Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1110
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พระครูโสภณรัตนบัณฑิต | - |
dc.contributor.author | สุเมโธ, พระมหาสุพจน์ | - |
dc.contributor.author | ฉิมหาด, ไพรัตน์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-07-09T14:49:12Z | - |
dc.date.available | 2023-07-09T14:49:12Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1110 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของอาณาจักรตามพรลิงค์ หรือนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาการเข้ามาและพัฒนาการของพระพุทธศาสนาในจังหวัด นครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาหลักฐานแหล่งโบราณคดีที่มีอิทธิพลและร่องรอยการแพร่หลายของ พระพุทธศาสนาในนครศรีธรรมราช และ 4) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชาวนครศรีธรรมราชที่มีต่อ หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเน้น การศึกษาเอกสาร นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ประวัติความเป็นมาของอาณาจักรตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช ความเป็นมาอาณาจักรตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช เคยเป็นอาณาจักรหรือนครรัฐ อิสระ มีความสำคัญทางการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา และสังคมต่อดินแดนอื่นในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงไม่น้อยกว่า 1,800 ปีมาแล้ว มีหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานอื่น เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าอาณาจักรตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช มีกำเนิดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 มีความรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 จึงเปลี่ยนจากเมืองตามพรลิงค์มาเป็นเมือง นครศรีธรรมราชตราบจนปัจจุบัน 2. การเข้ามาและพัฒนาการของพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามหลักฐานโบราณคดีระบุว่า อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาได้เข้าสู่ นครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 8-12 เป็นพุทธศาสนานิกายมหายาน ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นศูนย์กลางแหล่งพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ และแพร่หลายไปทั่วทุก ภูมิภาค มีหลายอาณาจักรเข้ามายอมรับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราช หรือเรียกว่า พุทธศาสนาลัทธิศรีธรรมราชวงศ์ ได้แก่ เมืองกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุง รัตนโกสินทร์ คัมภีร์พระไตรปิฎกที่มีการชำระสังคายนาต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยึดถือแบบจาก นครศรีธรรมราช จึงกล่าวได้ว่า พุทธศาสนานครศรีธรรมราช มีอิทธิพลเป็นแม่แบบขนบธรรมประเพณี วัฒนธรรมยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน 3. หลักฐานแหล่งโบราณคดีที่มีอิทธิพลและร่องรอยการแพร่หลายของ พระพุทธศาสนาในนครศรีธรรมราช หลักฐานทางโบราณดีและประวัติศาสตร์ที่พบในขณะนี้ แสดงให้เห็นว่า นครศรีธรรมราช ได้รับอิทธิพลทางภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม วัฒนธรรมประเพณี มาจากประเทศอินเดีย ทั้ง โดยทางตรงและทางอ้อม สิ่งต่างๆ ที่ได้รับมานั้นถูกดัดแปลงให้เข้ากับวิถีชีวิตของชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนนครศรีธรรมราชมีการสร้างและสืบทอดวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมี หลักธรรมทางศาสนาเป็นพื้นฐาน นอกจากนั้น ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนายังได้ทิ้งร่องรอย ทางโบราณคดีสำคัญไว้ ประกอบด้วยสถาปัตยกรรม ประติมากรรม เช่น ซากสถูป พระเจดีย์ พระ โพธิสัตว์ พระพิมพ์ พระพุทธรูป พระศิวะ พระวิษณุ พระพิฆเนศ และยังมีหลักฐานที่เป็นศิลาจารึก ตำนาน พงศาวดาร ที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของศาสนา 4. วิถีชีวิตของซาวนครศรีธรรมราชที่มีต่อหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก และส่งผลต่อวิถีชีวิตของ ชาวนครศรีธรรมราชผ่านทางประเพณีส่วนบุคคล เช่น การเกิด การบวช แต่งงาน และการตาย และ ประเพณีส่วนชุมชน เช่น การให้ทานไฟ การกวนมธุปยาสยาคู การแห่ผ้าขึ้นธาตุ รวมถึงประเพณีบุญ สารทเดือนสิบ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | มรดกโลก | en_US |
dc.subject | มรดกธรรม | en_US |
dc.subject | ประวัติศาสตร์ | en_US |
dc.subject | หลักธรรม | en_US |
dc.subject | หลักฐานโบราณคดี | en_US |
dc.subject | นครศรีธรรมราช | en_US |
dc.title | มรดกโลกมรดกธรรม : ประวัติศาสตร์หลักธรรมและหลักฐานโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครศรีธรรมราช | en_US |
dc.title.alternative | World heritage, Dhamma heritage : History, Dhamma Principles and ancient evidence of Buddhism is Nakhon Si Thammarat | en_US |
Appears in Collections: | ส่วนหอสมุดกลาง |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
0015พระครูโสภณรัตนบัณฑิต.pdf | 5.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.