลให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและสร้างศรัทธาแก่ประชาชน สมัยปัจจุบัน ได้แก่ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวีริยังค์ สิรินธโร) และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังราช สกลมหาสังฆปริณายก และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ พระมหาเถระทั้ง 4 ท่าน ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี แก่พุทธศาสนิกชน ทำให้มีลูกศิษย์มากมายในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำ | en_US |
dc.subject | การเผยแพร่พระพุทธศาสนา | en_US |
dc.subject | พระสงฆ์ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา | en_US |
dc.title.alternative | An Analysis of the Monks’ Leadership for Buddhist Propagation | en_US |
Appears in Collections: | ส่วนหอสมุดกลาง |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
0038สิน งามประโคน.pdf | 3.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.