Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1121
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธมฺมโชโต, พระครูวัชรสุวรรณาทร-
dc.date.accessioned2023-07-09T15:33:29Z-
dc.date.available2023-07-09T15:33:29Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1121-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพุทธศิลปกรรมสกุล ช่างเพชรบุรี (2) เพื่อศึกษากระบวนการสืบสานพุทธศิลปกรรมสกุลช่างเพชรบุรีของพระสงฆ์และภาคี ศิลปกรรมจังหวัดเพชรบุรี (3) เพื่อเสริมสร้าง เครือข่าย อนุรักษ์พุทธศิลปกรรม สกุลช่างเพซรบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เริ่ม จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของพุทธศิลปกรรมสกุลช่างเพชรบุรี โดยการศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับศิลปกรรมสกุลช่างเพชรบุรี จากนั้นได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการสืบสานพุทธศิลปกรรมสกุลช่างเพชรบุรีของพระสงฆ์และภาคีศิลปกรรม จังหวัดเพชรบุรี เพื่อแสวงหาวิธีการเสริมสร้าง เครือข่าย อนุรักษ์พุทธศิลปกรรม สกุลช่างเพชรบุรี พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะในต้านต่าง ๆ แล้วทำการสรุปวิเคราะห์ผลที่ได้ ไปทำการประเมินความ เหมาะสม เพื่อปรับปรุงนำเสนอต่อไป ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของพุทธศิลปกรรมสกุลช่างเพชรบุรี พบว่า งานศิลปกรรมสกุลช่าง เพชรบุรีนั้นเริ่มมีร่องรอยของพัฒนาการมาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาแต่จะมีตัวอย่างที่ชัดเจนมากขึ้นราว สมัยอยุธยาตอนต้น และมีพัฒนาการสูงสุดในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย ส่วนงานศิลปกรรมประเพณีที่ มีพัฒนาการต่อเนื่องมาจนกระทั่งสมัยปัจจุบัน ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ งานประติมากรรมปูนปั้น งานแทง หยวก และงานช่างทองโบราณ ศิลปกรรมสกุลช่างเพชรบุรีจึงเป็นสกุสช่างทางศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะ การแสดงออก การออกแบบ องค์ประกอบรวมทั้งการบรรจุเรื่องราวที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง ซึ่งแตกต่างจากศิลปะเมืองหลวงอยุธยา 2) กระบวนการสืบสานพุทธศิลปกรรมสกุลช่างเพชรบุรีของพระสงฆ์และภาคีศิลปกรรม จังหวัดเพชรบุรี พบว่า พระสงฆ์เป็นผู้ปลูกฝังจิตวิญญาณของมนุษย์ให้เข้าถึงความเป็นแก่นแท้ของ ศิลปวัฒนธรรมไทย รวมทั้งเป็นผู้นำในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย การเป็นแบบอย่าง ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแสรักษาหมั่นตรวจตราเพื่อไม่ให้แหล่งโบราณคดีถูกทำลายเพราะเป็นสิ่งที่ แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมของคนในชาติ และรณรงค์ให้มีการอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานในท้องถิ่นอย่าง เร่งด่วน จริงจัง ทั่วถึง ต่อเนื่อง และถูกหลักวิชา และในฐานะที่เป็นผู้นำทางต้านจิตวิญญาณของ พระสงฆ์ จึงมีหน้าที่ในการคิดค้นวิธีการต่างๆ เพื่ออนุรักษ์โบราณวัตถุสถาน เพื่อได้สืบตกทอดเป็น แหล่งเรียนรู้และดูแลรักษาไปสู่อนุชนรุ่นหลังต่อไป 3) เสริมสร้าง เครือข่าย อนุรักษ์พุทธศิลปกรรม สกุลช่างเพชรบุรี พบว่า การอนุรักษ์พุทธ ศิลปกรรมนั้นไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบของทางราชการฝ่ายเดียว พุทธศิลปกรรมเป็นมรดกของชาติและ ประชาชน ชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ โดยต้องมีจิตสำนึกเรื่องการเป็นของส่วนรวม ต้องมี ความเข้าใจถึงคุณค่าของพุทธศิลปกรรม นอกจากนี้แนวคิดทางด้านการอนุรักษ์พุทธศิลปกรรม ใน ลักษณะการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ยิ่งมีความชับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะต้องอาศัยความ ร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนตลอดจนหน่วยงานที่เป็นตัวแทนของชุมชน ในการช่วยกันดูแลอนุรักษ์ พุทธศิลปกรรมมีคุณค่าของชุมซน อย่างเป็นระบบ เพื่อให้พุทธศิลปกรรมอยู่คู่กับชุมชนนั้น ๆ สืบไป คำสำคัญ: กระบวนการสืบสาน, สกุลช่างเพชรบุรีen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสืบสานศิลปกรรมen_US
dc.subjectกระบวนการสืบสานen_US
dc.subjectสกุลช่างเพชรบุรีของพระสงฆ์en_US
dc.subjectภาคีศิลปกรรมจังหวัดเพชรบุรีen_US
dc.subjectเพชรบุรีen_US
dc.subjectสกุลช่างเพชรบุรีen_US
dc.titleกระบวนการสืบสานศิลปกรรมสกุลช่างเพชรบุรีของพระสงฆ์ และภาคีศิลปกรรมจังหวัดเพชรบุรีen_US
dc.title.alternativeThe Process Artistic Heritage Petchaburi Clergy And Associates Petchaburi Provinceen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0027พระครูวัชรสุวรรณาทร.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.