Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1130
Title: การพัฒนาคู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร
Other Titles: The Development of Instructional Manual of English for the Monks and Novices
Authors: แพงคำฮัก, วีระพงษ์
พรรษา, บุญมี
จันทิมาชัยอมร, ชื่นอารมณ์
จะปา, พระมหาวีระเดช
สระแก้ว, พระณรงค์
Keywords: การจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
พระภิกษุสามเณร
การพัฒนา
Issue Date: 2564
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: วิจัยเรื่อง "การพัฒนาคู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร" เกิด จากการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนพระปริยัติธรรมในปัจจุบันยังไม่สามารถพัฒนา ศักยภาพของผู้เรียนให้บรรลุตามเป้าหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ผู้เรียนไม่สามารถที่ จะนำภาษาอังกฤษไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวันหรือการศึกษาต่อที่สูงขึ้นได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจการพัฒนา คู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณรวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาคู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร 2) เพื่อศึกษา ประสิทธิภาพของคู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร 3) เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของคู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร ( Documentary Research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยเป็นกระบวนการศึกษาวิจัยที่มุ่งการพัฒนาคู่มือสื่อการ จัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร โดยตัวแทนพระสงฆ์ที่กำลังศึกษาใน โรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญ จังหวัดเชียงใหม่ รวมประชากรกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 320 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาคู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า กระบวนการการพัฒนาคู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร มี ดังนี้ (1) ต้องสำรวจพื้นฐานทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียนก่อนว่าอยู่ในระดับใด (2) กำหนดรูปแบบ สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณร (3) เนื้อหาของสื่อที่จะนำออกไปให้ผู้เรียน ต้องเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เน้นเรื่อง ศาสนา ประเพณี ของชุมชนต่าง ๆ (4) ความยากง่ายของสื่อที่จะใช้สอน ต้องเป็นสื่อที่กระตุ้นหรือเป็น แรงบันดาลใจให้ผู้เรียนสนใจที่จะเรียน ไม่น่าเบื่อหรือไม่ยากจนเกินไป ต้องให้เหมาะสมกับระดับชั้น ของผู้เรียน (5) ภาษาที่ใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง มีประโยคชัดเจน ไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนใน ระหว่างเรียนจากสื่อ, ผลการสำรวจความคิดเห็นและระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคู่มือสื่อการ จัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า ความคิดเห็นของพระภิกษุ สามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.39 ซึ่งตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก 2) ศึกษาประสิทธิภาพของคู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุ สามเณร ผลสำรวจความคิดเห็นและระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า ความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรโดย ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.39 ซึ่งตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก 3) ศึกษาประสิทธิผลของคู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุ สามเณร ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการทดสอบก่อนใช้คู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้และ หลังการใช้คู่มือสื่อการจัดการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า พระภิกษุ สามเณรในโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษามีผลการทดสอบหลังเข้าร่วมกิจกรรมการถวายการ อบรม ในครั้งที่ 1 (ประเมินหลังการฝึกอบรม) (x̄ = 16.68 S.D. = 1.14) และครั้งที่ 2 (ประเมินห่าง จากครั้งแรก 1 สัปดาห์) (x̄ = 18.52 S.D. = 0.76 ) สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมถวายการอบรม (x̄ = 8.28 S.D. = 1.14 ) ดังนั้น พระภิกษุสามเณร ในโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษามีผลการ ทดสอบก่อนการใช้คู่มือสื่อการเรียนรู้และหลังการใช้คู่มือสื่อการเรียนรู้ทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับ พระภิกษุสามเณร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ : การพัฒนา, การจัดการเรียนรู้, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1130
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0037วีระพงษ์ แพงคำฮัก.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.