Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1128
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุขทรัพย์ทวีผล, สุนทร-
dc.contributor.authorพระครูพิพิธจารุธรรม-
dc.contributor.authorสินทับศาล, ภูวเดช-
dc.date.accessioned2023-07-09T16:03:50Z-
dc.date.available2023-07-09T16:03:50Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1128-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักปฏิบัติในการ พัฒนาตนเองตามหลักมงคลสูตร 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาตนเองตามหลักคำสอนในสุภาษิต พระร่วง และ 3 เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์หลักปฏิบัติการพัฒนาชีวิตตามหลักมงคลสูตรกับหลักคำ สอนที่ปรากฏในสุภาษิตพระร่วง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยในเชิงเอกสารโดยการวิเคราะห์พระไตรปิฎก และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า มงคลสูตรเป็นพระสูตรสำคัญพระสูตรหนึ่งของพระพุทธศาสนา องค์ธรรมในมงคลสูตรมี ทั้งหมด 38 ประการ มีการไม่คบคนพาล เป็นต้น และภาวะจิตเกษมเป็นปริโยสาน มงคลสูตรเป็นหลัก ของการพัฒนาตนเองตามลำดับตั้งแต่ขั้นพื้นฐานคือการมีชีวิตที่สมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์จนถึงขั้น สูงสุดคืออมตธรรมในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระนิพพาน เมื่อนำหลักธรรมในมงคลสูตรมาวิเคราะห์ ให้สอดคล้องกับหลักการพัฒนาตนเอง พบว่าหลักธรรมในมงคลสูตรนั้นสามารถจำแนกตามลักษณะ ของการพัฒนาตนเองออกเป็น ประเภท คือ 1) การพัฒนาตนเองขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยมงคล 18 ประการ 2) การพัฒนาตนเองขั้นกลาง ประกอบด้วยมงคล 12 ประการ และ 3) การพัฒนา ตนเองขั้นสูง ประกอบด้วยมงคล 8 ประการ สุภาษิตพระร่วงจัดอยู่ในประเภทวรรณคดีคำสอน (Didactic literature) เกิดจากการเก็บ สะสมรวบรวมถ้อยคำสั่งสอนที่มีคุณค่า มีคุณค่าทั้งด้านสติปัญญา ด้านวรรณศิลป์ ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณค่าทางด้านสังคม สุภาษิตพระร่วงสามารถจำแนกตามลักษณะของการพัฒนาตนเอง ออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) การพัฒนาตนเองต้านการมีสัมพันธไมตรี 2) การพัฒนาตนเองด้านการใช้ ชีวิต 3) การพัฒนาตนเองด้านการประกอบกิจการ 4) การพัฒนาตนเองด้านพฤติกรรม 5) การพัฒนา ตนเองต้านองค์ความรู้ และ 6) การพัฒนาตนเองด้านจิตใจ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างหลักปฏิบัติการพัฒนาชีวิตตามหลักมงคลสูตรกับหลักคำสอนที่ ปรากฏในสุภาษิตพระร่วง จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า มงคลสูตรกับหลักคำสอนในสุภาษิตพระร่วง ในลักษณะที่สอดคล้องกัน คือ มงคลสูตรกับสุภาษิตพระร่วงเป็นแต่คำสอนที่มีหลักการเพื่อเป็น แนวทางของการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี ประสบความสำเร็จในชีวิต ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างเป็นสุข สามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งทางด้าน ระบอบความคิด การดำรงชีวิต การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในสังคม รวมถึงการพัฒนาตนเองทางด้าน จิตใจ คำสอนในสุภาษิตพระร่วง จำนวน 129 บทมีความสัมพันธ์กับหลักมงคลสูตร 38 แต่มี 16 บทที่ไม่มีความสอดคล้องกับหลักมงคลสูตรเพราะเนื้อหาเป็นความเชื่อท้องถิ่น แต่ก็ไม่มีความขัดแย้ง กับหลักมงคลสูตร ในส่วนที่แตกต่างกันนั้น คือ เป้าหมายและวิธีการนำเสนอ เป้าหมายของมงคลสูตรนั้น เป็นไปเพื่อชีวิตอันเป็นอุดมสุข คือ พระนิพพาน จึงเป็นการพัฒนาชีวิตเพื่อความหลุดพ้นอย่างแท้จริง แต่สุภาษิตพระร่วงนั้นมีคำสอนที่มุ่งต่อการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างสงบสุข แม้จะมีคำสอนที่เกี่ยวกับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ อิงแอบกับคำสอนทางพระพุทธศาสนา แต่ก็ยังไม่มีเป้าหมายสูงสุด คือ พระ นิพพาน สำหรับวิธีการนำเสนอนั้นพบว่า มงคลสูตรมีความเชื่อมโยงกันเป็นลำดับ จาก 1 ไปสู่ 2 จาก 2 ไปสู่ 3 แต่ก็สามารถนำมาปฏิบัติได้เป็นเฉพาะข้อๆ ได้ด้วย ส่วนในสุภาษิตพระร่วงนั้นไม่ได้ เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง ทำให้เนื้อหากระโดดไปมา ไม่ต่อเนื่องกันen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาตนเองen_US
dc.subjectมงคลสูตรen_US
dc.subjectสุภาษิตพระร่วงen_US
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์แนวคิดและการพัฒนาตนเองตามหลักมงคลสูตรที่ปรากฏใน สุภาษิตพระร่วงen_US
dc.title.alternativeAn analytical Study the Concept of Self-Development According to MongkhalaSuttra in Proverbs of Phraruangen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0035สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.