Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1111
Title: | การวิเคราะห์สังเคราะห์องค์ความรู้และกระบวนการให้การปรึกษา เชิงพุทธจิตวิทยา |
Other Titles: | Analytical Synthesis of Knowledge and Counseling Process in Buddhist Psychology |
Authors: | พูนวสุพลฉัตร, นวลวรรณ พุทฺธธมฺโม (แสนโบราณ), พระครูพิพิธปริยัติกิจ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ ภูวชนาธิพงศ์, กมลาศ |
Keywords: | การวิเคราะห์สังเคราะห์องค์ความรู้ พุทธจิตวิทยา |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาการให้การปรึกษาด้านจิตวิทยา ตามแนวคิดตะวันตก (2) เพื่อศึกษาการให้การปรึกษาตามหลักพุทธจิตวิทยา และ (3) เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้และกระบวนการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัย คุณภาพเชิงเอกสาร ประกอบด้วยการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงพุทธจิตวิทยากับการให้การ ปรึกษาจิตวิทยาคลีนิค ผลการศึกษาวิจัยมีดังนี้ : การครองชีวิตของบุคคลในสังคมปัจจุบันถูกบีบคั้นเป็นอย่างมากทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การสื่อสารและเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การครองชีพ ค่านิยม พฤติกรรมและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทำให้เกิดความเครียดก่อให้เกิดปัญหาทางจิต เป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคความผิดปกติของการ ปรับตัว โรคบุคลิกภาพผิดปกติ โรคการใช้สารเสพติด เป็นต้น รวมเรียกว่าภาวะโรคจิต จึงจำเป็นต้องมีการ ป้องกันและเยียวยาผู้ป่วยตามหลักจิตเวชศาสตร์ มีการจัดตั้งจิตวิทยาคลินิก บริการให้การปรึกษาทาง จิตวิทยา โดยใช้จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งนอกจากจะมีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพแล้ว ยังต้องมี คุณสมบัติอื่น ๆ เช่นความชื่อตรงต่อผู้ป่วย การรักษาความลับของผู้ป่วย ความรู้ทางวิชาการ ความ รับผิดชอบทางวิชาชีพ การรักษาความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย และการปรับปรุงการเข้าถึงบริการ สุขภาพ เป็นต้น คำว่า "สุขภาพจิต" หมายถึงสภาพจิตใจที่เป็นสุข ตระหนักรู้ความสามารถของตนเอง ปรับ ตนเองได้ในภาวะกดดันในชีวิต ทำงานที่เกิดเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นในสังคมได้ สุขภาพจิต จำแนกตามอาการเป็น 3 อย่างคือ สุขภาพจิตปกติหรือสุขภาพจิตดี สามารถเผชิญปัญหาข้อขัดข้องหรือ ขจัดความวิตกกังวลออกไปได้ กล้าเผชิญความจริง พยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองได้ดี สุขภาพจิตที่อยู่ใน เกณฑ์ปกติ มีลักษณะเช่นเดียวกับสุขภาพจิตดี แต่มีความหวั่นไหว มีโอกาสเสียได้ง่ายกว่า เมื่อเกิดปัญหา ไม่กล้าเผชิญความจริง ไม่พยายามปรับปรุงตนเอง ส่วนสุขภาพจิตไม่ดี เกิดกับบุคคลผู้มีปัญหารุนแรง เกิด วิตกกังวล กลุ้มใจ ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด หดหู่ใจ เบื่อหน่ายชีวิต อาการเหล่านี้สามารถเยียวยารักษาได้โดย วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม ก็สภาพจิตของบุคคลนั้น มีหลายสาเหตุทั้งทางกายและทางจิตใจ การ เยียวยารักษาจึงมุ่งไปที่การช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักและเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สามารถวิเคราะห์ปัญหา ค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา การเปลี่ยนพฤติกรรม จนสามารถดำเนินชีวิตที่มี คุณค่าและความหมายได้ กระบวนการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยามี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การสร้าง สัมพันธภาพกับผู้ป่วย การสำรวจปัญหา การเข้าใจปัญหา การวางแผน และยุติการปรึกษาเฉพาะ ขั้นตอน