Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1116
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของ เครือข่ายประชารัฐในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
Other Titles: The Development of a Cooperative Cultural Management Model of the Civil State Network in Sukhothai Historical Park
Authors: สินทับศาล, ภูวเดช
(พานิช จนฺทาโภ), พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ
คมุคีรปญฺโญ, พระสันต์ทัศน์
นามสง่า, ปัญญา
Keywords: มรดกทางวัฒนธรรม
มรดกทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม
เครือข่ายประชารัฐ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
Issue Date: 2564
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: แผนการศึกษาวิจัยเรื่อง "การพัฒนารูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมแบบมีส่วน ร่วมของเครือข่ายประชารัฐในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย" เกิดขึ้นจากความสนใจที่จะศึกษา รูปแบบกระบวนการพัฒนา มรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยการมี ส่วนร่วมของเครือข่ายประชารัฐ ประกอบด้วย คณะสงฆ์ หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ชุมชน และผู้ประกอบการรอบอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งมีโครงการวิจัยย่อยภายใต้แผนงานวิจัย 3 โครงการ ได้แก่ 1) การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของเครือข่ายประชารัฐในอุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย 2)การพัฒนากิจกรรมทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และ 3)การเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการมรดกทาง วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชารัฐในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย วัตถุประสงค์หลักของแผนงานวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม ของเครือข่ายประชารัฐในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมทางวัฒนธรรมแบบ มีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่าย การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม แบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชารัฐในอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูล สังเกตการณ์การสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่ม เฉพาะ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของเครือข่ายประชารัฐหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย คณะสงฆ์ หน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน ประชาชน และผู้ประกอบการ ในพื้นที่รอบ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ระดมความคิดหาจุดเด่นของชุมชนที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนอให้เชื่อมโยงกับการจัดทำแผนพัฒนาของจังหวัด ปี พ.ศ. 2566-2570 ยกระดับการพัฒนาชุมชนโดยรอบที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ และมรดก ทางวัฒนธรรมครบถ้วนทั้งในมิติของข้อมูลเกี่ยวกับตำนานเรื่องเล่าในท้องถิ่นที่เชื่อมโยงสัมพันธ์ไป กับวิถีการดำเนินชีวิต ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว ต้องตระหนักถึง การให้บริการนักท่องเที่ยวให้เกิดความประทับใจ และพร้อมที่จะกลับมาอีกเครือข่ายประชารัฐทุก ภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ด้วยการระดมบุคลากร งบประมาณ เครื่องมือ เครื่องใช้และองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ สนับสนุนให้องค์การปกครองส่วนท่องถิ่นประชาชน และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืนในรูปแบบ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ส่งเสริมให้พื้นที่ท่องเที่ยว มีศักยภาพ ในการ รองรับนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างกลยุทธ์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและ กระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนและผู้ประกอบการด้วยการสร้างคุณภาพในการให้บริการ เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและการบริการทางการท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรม สร้างจิตสำนึกในการ อนุรักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรม พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานสร้างความ ประทับใจทั้งในด้านคุณค่าของกิจกรรมการท่องเที่ยว และการเรียนรู้ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว มรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคมชุมชน การพัฒนากิจกรรมทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในอุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย ชุมชนบริเวณโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีแหล่งเรียนรู้ทาง วัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องด้วยเป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน วิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งยังคงเป็นเอกลกัษณ์เฉพาะตัวที่มีความสัมพันธ์เชิงบทบาทหน้าที่ใน การอนุรักษ์รักษา และส่งเสริมการเรียนรู้ในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมของชุมชนในด้านการ ท่องเที่ยวโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ การพัฒนากิจกรรมทางวัฒนธรรมแบ่ง ออกเป็น 3 กลยุทธ์ 1) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างคณะสงฆ์ หน่วยงานภาครัฐ สังคม ชุมชน และผู้ประกอบการ 2) การวางแผน การให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อาศัย อยู่ในชุมชนมีอำนาจในการตัดสินใจและมีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผน จะช่วยลดการต่อต้านการ พัฒนากิจกรรมทางวัฒนธรรมสามารถส่งสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี 3) การสร้างเครื่องมือ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับลักษณะทางสังคมวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและความถนัดของชุมชน เครื่องมือการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมควรกำหนดโดย ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการหรือนักวิจัยด้านการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งต้องสอดคล้องกับความต้องการและความสามารถในการดำเนินงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุก กลุ่ม การเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของเครือข่าย ประชารัฐในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มุ่งเน้นให้เครือข่ายภาคประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการรูปแบบวิถีชีวิตของชุมชน ส่งเสริม ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามอันเป็นมรดกมาช้านาน ส่งเสริมอาชีพธุระกิจบริการด้านการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมโดยเฉพาะเครือข่ายชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พัฒนาการจัดการ เส้นทางท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกสุโขทัย ซึ่งเป็นเส้นทางให้เชื่อมโยงไปสู่พุทธสถาน เทวสถานและ สถานที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์มรดกโลกสุโขทัย พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวทั้งในด้าน ความรู้และความสามรถหรือคุณภาพของการให้บริการ ส่งเสริมและผลักดันให้สถานประกอบการ ให้นำมาตรฐานด้านการบริการท่องเที่ยวไปใช้ในทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาผู้ให้บริการและสถาน ประกอบการบริการท่องเที่ยวยกระดับคุณภาพของสถานประกอบการให้มีมาตรฐาน และเป็นที่ ยอมรับระดับสากล
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1116
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0021ภูวเดช สินทับศาล.pdf9.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.