Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1129
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพรรษา, บุญมี-
dc.contributor.authorจันทิมาชัยอมร, ชื่นอารมณ์-
dc.contributor.authorแพงคำฮัก, วีระพงษ์-
dc.contributor.authorจะปา, พระมหาวีระเดช-
dc.contributor.authorศรีอุทุมพร, พระมหารุ่งเพชร-
dc.date.accessioned2023-07-09T16:09:32Z-
dc.date.available2023-07-09T16:09:32Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1129-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง "การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณร" เกิดจากการที่บทบาทใหม่ของวัดในปัจจุบันที่ เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวประเกทประวัติศาสตร์โบราณวัตถุสถานและศาสนานั้น พระสงฆ์ที่อยู่ในวัดที่เป็นแหล่งการ ท่องเที่ยวเหล่านี้จึงต้องมีการปรับตัวโดยเฉพาะความรู้ด้านภาษาอังกฤษที่จะใช้เป็นสื่อให้เกิดความ เข้าใจอย่างถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือมากกว่ามัคคุเทศก์ทั่ว ๆ ไป และยังสร้างภาพที่ดีให้กับวัด ตลอดถึงประเทศชาติและพระพุทธศาสนา วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความ ต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพระภิกษุสามเณร 2) เพื่อสร้างคู่มือการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับ พระภิกษุสามเณร 3) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณร 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการ การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงปริ มาณ (Quantitative Research) เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยเป็นกระบวนการศึกษาวิจัยที่ มุ่งพัฒนาคู่มือการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับ พระภิกษุสามเณร โดยตัวแทนพระสงฆ์จำนวน 25 วัด รวมประซากรกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูล ทั้งสิ้น จำนวน 320 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารต้านการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมของพระภิกษุสามเณร พบว่า พระภิกษุสามเณรมีความต้องการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสารและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 71.6 และไม่ต้องการใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 28.4 ตามลำดับ 2) การสร้างคู่มือการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณร ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบการทดสอบก่อนและหลังการอบรมถวาย ความรู้ให้กับพระภิกษุ สามเณรพบว่า พระภิกษุสามเณรมีผลการทดสอบหลังเข้าร่วมกิจกรรมการถวาย การอบรมในครั้งที่ ๑ (x̄ = 17.38 S.D. = 1.09) และครั้งที่ 2 (x̄ = 18.28 S.D. = 0.70) สูงกว่า ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมถวายการอบรม (x̄ = 9.12 S.D. = 1.42) ดังนั้น ผลการทดสอบก่อนและ หลังการถวายการอบรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05, ความพึงพอใจคู่มือการพัฒนา ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า ความ พึงพอใจของพระภิกษุสามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.45 ซึ่งตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก 3) การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับพระภิกษุ สามเณร พบว่า การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีดังนี้ 1 ใช้กรอบมาตรฐาน ความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล 2) ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตาม ธรรมชาติของการเรียนรู้ 3) ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐานตามกรอบมาตรฐาน หลัก 4) ขยายโครงการพิเศษด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 5) จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่ ส่งเสริมความสามารถด้านภาษาอังกฤษ 6) ยกระดับความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูให้ สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ที่เน้นการสื่อสาร 7) ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาความสามารถทางภาษาของครูและผู้เรียน, กระบวนการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของพระภิกษุสามเณร พบว่า ความคิดเห็นของพระภิกษุ สามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.29 ซึ่งตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก 4) ความพึงพอใจในการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า ความพึงพอใจของพระภิกษุสามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.50 ซึ่ง ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : การพัฒนา, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาทักษะen_US
dc.subjectการสื่อสารภาษาอังกฤษen_US
dc.subjectการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.subjectพระภิกษุสามเณรen_US
dc.titleการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณรen_US
dc.title.alternativeThe Development of Cultural English Communication Skill for the Monks and Novicesen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0036บุญมี พรรษา.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.