Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1113
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจันทร์แรง, เทพประวิณ-
dc.date.accessioned2023-07-09T15:01:18Z-
dc.date.available2023-07-09T15:01:18Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1113-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิจัยรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูพระสอนศีลธรรม ในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนาเทคนิคและวิธีการสอนครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัด เชียงใหม่ 3) เพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการสอนแบบบูรณาการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัด เชียงใหม่ 4) เพื่อวิจัยและพัฒนารูปแบบการสร้างหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการในโรงเรียนจังหวัด เชียงใหม่ เป็นการวิจัยผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ กับเครือข่ายครูพระสอนศีลธรรม โดยการลงพื้นที่สำรวจ จำนวน 25 อำเภอ ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ มีรูปแบบการ พัฒนาศักยภาพครูพระสอนศีลธรรม การถ่ายทอดความรู้ การจัดกิจกรรมตามความเหมาะสมของหลักสูตรการ พัฒนา ดังนี้ 1) แนวทางการพัฒนาศักยภาพรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) พัฒนาเทคนิคและวิธีการ สอนของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ 3) พัฒนาสื่อและนวัตกรรมการสอนแบบบูรณาการ ของครูในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาเทคนิคและวิธีการสอนของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ มีการ จัดทำหลักสูตรการอบรม 2 ขั้นตอน คือ 1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และนำมาวิเคราะห์ความต้องการ ออกแบบสร้างชุดความรู้ด้านเทคนิคและวิธีการสอนตามความต้องการของครูพระสอนศีลธรรม และ 2. การ สร้างหลักสูตรการฝึกอบรม จัดเป็นระยะเวลา 2 วัน (ออนไลน์-ตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19) เกิดการพัฒนาและส่งเสริม 2 ด้าน ได้แก่ 1) พัฒนาและส่งเสริมครูผู้สอนมีศักยภาพในการสอน มีทักษะและ ความชำนาญในการจัดการเรียนการสอน 2) พัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนเกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ ทำให้การ เรียนการสอนมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการสอนแบบบูรณาการของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัด เชียงใหม่ เป็นนวัตกรรมแอพพลิเคชัน (Application) สื่อการ์ตูนเอนิเมชั่น บนสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ได้บูรณาการองค์ความรู้ด้านเนื้อหาและสาระการเรียนรู้แต่ละชั้น คือ (ป.1-2-3) มารวมเป็นช่วงชั้นที่ (ป.4- 5-6) มารวมเป็นช่วงชั้นที่ 2 และ (ม.1-2-3) มารวมเป็นช่วงชั้นที่ 3 การพัฒนารูปแบบการสร้างหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน 2 หลักสูตร ประกอบด้วย .หลักสูตรสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในโรงเรียน วัดสวนดอก พุทธศักราช 2564 ชั้นประถมศึกษา 2.หลักสูตรหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเรื่องหลักธรรมเพื่อ พัฒนาชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโปงน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนานวัตกรรมen_US
dc.subjectครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนen_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนen_US
dc.titleการพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeThe innovation development for potential improvement of the Buddhist monk teachers in schools of chiang mai provinceen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0018เทพประวิณ จันทร์แรง.pdf10.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.