Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1114
Title: | การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของชุมชนในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | The Foundation Economic Development to Reduce Community Inequality in The 21st Century of Suphan Buri Province |
Authors: | แสงหล้า, ปัณณวิชญ์ |
Keywords: | การพัฒนาเศรษฐกิจ เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ ศตวรรษที่ 21 สุพรรณบุรี |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ) เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้เศรษฐกิจฐานรากของ ชุมชนเพื่อความยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อการส่งเสริมการนำนวัตกรรมในการพัฒนาความรู้สู่ คุณภาพชีวิตชุมชน 3) เพื่อการจัดการชุมชนเข็มแข็งแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับชุมชนนวัตกรรม เป็น การวิจัยผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและ วิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้วิสาหกิจชุมชนต้นแบบ 3 กลุ่ม ในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ อำเภออู่ทอง 2 กลุ่ม อำเภอศรีประจันต์ 1 กลุ่ม ดำเนินการศึกษาองค์ ความรู้ และลงพื้นที่วิจัยเชิงปฏิบัติการโครงการวิจัยย่อย 2 และ โครงการวิจัยย่อย 3 ในตำบลจรเข้ สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการศึกษาพบว่า:- การพัฒนาองค์ความรู้เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนเพื่อความยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 การ พัฒนาองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจฐานรากที่จะนำไป สู่การยกระดับชุมชนนวัตกรรม ได้แก่การจัดการ ความรู้ คือ การระดมความคิด การสร้างและการแสวงหาความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ และ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ ถือเป็นการเตรียมความพร้อม ส่วนด้านการพัฒนาทักษะ ให้ ความสำคัญกับการค้นหาจุดอ่อนของสมาชิกเพื่อนำไปวางแผนพัฒนานำไปสู่การลงมือปฏิบัติที่มีความ สอดคล้องกับการดำเนินกิจกรรมและนำมาประเมินผล ด้านการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติเป็นผลที่ ได้รับจากการพัฒนาทักษ: โดยการศึกษาข้อมูลและความพร้อม การดำเนินตามขั้นตอนและประเมิน หาข้อบกพร่อง ส่วนด้านการบริหารมีการกำหนดขั้นตอนในการทำงานตั้งแต่ โครงสร้าง การจัดทำ แผนการผลิต การจัดการเรียนรู้ การจัดการตลาดที่นำไปสู่แผนธุรกิจโดยมีส่วนงานของรัฐเข้ามามีส่วน ร่วมสนับสนุนให้ข้อเสนอแนะ ส่วนการสังเคราะห์องค์ความรู้ ได้แก่จากการแสวงหาความรู้ คือ จัดการความรู้ไปปฏิบัติ การจัดกิจกรรม การสร้างการมีส่วนร่วม การประเมินผลและการปรับใช้ให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์ ส่วนด้าน การนำความรู้มาจัดหมวดหมู่ ให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสกัดความรู้ และด้านการนำไปปฏิบัติให้ความสำคัญกับกระบวนการที่เป็น ระบบและวิธีการถ่ายทอดความรู้ การส่งเสริมการนำนวัตกรรมในการพัฒนาความรู้สู่คุณภาพชีวิตชุมชน ที่ นำไปสู่ ความสำเร็จมี 3 ส่วน คือ 1) การสร้างพลังชุมชน เป็นกระบวนการทำให้สมาชิกในชุมชนเกิดความ กระตือรือร้นเปิดการรับรู้สิ่งดี ๆ เป็นการสร้างพลังเชิงบวก ( Positive Energy) 2)การเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับและสร้างโอกาสในเรื่องความเสมอภาคทางเศรษฐกิจระดับ ครัวเรือน สามารถผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด และ 3) การส่งเสริมการ สร้างทักษะความรู้การนำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชน การ ร่วมกันคิดแบบวิเคราะห์ การคิดแบบ 2 ทาง (Two Ways) แนวทางการนำนวัตกรรมในการพัฒนา ความรู้ ได้แก่ 1) การส่งเสริมด้านการมีนวัตกรรม (ทำให้มี) ให้ชุมชนคิดวางแผนหาวิธีการ พัฒนา ผลิตภัณฑ์ของตนเองโดยหาเครื่องมือมาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) ส่งเสริมด้านการนำนวัตกรรม ไปใช้ในชุมชน (มีให้ใช้) ส่วนการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปพัฒนา ได้แก่ การวางแผนการ จัด กิจกรรมร่วมกัน ค้นหาจุดบกพร่อง ปรับปรุงขั้นตอน ปรับวัตถุดิบการผลิต การจัดการชุมชนเข้มแข็งแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับชุมชนนวัตกรรม นำไปสู่ความสำเร็จ มี 6 ประการ คือ 1) การมีเป้าหมายร่วมกัน 2) มีการเรียนรู้ร่วมกัน 3) การมีส่วนร่วมกัน 4 เครือข่ายความร่วมมือ 5) ศักยภาพชุมชน 6) ทุนภูมิสังคม การยกระดับชุมชนเข้มแข็งแบบมีส่วน ร่วม ได้แก่ เกาะเกี่ยวประโยชน์สาธารณะ มีศักยภาพที่จะพึ่งพิงตนเองได้และการพัฒนาศักยภาพของ ตนได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนการเผยแพร่ การจัดการชุมชนเข้มแข็งแบบมีส่วนร่วมยกระดับชุมชน นวัตกรรม ได้แก่ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ การจัดการต้นทุน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1114 |
Appears in Collections: | ส่วนหอสมุดกลาง |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
0019ปัณณวิชญ์แสงหล้า.pdf | 7.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.