Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1104
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุวรรณาภา, ฉวีวรรณ-
dc.contributor.authorวูวงศ์, อนงค์-
dc.contributor.authorสุภเมธีสกุล, เสริมศิลป์-
dc.date.accessioned2023-07-09T14:27:39Z-
dc.date.available2023-07-09T14:27:39Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1104-
dc.description.abstractอาหารพื้นบ้าน : กระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมใน ชุมชนภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้และคุณค่าของอาหารพื้นบ้านต่อการ เสริมสร้างสุขภาวะของชุมซนในภาคเหนือ 2. เพื่อศึกษากระบวนการจัดการอาหารในการส่งเสริม คุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมของชุมชนในภาคเหนือ และ 3. เพื่อวิเคราะห์ระบบความสัมพันธ์ และผลกระทบของอาหารพื้นบ้านที่มีต่อชุมชนในภาคเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธี วิจัย ศึกษาวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) พื้นที่ในการเก็บข้อมูล 2 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงรายและจังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พระสงฆ์ นักวิชาการด้านอาหาร/ นัก โภชนาการ นักวิชาการด้านสาธารณสุข นักวิชาการด้านวัฒนธรรม ตัวแทนชุมชนที่มีส่วนร่วมในการ จัดการอาหารพื้นบ้าน 36 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ สำหรับเก็บข้อมูลจากผู้ที่ให้ข้อมูลที่สำคัญ (key Informants) พบว่า 1. องค์ความรู้และคุณค่าของอาหารพื้นบ้านต่อการเสริมสร้างสุขภาวะของชุมชนในภาคเหนือ เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าทางความสวยงาม รสชาติ และเอกลักษณ์ความเป็นไทย คุณค่าทาง โภชนาการที่เหมาะสมเพราะตำรับอาหารประกอบไปด้วย คาโบร์ไฮเดรต โปรตีน วิตามิน ไขมัน เกลือ แร่ น้ำ และพืชผักจากแหล่งธรรมชาติที่มีสรรพคุณทางยา ดังนั้นหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนที่ เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญและให้การสนับสนุนทั้งในด้านการเงินและด้านวิชาการ เพื่อเป็น การอนุรักษ์และการจัดการเชิงวัฒนธรรมเพื่อให้อาหารพื้นบ้านมีความยั่งยืนอยู่คู่กับชุมชนต่อไป 2. กระบวนการจัดการอาหารในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมของชุมชน ในภาคเหนือ กระบวนการผลิต กระบวนการทำอาหารในครอบครัว ชุมชนและกระบวนการเชิงชุมชน เริ่มจากครอบครัวมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประกอบอาหารรวมทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ด้านประโยชน์และคุณค่า ทางโภชนาการของอาหารแต่ละชนิด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และการพัฒนาอาหารพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วม ที่สร้างความตระหนักให้ ชุมชนเห็นความสำคัญของอาหารพื้นบ้านต่อสุขภาพ มีการส่งเสริมความมั่นคงทางชุมชน สังคมในการ อยู่ร่วมกันในชุมชนการเกื้อกูลซึ่งกัน เป็น การสร้างสุขภาวะด้านโภชนาการของชุมชนทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์และสังคม เสริมสร้างความสามัคคี สร้างจริยธรรมในการอยู่ร่วมกัน เกิดชุมชนเข้ม แข็ง และได้ผสานแนวคิดใหม่ในการขับเคลื่อนเรื่องอาหารปลอดภัย ต้องปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำ (เกษตรกร/ ผู้ผลิต) กลางน้ำ ผู้แปรรูป/ผู้ขนส่ง/ผู้ขาย) และปลายน้ำ (ผู้บริโภค) 3. ระบบความสัมพันธ์และผลกระทบของอาหารพื้นบ้านที่มีต่อชุมชนในภาคเหนือในการ ส่งเสริมอาหารพื้นบ้านทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม มีการบูรณาการร่วมกัน มีความสัมพันธ์กันเป็น กระบวนการผลิตของแต่ละขั้นตอน และได้นำเอาความรู้ภูมิปัญญาที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ที่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมซนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการประกอบอาชีพ การอยู่ร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติตามศาสนา พิธีกรรมและประเพณี และภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectอาหารพื้นบ้านen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมen_US
dc.subjectชุมชนภาคเหนือen_US
dc.titleอาหารพื้นบ้าน: กระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมใน ชุมชนภาคเหนือen_US
dc.title.alternativeLocal Food : The Management Process for the Quality of Life and Social Ethics In northern communitiesen_US
Appears in Collections:ส่วนหอสมุดกลาง

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
0009ฉวีวรรณ สุวรรณาภา.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.