Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1112
Title: | รูปแบบและกระบวนการเยียวยาใจผู้ป่วยด้วยธรรมะของกลุ่มพระจิตอาสาคิลานธรรม |
Other Titles: | The model and the Process of Mental Healing for Patients with Dhamma by Gilandhamma Group of Volunteer Monks. |
Authors: | (สุชาติ กิตุติปณุโญ), พระเทพสุวรรณเมธี, ดร. |
Keywords: | การเยียวยาใจผู้ป่วย การเยียวยาใจผู้ป่วยด้วยธรรมะ พระจิตอาสาคิลานธรรม คิลานธรรม |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องรูปแบบและกระบวนการเยียวยาใจผู้ป่วยด้วยธรรมะของกลุ่มพระจิตอาสา คิลานธรรม มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการเยียวยาใจผู้ป่วยด้วยธรรมะ ของกลุ่มพระจิตอาสาศิลานธรรม 2) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบและกระบวนการการเยียวยาใจผู้ป่วย ด้วยธรรมะของกลุ่มพระจิตอาสาคิลานธรรม และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมอบรมรูปแบบ และกระบวนการเยียวยาใจผู้ป่วยด้วยธรรมะของกลุ่มพระจิตอาสาศิลานธรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสาน ในส่วนการวิจัยชิงคุณภาพ ผู้วิจัยศึกษาคุณลักษณะ พระจิตอาสาและแนวทางการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยด้วยธรรมะ โดยอาศัยการสัมภาษณ์กลุ่มพระสงฆ์ผู้ ก่อตั้งกลุ่มพระจิตอาสาคิลานธรรม เพื่อศึกษาหลักธรรมองค์ประกอบพระจิตอาสาในการเยียวยาใจ ผู้ป่วยด้วยธรรมะ แนวทางการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยด้วยธรรมะ และการใช้หลักธรรมในการเยียวยา ผู้ป่วย ประมวลเข้าเป็นรูปแบบและกระบวนการเยียวยาผู้ป่วยด้วยธรรมะและร่วมกันออกแบบ โครงการกิจกรรมอบรมกระบวนการเยียวยาผู้ป่วยด้วยธรรมะของพระอาสาคิลานธรรม ส่วนการ วิจัยเชิงทดลอง ผู้วิจัยนำโครงการกิจกรรมอบรมกระบวนการเยียวยาผู้ป่วยด้วยธรรมะไปทดลองใช้ ฝึกอบรมพระจิตอาสาที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มพระอาสาคิลานธรรม เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของ กระบวนการเยียวยาและเพื่อเพิ่มความชัดเจนของกระบวนการเยียวยาและสามารถนำไปสู่การวิจัย อย่างมีคุณค่า โดยพระสงฆ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ 116 รูป แบ่งเป็นกลุ่มทดลองใช้ โปรแกรมกิจกรรมการฝึกอบรมทั้งหมด 58รูป และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรม จำนวน 58 รูป โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบการสนทนา กลุ่ม และแบบประเมินความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในกระบวนการเยียวยาของกลุ่มทดลอง สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการ ทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า หลักการ วิธีการ และแนวทางในการเยียวยาจิตผู้ป่วยที่เหมาะสมอัน เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยและที่พึ่งทางใจของคนในสังคมได้ ซึ่งหากพระสงฆ์ที่มาเยียวยาจิตใจผู้ป่วยไม่ มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานจิตใจของผู้ป่วยดีพอ ไม่มีแนวทางหรือวิธีการปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่ เหมาะสมแล้ว อาจเป็นการเพิ่มความทุกข์ทรมานใจให้กับผู้ป่วยได้โดยไม่ตั้งใจ รูปแบบและ กระบวนการเยียวยาจิตใจประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 คุณลักษณะของพระจิตอาสาคิลานธรรม คุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่มี จิตอาสาแนวทางการเสริมสร้างลักษณะของจิตใจที่นำไปสู่การพัฒนาตนเองและช่วยเหลือผู้อื่น โดย ยึดหลักทางพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานให้เกิดลักษณะของจิตอาสา การตระหนักถึงพระธรรมวินัย หรือสมณสารูป ยินดีให้ความช่วยเหลือทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยความเต็มใจ รู้ว่าอะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษสำหรับผู้ป่วย สามารถชี้แจงผู้ป่วยไข้เห็นด้วยกับการปฏิบัติทางกายและให้กำลังใจ องค์ประกอบที่ 2 การเตรียมพื้นฐานพระจิตอาสา การทำงานจิตอาสาใช้หัวใจของจิต อาสาอย่างเดียวมาทำงานจะไม่เกิดประสิทธิภาพ การเตรียมพื้นฐานการพัฒนาภายนอก ภายใน พระอาสาให้สามารถเข้าไปสู่โลกของผู้ป่วย ด้วยการรับรู้ การแปลความหมายและเข้าไปสู่เรื่องราว ความทุกข์ที่กำลังเผชิญอยู่จากการสื่อสารสองทางกับผู้ป่วย พระสงฆ์ผู้ให้การปรึกษาต้องมีการ ประเมินและเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังถ้อยคำที่สื่อสารซึ่งกันและกันตัวยใจที่ปราศจากอคติ องค์ประกอบที่ 3 ด้านแนวทางในการเยียวยาผู้ป่วยด้วยธรรมะ เป็นการนำหลักธรรม และองค์ธรรมอริยสัจ 4 มาสร้างสังเคราะห์ร่วมกับจิตวิทยาการปรึกษา โดยผู้ให้การปรึกษาแนว พุทธต้องเป็นผู้เจริญด้วยปัญญาและมีภาวะแห่งความเป็นกัลยาณมิตรสามารถช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ของบุคคลที่มีทุกข์ภายในใจ ให้สามารถให้คลี่คลายทุกข์ได้ด้วยตนเอง โดยตระหนักรู้ถึงความจริง ของธรรมชาติของชีวิตตามแนวพุทธธรรม องค์ประกอบที่ 4 ด้านการใช้หลักพุทธธรรมในการเยียวยาผู้ป่วย หลักพุทธธรรมเป็น หัวใจสำคัญที่จะทำให้มนุษย์เข้าใจถึงสาเหตุของความทุกข์และประจักษ์แจ้งถึงแนวทางในการดับ ทุกข์ พระพุทธศาสนามีสาระสำคัญอยู่ที่การนำเสนอหลักการตามธรรมชาติของกระบวนการเกิด และดับทุกข์ พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติหรือวิธีการดำเนินชีวิตให้บรรลุถึงเป้าหมายของการดับทุกข์หรือ จัดการปัญหาในจิตใจที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไป หลังการทดลองใช้รูปแบบและกระบวนการเยียวยาใจผู้ป่วยด้วยธรรมะของกลุ่มพระจิต อาสาคิลานธรรม เมื่อเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยของพระสงฆ์ที่เข้าร่วมทดลองโปรแกรมกิจกรรม การฝึกอบรม โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มทดลองมีระดับค่าเฉลี่ยของระดับความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ หลังการทดลองรวมทุกด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง พบว่าไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1112 |
Appears in Collections: | ส่วนหอสมุดกลาง |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
0017พระเทพสุวรรณเมธี.pdf | 16.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.