Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1124
Title: โรงเรียนผู้สูงอายุ : การจัดการสุขภาวะและสวัสดิการผู้สูงอายุในภาคใต้
Other Titles: Seniors School : Managing The Health and Welfares of The Elderly in the South
Authors: บุญฤทธิ์, สมบูรณ์
พระครูวิรัตธรรมโชติ
สงสาป, พีระพล
Keywords: โรงเรียนผู้สูงอายุ
การจัดการสุขภาวะ
สวัสดิการผู้สูงอายุ
ภาคใต้
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ในเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของผู้สูงอายุในโรงเรียนที่เป็น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 โรงเรียนในภาคใต้ คือ โรงเรียนวัยใส เทศบาลนครนครศรีธรรมราช และ โรงเรียนผู้สูงอายุ รพ.สต. บ้านบ่อทราย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง จำนวน 60 คน ส่วนใน เชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาระบบสุขภาวะและ สวัสดิการผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อย ได้แก่ ผู้รับผิดขอบ ดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุและผู้เกี่ยวข้อง พระสงฆ์ นักวิชาการด้านสาธารณสุข นักวิชาการใน สถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่น และตัวแทนผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ รวมจำนวน 12 คน ผลการวิจัย พบว่า 5.1.1 กระบวนการการดำเนินการของโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้ พบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้ มีลักษณะการจัดตั้งและการดำเนินการที่เหมือนกัน และแตกต่างกัน ในด้านการดูแลรับผิดชอบ มีการดูแสรับผิดชอบโดยองค์กร/ชุมชนในท้องถิ่นที่ แตกต่างกัน ส่วนกระบวนการได้มาของผู้เรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ จะมีการรับสมัครผู้เข้าเรียนตาม ระยะเวลา และเรียนตามหลักสูตรที่กำหนด ในด้านหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน มี ลักษณะการจัดหลักสูตรที่คล้ายกัน คือ ให้ความรู้ทั่วไปที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาวะ ของผู้สูงอายุ และความรู้ด้านโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ 2. แนวทางการจัดการสุขภาวะและสวัสดิการของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุใน ภาคใต้ พบแนวทางการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุด้านกาย โดย ให้มีจิตอาสาใน ชุมชนดูแลผู้สูงอายุ ด้านจิต ให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุในการให้ผู้สูงอายุได้แสดงออกถึงศักยภาพที่ มีอยู่ ด้านปัญญาอารมณ์ ให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ถึงการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างรู้เท่าทัน และการ ทำกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ ส่วนในด้านสังคม/ สิ่งแวดล้อม ให้ผู้สูงอายุได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ชีวิตที่มีให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม และใช้ผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐานในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่น่าอาศัย ส่วนแนวทางในการพัฒนาการจัดระบบสวัสดิการผู้สูงอายุในโรงเรียน พบแนวทางใน การพัฒนาด้านร่างกายโดยจัดกิจกรรมด้านอาหารและโภชนาการ การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุ อย่างบูรณาการกับสวัสดิการด้านอื่นๆ ด้านจิตใจ เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชน ในการให้คำปรึกษาและร่วมกิจกรรม ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ให้มีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้จาก ผู้สูงอายุที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคคลระหว่างวัย ด้านความ มั่นคงในชีวิต ให้มีการอบรมอาชีพเสริมให้แก่ผู้สูงอายุโดยจัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนในโรงเรียน ผู้สูงอายุ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีงานทำโดยการหางานไว้รองรับผู้สูงอายุ ส่งเสริมการประกัน ตนเองก่อนสูงอายุ ในรูปแบบที่มีความหลากหลายกว่าการประกันชีวิตและประกันสุขภาพ รวมทั้ง สนับสนุนการรวมกลุ่มกิจกรรมของผู้สูงอายุแบบอื่นๆ นอกจากการรวมกลุ่มของชมรม ผู้สูงอายุตามปกติ ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม โดยการร่วมกันพัฒนาบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ การให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะที่ถูกวิธี 3. การเสริมสร้างบทบาทของเครือข่ายในการจัดการสุขภาวะสวัสดิการผู้สูงอายุใน โรงเรียนผู้สูงอายุในภาคใต้ พบว่า ควรมีการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ่ในแต่ละชุมชนเป็นโรงเรียน ผู้สูงอายุระดับตำบล เพราะสามารถพัฒนาผู้สูงอายุได้อย่างเป็นระบบ ส่วนการแสวงหาเครือข่าย ร่วมดำเนินงานนั้น สามารถใช้องค์กรของรัฐและเอกชนในท้องถิ่นมาร่วมเป็นเครือข่ายดำเนินงาน โรงเรียนผู้สูงอายุตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรเหล่านั้น ทั้งนี้ในการดำเนินการของโรงเรียน ผู้สูงอายุและเครือข่ายต้องเป็นไปในลักษณะการบูรณาการให้สอดคล้องร่วมกัน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1124
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0031สมบูรณ์ บุญฤทธิ์.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.