Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1115
Title: การพัฒนาและออกแบบผังการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแหล่งโบราณคดีในจังหวัดหนองคาย
Other Titles: Development and design of environmental conservation plans and archaeological sites in Nong Khai province
Authors: (ประสิทธิ์ อินทร์กรุงเก่า), พระเทพปวรเมธี
ผาทา, อธิเทพ
มั่งมีสุขสิริ, สมบัติ
เหมือนโพธิ์ทอง, ศิริสาร
อินทร์กรุงเก่า, ญาศุมินท์
Keywords: การพัฒนาและออกแบบ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แหล่งโบราณคดี
หนองคาย
Issue Date: 2564
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการออกแบบผัง สิ่งแวดล้อมและแหล่งโบราณคดี (2) เพื่อพัฒนาการออกแบบผังสิ่งแวดล้อมและแหล่งโบราณคดีใน จังหวัดหนองคาย (3) เพื่อศึกษาประโยชน์การใช้ผังสิ่งแวดล้อมและแหล่งโบราณคดีในจังหวัด หนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualtative Research) โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิง ปฏิบัติการ (Action Research) มาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการวิจัย เน้นการศึกษาวิเคราะห์ทั้งในเชิง พื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย มีการจัดกระบวนการวิจัยด้วยการถอดบทเรียนและการบูรณาการข้อมูลที่ได้ จากการสัมภาษณ์ การสังเกต และการปฏิบัติการร่วมกันในพื้นที่ศึกษาและกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้โดย ใช้กระบวนการตามวงจรเดมมิง (PDCA) เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมี ส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยภายใต้กรอบของการนำเอาทฤษฎีพื้นฐานของการ สำรวจ แหล่งโบราณคดี ทฤษฎีการพัฒนาสังคมมนุษย์และทฤษฎีการสร้างสรรค์วัฒนธรรม นอกจากนั้นก็เป็น ทฤษฎีการออกแบบผังแหล่งโบราณคดีภายใต้กรอบของการออกแบบผังที่มุ่งถึงความเป็นสัดส่วน ความสงบและการจัดวางพื้นที่ ทฤษฎีการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และทฤษฎีการ พัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ ทฤษฎีการเผยแพร่วัฒนธรรม เป็นต้น โดยทฤษฎีเหล่านี้เป็น ทฤษฎีพื้นฐานที่นำมาใช้ในการดำเนินการวิจัยตามวัตถุประสงค์นั้น (2) การลงพื้นที่สำรวจสิ่งแวดล้อมและแหล่งโบราณคดีในจังหวัดหนองคายนั้นพบว่า สามารถจัดแบ่งประเภทของแหล่งโบราณคดีที่พบได้เป็น 4 ประเภท ก็คือ (1) แหล่งโบราณคดี ประเภทชุมชนมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ชุมชนบ้านโคกคอนซึ่งมีการขุดค้นและพบว่าชุมชนนี้ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยเดียวกับยุคบ้านเชียง (2) แหล่งโบราณคดี สมัยประวัติศาสตร์ คือสมัยทวารวดี ได้แก่ บริเวณบ้านโคกคอน และชุมชนเมืองเวียงคุก และสมัยขอม โบราณได้แก่ชุมชนเวียงคุก ปะโค (3) แหล่งโบราณคดีสมัยล้านช้าง ได้แก่พื้นที่อำเภอเมือง อำเภอ โพนพิสัย และอำเภอท่าบ่อบางส่วน (4) แหล่งโบราณคดีสมัยราชอาณาจักรสยาม ได้แก่พื้นที่เมือง หนองคายปัจจุบันที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ในสมัยราชอาณาจักรสยาม (3) คณะผู้วิจัยได้อาศัยข้อมูลจากผลการลงพื้นที่สำรวจแหล่งโบราณคดีมาเป็นกรอบในการ ออกแบบผังแหล่งโบราณคดีโดยหลักการออกแบบผังบริเวณได้เน้นความสงบ ความเป็นสัดส่วนและ ความสะดวกในการเข้าถึง และเน้นการบ่งบอกเส้นทางการเข้าถึงแหล่งโบราณคดีนั้น โดยกระบวนการ ออกแบบนั้นเริ่มจากการสำรวจพื้นที่จริงจากนั้นได้ดำเนินการนำเอากรอบของสถานที่จริงมาออกแบบ ทำการทดสอบและนำไปใช้กับประชาชนเพื่อให้แน่ใจว่าผังบริเวณนั้นเข้าได้กับพื้นที่จริงและมีความ เที่ยงตรงของพื้นที่ (4) ภายหลังจากการได้ออกแบบผังแล้วคณะผู้วิจัยได้นำเอาความรู้เรื่องผังแหล่งโบราณคดีนี้ มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้ ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ใน 3 ลักษณะ ดังนี้ คือ (1) กิจกรรมการอบรมยุวมัคคุเทศก์ โดยนำนักเรียนยุวชนภายในพื้นที่มาอบรม หลักการเป็นมัคคุเทศก์และสอนการอ่านประวัติศาสตร์รวมถึงผังบริเวณของแหล่งโบราณคดีจากนั้นได้ นำยุวมัคคุเทศก์ลงพื้นที่จริง (2) กิจกรรมการคัดลอกจารึก มีจุดมุ่งหมายเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านจารึก และ (3) กิจกรรมการเรียนรู้ "เด็กวัดร่วมใจส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี เป็น กิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีจิตสาธารณะและมุ่งมันที่จะอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีในชุมชนของ ตนเอง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1115
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0020พระเทพปวรเมธี.pdf41.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.