ของการวางแผนแก้ปัญหานั้น ทักษะที่จำเป็นในขั้นตอนนี้ได้แก่ การให้ข้อมูลและคำแนะนำ การเสนอแนะ การสรุปความ และการให้กำลังใจ ในส่วนของพุทธจิตวิทยา เชื่อว่าจิตเดิมนั้นมีสภาพผ่องใสบริสุทธิ์แต่ที่ขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะ อุปกิเลสที่จรมาซึ่งเป็นอกุศล หากบุคคลมีจิตอ่อนแอ ไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาด้วยไตรสิกขาคือศีล สมาธิ ปัญญา ก็จะตกไปสู่อำนาจกิเลสฝ่ายต่ำได้ จึงต้องฝึกจิตให้เข้มแข็ง มั่นคง ไม่หวั่นไหวด้วยอารมณ์ ที่มากระทบ โดยเฉพาะโลกธรรม 8 คือ ลาภเสื่อมลาภ ยศเสื่อมยศ นินทาสรรเสริญ และสุขทุกข์ การ ป้องกันจึงเริ่มด้วยความไม่ประมาท มีสติกำกับ ขนขวายทำความดีเพื่อให้จิตดี มีสุขภาพจิตดี โดยสรุป หลักการทำความดีคือทำตามโอวาทปาฏิโมกข์ ได้แก่ ไม่ทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตของตนให้ผ่อง ใส เพียงแค่นี้ก็ครอบคลุมกุศลกรรมบถทั้งหมดตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ กระบวนการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา เริ่มจากองค์ประกอบการให้การปรึกษา คือผู้ให้ การปรึกษา ผู้รับการปรึกษา เรื่องที่จะปรึกษา วิธีการให้การปรึกษา และผลสัมฤทธิ์ วิธีการให้การปรึกษา นั้น จะใช้วิธีคิดแบบอริยสัจหรือคิดแบบแก้ปัญหา เริ่มจากศึกษาปัญหา (ทุกข์) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (สมุทัย) กำหนดจุดมุ่งหมายให้การแก้ปัญหา (นิโรธ) และสังเคราะห์วิธีการที่จะใช้แก้ปัญหา (มรรค) จะ เห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ทรงแสดงอริสัจจธรรม และพุทธวิธีเป็นกระบวนการแบบอริยสัจ ทั้งสิ้น ในงานวิจัยนี้ได้ยกตัวอย่างของบุคคลมาเป็นกรณีศึกษาในการให้การศึกษาของพระพุทธเจ้ารวม 7 รายคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล สันตติมหาอำมาตย์ อภัยราชกุมาร อนิตถิคันธกุมาร นางวิสาขามหาอุบาสิกา นางกีสาโคตมี และนางปฎาจารา ทุกรายมีปัญหาทุกข์โศกต่างกรณีกัน พระพุทธเจ้าทรงปลอบโยนโดย วิธีการให้ยอมรับความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งในกรณีเหล่านี้คือความตายของบุคคลผู้เป็นที่รัก ทรง ชี้ให้เห็นว่าความตายเป็นธรรมดาของสัตว์ที่เกิดมา จะทุกข์โศกคร่ำครวญอย่างไรก็ไม่สามารถให้ผู้ตายฟื้น คืนมาได้ ตนเองควรยกมาเตือนตนเอง จะได้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต โดยการสร้างสมแต่คุณงาม ความดี บุคคลที่ยกมาเป็นตัวอย่างเหล่านี้ที่น่าสนใจคือ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เพราะแม้เป็นพระ อริยบุคคลขั้นโสดาบันแล้วก็ยังตัดอาลัยในคนที่รักจากไปมิได้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือนางปฎาจารา เป็นธิดา เศรษฐีผู้มั่งคั่ง แต่เมื่อหนีตามคนใช้ออกไปใช้ชีวิตภายนอกต้องประสบความยากสำบากแสนเข็ญ สุดท้าย สามีตาย ลูกน้อย 2 คนตาย พ่อแม่และพี่ชายตายพร้อมกัน นางถึงกับเสียสติเป็นบ้า ในที่สุดได้รับการ ปลอบโยนให้กำลังใจจากพระพุทธเจ้า นางได้สำนึก หวนสติกลับคืนมา ทูลขอบวชเป็นภิกษุณี ได้บรรลุ อรหัตผลในที่สุด และได้รับเอตทัคคะว่าเป็นผู้เลิศทางทรงจำพระวินัยในฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ บทสรุปก็คือ พุทธจิตวิทยานั้น มีองค์ความรู้กระบวนการแน่นอนตามแบบขั้นตอนของอริยสัจ 4 เป้าหมายมิได้เพียงเยียวยาสภาพจิตใจของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยกจิตใจให้เฟื่องฟูสูงขึ้นจนถึง บรรจุอริยธรรมเป็นที่สุดด้วย คำสำคัญ : การให้การปรึกษาแนวจิตวิทยา, พุทธจิตวิทยา, จิตบำบัด |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1111 |
Appears in Collections: | ส่วนหอสมุดกลาง |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
0016นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.